Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 พฤศจิกายน 2549
อนุมัติปรับเพดานดบ.บัตรเครดิตคาดแบงก์มีกั๊กขยับขึ้นหวังชิงลูกค้า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกริก วณิกกุล
Credit Card




แบงก์ชาติได้ฤกษ์อนุมัติเพิ่มเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีก 2% เป็น 20% พร้อมผ่อนเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติผู้ถือให้ดูจากเงินฝากหรือพันธบัตรที่ผู้ถือบัตรมีครอบครองอยู่ด้วย แต่ยังไม่ปรับเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล เหตุอยู่ในอัตราที่สูงอยู่แล้ว เชื่อแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตโตได้ และจะไม่สร้างปัญหาเอ็นพีแอลให้ระบบเศรษฐกิจ คาดผู้ประกอบการบางรายอาจยังไม่ปรับดอกเบี้ย หวังใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน

นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับธุรกิจบัตรเครดิตใหม่ โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตสามารถปรับเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าบริการบัตรเครดิตอีก 2%ต่อปี ทำให้ปัจจุบันเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่ระดับไม่เกิน 20%ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งให้เกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตและผู้บริโภคด้วย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม นี้ เป็นต้นไป

“ตั้งแต่ปี 45 แบงก์ชาติได้กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าบริการบัตรเครดิตไว้ที่ 18%ต่อปี ซึ่งในช่วงปลายปี 46 เป็นช่วงที่เริ่มมีผลใช้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว อัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติอยู่ที่ระดับ 3.75% อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์เฉลี่ยอยู่ที่ 2% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยของแบงก์พาณิชย์ไทยรายใหญ่ 5 แห่งอยู่ที่ 2.50% แต่ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการพุ่งสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับอยู่ที่ 5% อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ 7.75% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนเฉลี่ย 3.50% แบงก์ชาติจึงตัดสินใจเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยอีก 2% แม้ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะแสดงต้นทุนการเงินที่ขอมายังแบงก์ชาติมากกว่า 2%ก็ตาม แต่เราก็ต้องดูแลทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบไปในขณะเดียวกันด้วย”

สำหรับผู้ที่ถือบัตรเครดิตที่มีหนี้จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือจากการเบิกถอนเงินสดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งกรณีที่ผู้ถือบัตรได้มีข้อตกลงชำระหนี้เต็มจำนวนหรือผ่อนชำระบางส่วน ผู้ประกอบการบัตรเครดิตจะเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมได้ไม่เกิน 18%ต่อปีตามสัญญาเดิมไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2550 เพื่อให้ลูกค้ามีการปรับตัวได้ภายใน 7 เดือน ก่อนจะมีการประกาศใช้จริง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการบรรเทาภาระหนี้ของผู้ถือบัตรรายเก่าก่อนวันที่ 1 เม.ย.2547 ที่จะต้องเพิ่มการชำระขั้นต่ำในแต่ละงวดจาก 5%เป็น 10%ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2550

ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตสามารถให้ผู้ถือบัตรเครดิตทั้งลูกค้ารายเก่าและรายใหม่ คิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมในอัตราไม่เกิน 20%ต่อปี ภายใต้กรอบของสัญญาที่ทำกันไว้เดิม

“ปัจจุบันธุรกิจบัตรเครดิตในส่วนของผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) ถือว่าอัตราการเติบโตลดลงบ้าง คือ ไม่ถึง 40% ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่เป็นแบงก์พาณิชย์ก็ยังมีการเติบโตเท่าเดิม จึงเชื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากนัก และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24-36% โดยเฉพาะญี่ปุ่นคิดถึง 29% ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตไม่เกิน 20% เชื่อว่าผู้บริโภคจะรับได้ และขณะเดียวกันเราก็ต้องดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตด้วย เพื่อให้สามารถรับได้กับต้นทุนทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย”

ทั้งนี้ ธปท.ยังแนะให้ผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องมีความระมัดระวังการก่อหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น อาจมีผลต่อภาระการชำระหนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะตามสัญญาผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ โดยแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า 1 เดือนเท่านั้น

นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิต โดยให้ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตสามารถพิจารณาจากการมีเงินฝากไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาทอย่างน้อย 6 เดือน หรือการลงทุนตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งได้หรือมีพันธบัตรได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทในช่วง 6 เดือนเช่นกัน จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะผู้ถือบัตรเครดิตต้องมีรายได้เกินกว่า 15,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตยังสามารถพิจารณาคุณสมบัติของผู้ถือบัตรองค์กร(Corporate Card) จากฐานะทางการเงินของบริษัทที่จะขอมีบัตรเครดิตแทนการพิจารณาคุณสมบัติรของผู้ถือบัตรรายบุคคล

ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในอนาคตธปท.จะไม่เข้าไปควบคุมจำนวนบัตรเครดิตของผู้ถือบัตร เพราะเชื่อว่าแต่ละบุคคลย่อมมีความจำเป็นและความต้องการใช้จ่ายแตกต่างกัน ดังนั้นขึ้นกับรายบุคคลมากกว่าที่จะควบคุมดูแลการใช้จ่ายของตัวเอง ส่วนสินเชื่อบุคคลก็เช่นกันธปท.คงจะไม่มีการปรับเพดานดอกเบี้ย เพราะในปัจจุบันการคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลที่ระดับ 28%ต่อปี ถือว่าสูงอยู่แล้ว และครอบคลุมค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอยู่แล้ว

สำหรับแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตในปีหน้า แม้จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็ตาม เชื่อว่ายังคงมีการเติบโตที่ดีอยู่และไม่กระทบต่อหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ในส่วนของธุรกิจบัตรเครดิต เพราะผู้ประกอบการมีการตั้งสำรองที่ดีรองรับไว้แล้ว โดยปัจจุบันเอ็นพีแอลของธุรกิจบัตรเครดิตต่ำกว่า 3% ขณะที่ยอดหนี้คงค้างลดลงอย่างต่อเนื่องจากในช่วงปี 45 อยู่ที่ระดับ 40%ของมูลค่าการใช้บัตร แต่เมื่อถึงปี 46 อยู่ที่ระดับ 33% และปี 47 ลดลงอยู่ที่ 20% ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตคงอยู่ในระดับนี้ตลอด

“แม้ธปท.จะอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสามารถปรับเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้ แต่เชื่อว่าอาจมีผู้ประกอบการบางรายไม่มีการปรับเพิ่มขึ้น เพราะเชื่อว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในการดึงฐานลูกค้าเข้าบริษัท นอกจากนี้มองว่าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ประกอบการบางรายอาจยังไม่สามารถแยกได้ยอดเก่าหรือใหม่ของลูกค้าได้อยู่ เพราะหากคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 20%ใหม่หมดก็จะส่งผลเสียไปยังลูกค้ารายเก่าด้วยที่ยังไม่ควรยังไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์ใหม่”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us