|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบพรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ ธปท.เน้นการกำกับในแนวทางของกลุ่มธุรกิจการเงินมากขึ้น พร้อมเข้มงวด-คล่องตัวในการกำกับดูแลมากขึ้น ระบุเป็นการเตรียมความพร้อมให้สถาบันการเงินในการบังคับใช้กฎหมายการเงินฉบับอื่นๆต่อไป ย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบ Universal Banking เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต เตือนนอน-แบงก์เตรียมปรับตัวคาดแบงก์ชาติคุมเข้มทั้งดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียม และเงินเดือนขั้นต่ำในการทำบัตร
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบจากพรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังจะยื่นร่างให้ครม.เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในสัปดาห์นี้ว่า ประเด็นจะมีผลกระทบต่อสถาบันการเงินนั้น จะเป็นเรื่องของการกำกับดูแล ซึ่งคาดว่าพรบ.ธุรกิจาถบันการเงินฉบับใหม่จะให้อำนาจธปท.เต็มที่ในการดูแลความเสี่ยงทุกประเภท และสามารถออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ พร้อมบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน แทนที่จะเป็นเพียงการสนับสนุนให้ปฎิบัติตาม (Moral Persuasion) แบบในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ร่างพรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินใหม่ ยังอาจเปิดโอกาสให้มีเงินกองทุนประเภทอื่นๆได้เพิ่มเติมจากเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 รวมทั้ง อาจเปิดช่องให้ธปท.สามารถกำหนดอัตราส่วนที่สำคัญให้อ่อนไหวต่อความเสี่ยงของสถาบันการเงินแต่ละแห่งมากขึ้น พร้อมกันนั้น ยังเพิ่มอำนาจให้ธปท.สามารถดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ ในกรณีที่ได้รับความยินยอมจากเจ้ากระทรวงที่ทำหน้าที่ดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นๆ โดยอาจทำเป็นบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) หรือสัญญาระหว่างกัน
รวมถึงให้อำนาจธปท.สามารถดูแลและควบคุมธุรกิจนอนแบงก์ (Non-Bank) ได้ชัดเจนขึ้น โดยหากธปท.เห็นว่าการประกอบธุรกิจการเงินใดของนอนแบงก์ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ก็สามารถกำหนดรายละเอียดของการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นได้ในอนาคต ขณะที่ในปัจจุบัน ธปท.จะต้องอาศัยอำนาจทางอ้อมผ่านประกาศคณะปฏิวัติ (ปว.) ฉบับที่ 58 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ผ่านการควบคุมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล รวมทั้ง เงินเดือนขั้นต่ำของผู้สมัครบัตรเครดิต
ด้านการดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาทางการเงินจะรวดเร็ว และมีลักษณะเชิงรุกมากขึ้น โดยอาจให้อำนาจธปท.ในการเข้าแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงินดังกล่าว ได้โดยไม่ต้องรอให้เงินกองทุนติดลบดังเช่นกฎหมายปัจจุบัน และหากอัตราส่วนเงินกองทุนดังกล่าวลดลงมากต่ำกว่าระดับใดระดับหนึ่งที่ธปท.คิดว่าจะเป็นระดับอันตราย ธปท.ก็อาจพิจารณาให้ปิดกิจการได้ เพื่อยับยั้งความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลและผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ คาดว่าร่าง พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินใหม่ จะเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการตัดสินใจสั่งการในเรื่องที่สำคัญต่างๆ เช่น การสั่งปิดกิจการ/เพิกถอนใบอนุญาต หรือการควบคุม/เข้าแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ด้วยการระบุเป็นจำนวนวันที่ชัดเจน จากเดิมที่มักใช้เวลานานหลายเดือนในการตัดสินใจดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ซึ่งเคยก่อให้เกิดผลกระทบตามมาในวงกว้างและสร้างภาระจำนวนมหาศาลต่อเงินภาษีของประชาชน
ทั้งนี้ จากประเด็นดังกล่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดถึงผลกระทบเบื้องต้นต่อธุรกิจธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อว่าการกำกับดูแลของทางการไทย จะมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นลักษณะกลุ่มธุรกิจการเงินมากขึ้น นอกจากนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินประสบปัญหาทางการเงิน การกำหนดกรอบระยะเวลาและวิธีการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนขึ้น คงจะช่วยให้ทางการสามารถจัดการกับปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบลงมาก
นอกจากนี้ เนื่องจากในปัจจุบันสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลายแห่ง ประกอบธุรกิจในลักษณะที่แข่งขันโดยตรงกับธนาคารพาณิชย์เอกชนมากขึ้น ทั้งในแง่ของสินเชื่อและผลิตภัณฑ์เพื่อการระดมทุน ดังนั้น การมอบอำนาจให้ธปท.สามารถกำกับดูแล และกำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าว ใช้มาตรฐานการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้นนั้น คงจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความแข็งแกร่งของระบบสถาบันการเงินในภาพรวม ขณะเดียวกัน ก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขันมากขึ้นด้วย
ขณะที่การให้อำนาจทางตรงในการกำกับดูแลธุรกิจนอนแบงก์ อาจสร้างข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจดังกล่าวมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะหากธปท.เห็นว่ามีการประกอบธุรกิจในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรืออาจสร้างผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศ
ดังนั้น แม้รายละเอียดที่ชัดเจนของร่าง พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินใหม่ คงจะขึ้นอยู่กับการเปิดเผยเพิ่มเติมในอนาคต แต่การประมวลข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อธุรกิจสถาบันการเงินที่ค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่ทั้งสถาบันการเงินและธปท.ได้ดำเนินการไปแล้วตามแนวทางของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับแรก และหลักเกณฑ์ที่ธปท.เพิ่งประกาศออกมา อาทิ เกณฑ์การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่ม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การออกกฎหมายดังกล่าว คงจะช่วยทำให้การปรับตัวต่างๆของสถาบันการเงิน มีผลชัดเจนขึ้นทางกฎหมาย และทำให้สถาบันการเงินมีความพร้อมมากขึ้นสำหรับการบังคับใช้กฎหมายการเงินฉบับอื่นๆ ที่กำลังจะตามมาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นร่างพรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งจะต้องอาศัยรากฐานของระบบสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งเพียงพอเสียก่อน
ที่สำคัญร่างพรบ.ธุรกิจสถาบันการเงินใหม่ดังกล่าว ยังย้ำถึงเจตนารมย์ของธปท.ที่ชัดเจนในเรื่องของการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบของ Universal Banking การเสริมสร้างมาตรฐานในการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติของสากล รวมทั้งความเข้มงวดในการกำกับดูแลที่เพิ่มขึ้นมาก
นอกจากนี้ จากประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบัน อันได้แก่ การเปิดเสรีทางการเงิน และการกระตุ้นให้มีการควบรวมกิจการระหว่างสถาบันการเงิน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ คงจะกดดันรัฐบาลไทยในเรื่องการเปิดเสรีทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางการไทยคงจะหลีกเลี่ยงการเจรจาได้ลำบาก ดังนั้น สถาบันการเงินไทยและธปท.คงจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับการแข่งขันที่จะเข้ามาอย่างรุนแรงเมื่อมีการเปิดเสรีทางการเงินขึ้น
|
|
|
|
|