|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน แบงก์ชาติได้อำนาจเบ็ดเสร็จ กำกับดูแลแบงก์ครบวงจร เมื่อพบสถาบันการเงินมีปัญหา เข้าแทรกแซงทันที ยกเว้นกรณีเป็นภาระงบประมาณ รมว.คลังเป็นผู้อนุมัติ เผยคงอำนาจ รมว.คลังออกและยึดไลเซ่นส์แบงก์ ส่วนเกณฑ์คุมเข้มเงินกองทุนแบงก์ กรณีที่ลดเหลือ 3-2.5% แบงก์ชาติสั่งปิดได้ แต่ต้องโอนให้สถาบันประกันเงินฝากเข้าดูแลแทนทันที ครม.ยังอนุมัติลดภาษีธุรกิจเฉพาะแบงก์เหลือ 0.01%
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (28 พ.ย.)มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เสนอ เพื่อให้สถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากประชาชน ในลักษณะ Deposit Taking Institution อยู่ภายใต้การกำกับในมาตรฐานเดียวกัน กระบวนการต่อจากนี้จะส่งไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา เพื่อรอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
สาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น การวางรูปแบบและขอบเขตของสถาบันการเงิน การนิยามประเภทของสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ดำเนินการแล้วเมื่อปี 2547 เช่น ธนาคารพาณิชย์ คือธุรกิจที่รับฝากเงิน หรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย คือ ธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการแก่ประชาชนรายย่อย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นหลัก
โดยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทั้งเรื่องของเงินตราต่างประเทศ ทั้งเรื่องตราสารอนุพันธ์และและธุรกรรมอื่นที่มีความซับซ้อน ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีต่างชาติถือหุ้นอยู่เกินกว่า ร้อยละ 95 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของธนาคารนั้น และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หมายถึงสาขาธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นต้น จะมีเรื่องการวางรูปแบบขอบเขตของสถาบันการเงิน เรื่องการขยายขอบเขตธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้ครบวงจร เป็นลักษณะยูนิเวอร์เซล แบงก์
***ให้อำนาจ ธปท.ครบวงจร
นางพรรณีเปิดเผยว่า ธปท.มีอำนาจพิจารณาขยายขอบเขตธุรกิจสถาบันการเงินได้ เช่น ธุรกิจประกัน ธุรกิจหลักทรัพย์ มีเรื่องหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลทั้งสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน และสถาบันที่มิใช่สถาบันการเงิน เกณฑ์ในการกำกับดูแลต่างๆ การกำกับแบบรวมกลุ่ม ต้องพิจารณาประเด็นการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินเรื่องของขอบเขตธุรกิจ และอำนาจกำกับธุรกิจ กลุ่มธุรกิจการเงินในเรื่องต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค ธปท.จะมีอำนาจกำหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องการทำธุรกรรมพื้นฐาน เช่น รับฝากเงิน ให้สินเชื่อ และธุรกรรมอื่นที่ได้รับอนุญาตเพิ่มเติม ตลอดจนการทำสัญญาค้ำประกัน และการเปิดเผยข้อมูล
แหล่งข่าว ธปท.เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นการยุบรวม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 กับ พ.ร.บ.บริษัทเงินทุนฯ พ.ศ.2522 เข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่อ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งให้อำนาจ ธปท.เบ็ดเสร็จในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อรองรับโครงการประเมินระบบสถาบันการเงิน(FSAP) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยการกำกับดูแลทั้งหมดจะเป็นอำนาจหน้าที่ของ ธปท. และเมื่อสถาบันการเงินมีปัญหา สามารถเข้าแทรกแซงทันที อย่างไรก็ตามการอนุมัติ การเพิกถอนในอนุญาตสถาบันการเงินให้เป็นอำนาจของ รมว.คลัง ภายใต้การแนะนำของ ธปท.
"แบงก์ชาติมีอำนาจในการสั่งปิดและสั่งควบคุมสถาบันการเงิน แต่ รมว.คลังยังคงมีอำนาจในการปิดสถาบันการเงิน หากทำให้รัฐมีภาระงบประมาณ"
ร่างกฎหมายดังกล่าวยังสร้างระบบป้องกันความมั่นคงของสถาบันการเงินไว้ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ เมื่อเงินกองทุนของสถาบันการเงินต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 8.5%ของการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง กฎหมายจะกำหนดให้ ธปท.ต้องสั่งให้สถาบันการเงินดำเนินมาตรการบางอย่างหรือต้องแก้ไขฐานะ
หากเงินกองทุนลดเหลือ 5% ของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ธปท.จะต้องใช้มาตรการควบคุมสถาบันการเงินแห่งนั้น และกรณีที่เงินกองทุนลดเหลือ 3 – 2.5% ของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ธปท.จะต้องใช้มาตรการสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินแห่งนั้น จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของสถาบันประกันเงินฝากที่จะเข้ามาดูแลเงินฝากของประชาชนต่อไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้น ด้วยงบประมาณเบื้องต้น 1,000 ล้านบาทเพื่อเข้ามาดำเนินการวางระบบการดูแลเงินฝาก และจัดอันดับเครดิตของสถาบันการเงิน โดยคาดว่าร่างกฎหมายทั้งแพ็คเกจของ ธปท.จะสามารถผ่านสภานิติบัญญัติได้ภายในปี 2550
"เราจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ธปท.และร่าง พ.ร.บ.เงินตรา ให้กับกระทรวงการคลังพิจารณาเป็นลำดับต่อไป โดยสาระสำคัญในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารการจัดการรวมถึงการพิจารณาตั้งแต่งถอดถอนผู้ว่าแบงก์ชาติ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาที่มาจากการแต่งตั้งของวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ และประธานบอร์ดแบงก์ชาติเพื่อความเป็นอิสระในการทำงาน ปลอดจากการถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง" แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท.จะมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 5 ปีโดยจะรับตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ และขณะรับตำแหน่งจะต้องมีอายุไม่เกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ ส่วนคณะกรรมการบอร์ด หากเป็นโดยตำแหน่งคือผู้ทรงวุฒิจากภาครัฐประกอบด้วย ผู้ว่าการ ธปท. , รองผู้ว่าการ ธปท. , ตัวแทนสภาพัฒน์ และตัวแทนกระทรวงการคลัง รวม 6 คน จะดำรงตำแหน่งกระทั่งเกษียณอายุ ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจำนวน 6 คนมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 3 ปีและรับตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ
***ลดภาษีธุรกิจเฉพาะแบงก์เหลือ 0.01%
ที่ประชุม ครม.ยังอนุมัติร่าง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร โดยให้ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ จาก 3% เหลือ 0.01% ให้แก่ธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน, บริษัทหลักทรัพย์, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยมีผลบังคับใช้ถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมกันนี้ยังให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร ฉบับที่ 388 พ.ศ. 2544 ที่กำหนดให้สถาบันการเงินสามารถนำผลขาดทุนการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือตราสารหนี้ มาหักออกจากกำไรที่เกิดจากการซื้อขายตั๋วเงินตราสารหนี้ในเดือนภาษีเดียวกัน
|
|
 |
|
|