|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กลุ่มสามารถเตรียมขยายฐานการวางระบบไอทีออกสู่ต่างประเทศ หลังประสบความสำเร็จจากโครงการที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นใบเบิกทาง ขณะเดียวกันก็พร้อมกอดคอกับพาร์ตเนอร์เก่าลุยเฟส 2 และบุกระบบ CUTE ตามสนามบินต่างจังหวัดหัวเมืองหลัก
นายไพโรจน์ วโรภาษ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถเทลคอม ในเครือสามารถคอร์ป กล่าวว่า หลังจากที่กลุ่มสามารถที่คว้าสิทธิในการวางระบบไอทีที่เรียกว่า AIMS (Airport Information Management System) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่เข้าไปดำเนินการโดยสามารถคอมเทค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทในสายธุรกิจไอซีที โซลูชันของกลุ่มสามารถ กับกลุ่มพันธมิตรในลักษณะคอนซอร์เตี้ยม โดยใช้เวลาในการดำเนินงานไม่ถึง 3 ปี นับจากวันเซ็นสัญญาเมื่อเดือนพ.ย. 2546 ติดตั้งระบบไอทีเพื่อการบริหารในสนามบินสุวรรณภูมิทั้งการวางแผน การควบคุม การตัดสินใจ การจัดสรรทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการเชื่อมโยงระบบย่อยรวม 45ระบบให้เกิดการอินติเกรตได้อย่างสมบูรณ์
ระบบไอทีที่สามารถคอมเทคดูแลและวางระบบให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิครอบคลุม 3 ส่วนคือ 1.กลุ่มระบบฐานข้อมูลการปฏิบัติการสนามบิน หรือ AODB (Airport Operation Database) ที่เชื่อมโยงไปยังระบบย่อยต่างๆ ในสนามบิน ซึ่งเป็นฟอนต์ ออฟฟิศทั้งหมด 2.กลุ่มระบบฐานข้อมูลบริหารสนามบิน หรือ AMDB (Airport Management Database) เป็นงานหลังบ้าน หรือแบ็กออฟฟิศ ทั้งในส่วนงานบัญชีการเงิน งานธุรการ บุคคล การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น 3.กลุ่มระบบเช็คอิน หรือ CUTE ซึ่งสามารถรองรับการออกบัตรโดยสาร และบัตรติดกระเป๋าของสายการบินที่มีการบินเข้า-ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้
หลังจากวางทุกระบบเสร็จสิ้น สามารถคอมเทคยังมีสัญญาต่อกับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย(ทอท.) อีก 2 ปี ในการรับประกันระบบและสัญญาอีก 1 ปี ในส่วนของการสนับสนุนการดำเนินงาน
นอกจากโครงการวางระบบไอทีในเฟสแรก สามารถคอมเทคยังมีแผนจะเข้าประมูลโครงการขยายระบบไอทีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 ซึ่งสามารถขยายต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ และใช้งบลงทุนไม่มาก เนื่องจากระบบที่วางไว้เป็นโครงสร้างที่พร้อมรองรับการขยายบริการในอนาคต ซึ่งเฟสแรกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคน และจะมีการขยายงานอย่างต่อเนื่องอีกหลายเฟส จนสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 120 ล้านคน ภายในปี 2569
“การเข้าประมูลเฟสสองในสุวรรณภูมิเราคงร่วมมือกับพันธมิตรเดิม เพราะเคยทำงานร่วมกันมาแล้ว”
สำหรับพันธมิตรที่ร่วมดำเนินงานในสนามบินสุวรรณภูมิประกอบด้วย สามารถคอมเทค, ซีเมนส์, Stayam Computer Service, ABB และ ABB Airport Technologies
นายไพโรจน์กล่าวว่า นอกจากโครงการที่สุวรรณภูมิแล้ว สามารถคอมเทคยังมีแผนจะรุกไปในสนามบินต่างจังหวัดโดยใช้ระบบ CUTE ในการทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นสนามบินเชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต อุดรธานี อุบลราชธานี ซึ่งเป็นหัวเมืองหลัก ที่ปัจจุบันแต่ละที่ใช้ระบบที่ต่างกัน แต่ระบบ CUTE ของกลุ่มสามารถเป็นระบบเปิดที่สามารถเชื่อมต่อได้กับทุกระบบ พร้อมกันนี้ กลุ่มสามารถยังมีแผนที่จะใช้ระบบ CUTE รุกเข้าไปในสนามบินประเทศอื่นๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย
“ปีหน้าเราจะเริ่มจากในประเทศก่อน ส่วนต่างประเทศหากเป็นไปได้ก็จะเริ่มเลย ส่วนจะเป็นประเทศไหนคงต้องขึ้นอยู่กับความต้องการ แต่ที่น่าจะง่ายจะเป็นที่กัมพูชา เพราะทำแอร์ทราฟิกอยู่แล้ว”
การที่กลุ่มสามารถพร้อมที่จะรุกตลาดในต่างประเทศ เพราะมีประสบการณ์จากโครงการที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิ ซึ่งมีความยากและซับซ้อนเป็นใบเบิกทาง ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนจำหน่ายหลักในการขายและให้บริการไอที โซลูชัน เพื่อบุกสนามบินในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนจาก SITA Information Network Computing ผู้ให้บริการไอทีแอปพลิเคชันกับสนามบินชั้นนำทั่วโลก ทำให้สามารถคอมเทคได้เรียนรู้ระบบการทำงานกับพันธมิตรทั่วโลก รวมถึงได้รับการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีความพร้อมที่จะให้บริการในการวางระบบโครงการใหญ่ๆ ต่อไป
|
|
|
|
|