Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2537
"มานิต รัตนสุวรรณ ถึงเวลากลับมาเป็นลูกจ้าง"             
 


   
search resources

มานิต รัตนสุวรรณ




มานิต รัตนสุวรรณกับวัย 50 ปี ของเขาในวันนี้เป็นอะไรหลาย ๆ อย่าง ที่ทำให้เขามีชื่อเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง เคยเป็นนักบัญชี นักโฆษณา นักขาย นายกสมาคมการตลาด แม้กระทั่งนักกลอนก็เคยเป็นมาแล้ว แต่ "นัก" ที่ทำชื่อเสียงให้เขามากที่สุดก็คือ นักการตลาด

เขาเคยบริหารงานให้กับบริษัทพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัดในเครือโอสถสภาในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ว่ากันว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม รายได้ที่เริ่มจากหลักศูนย์พุ่งทะยานสู่ 500 ล้านบาท ภายในเวลา 5 ปี และ ร่วม 1,000 ล้านบาทภายในระยะเวลาเพียง 7-8 ปี

แล้วมาวันหนึ่ง มานิตก็ขอเป็น "เถ้าแก่" บ้าง เพราะที่ทำ ๆ มานั้น ล้วนแต่รับจ้างทำให้คนอื่น ๆ ทั้งนั้น ถึงเวลาทำให้ตัวเองบ้าง เมื่อสี่ก่อนเขาจึงตั้งบริษัทเอ็มจีไอ มาร์เก็ตติ้งขึ้นมา เป็นบริษัทการตลาดรับจัดจำหน่ายและวางตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภคให้กับผู้ผลิตสินค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่เขามีความชำนาญเป็นอย่างสูง และก็สามารถทำให้สินค้าบางตัวมีชื่อติดอันดับอยู่ในตลาด อาทิ น้ำมันพืช ถั่ว ฯลฯ

ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เขาก็กระโดดเข้าไปปรับปรุงโรงหนังเฉลิมกรุง ซึ่งหมดสัญญาเช่ากลับคืนไปเป็นสมบัติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตรย์ มานิตมีความฝันที่จะทำเฉลิมกรุงให้เป็นโรงละครเสมือนบรอดเวย์เมืองไทย โดยการเปิดเป็นโรงโขน และ โรงละคร ในภาพลักษณ์ใหม่อันทันสมัยด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยแสง สี เสียงอันทันสมัยมาทำให้ศิลปะการแสดงแบบไทย ๆ ที่ถูกเมินจากคนรุ่นใหม่ มีสีสันแปลกใหม่ขึ้น

อีกปีเศษ ๆ ต่อมา มิวสิก้า ธุรกิจจัดจำหน่ายเทปเพลงเพื่อรองรับการผลิตเทปเพลงจากค่ายมูเซอร์และ ดีเดย์ ก็เกิดตามมา การเกิดมิวสิคก้านี้ว่ากันว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความคันไม้คันมือของมานิตซึ่งยังหลงเหลืออยู่หลังจากที่ทำให้ เอ็มจีเอ ของค่ายแกรมมี่สัมฤทธิ์ผลจนสามารถพลิกประวัติศาสตร์วงการค้าเพลงได้สำเร็จ หากจะว่าไปแล้วปัจจุบันนี้ความคิดในการตั้งบริษัทจัดจำหน่ายเทปเพลงเอง เพื่อให้ครบวงจรได้กลายเป็นสูตรสำเร็จของวงการที่ใคร ๆ ต่างก็ถือเอาเป็นตัวอย่างไม่ว่าจะเป็น อาร์เอส คีตา หรือเบโซ่ก็ตาม

ทั้ง 3 กิจการที่กล่าวถึงข้างต้น แม้จะเป็นคนละรูปแบบคนละวงการ แต่ก็สามารถมีคน ๆ เดียวกันดูแลบริหารกิจการทั้ง 3 แห่งได้ในเวลาเดียวกัน

แต่ปัจจุบัน มานิต ได้ถอยฉากตนเองออกจากกิจการต่าง ๆ เหล่านั้นไปแล้วทั้งสิ้น

"ตอนนี้ในส่วนของเอ็มจีไอ ผมเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาและผู้ถือหุ้นเท่านั้น ผมได้ถ่ายเทตำแหน่งกรรมการผู้จัดการไปให้กับ อารยา เตชานันท์ ส่วนที่โรงละครเฉลิมกรุงกำลังอยู่ระหว่างถ่ายเทงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกเช่นกัน ในขณะที่มิวสิก้า ได้ขายหุ้นทั้งหมดของตนเองให้กับวอร์เนอร์หรือ WEA ไปเรียบร้อยแล้ว" มานิต รัตนสุวรรณ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

คำถามจึงมีอยู่ว่า ทำไมมานิตต้องผลักภาระในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของเขาออกไปทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่กิจการทั้ง 3 เขาเป็นผู้ก่อตั้งและสร้างมากับมือของเขาเอง แล้วเขาจะไปทำอะไร

บางกระแสว่ากันว่าการขายหุ้นส่วนของมานิตในแต่ละบริษัทออกไปให้กับผู้ถือหุ้นหน้าใหม่ อาทิ เอสแอนด์พี และกลุ่ม เอ็มจีอาร์เพื่อให้เข้ามาบริหารกิจการเอ็มจีไอนั้นมีเบื้องพลังมาจากเพราะความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างอมเรศ ศิลาอ่อน กับมานิต ตั้งแต่ครั้งสมัยที่อยู่ปูนใหญ่มาด้วยกัน ในขณะที่การขายหุ้นในมิวสิก้าให้กับวอร์เนอร์ไปเพราะไม่พอใจในการเข้ามาฮุบอำนาจของวอร์เนอร์ฯ

แต่บางกระแสก็กล่าวว่า มานิตขาดทุนจากการทำบริษัทการตลาดของเขาไปมากมายหลายสิบล้านบาท ซึ่งไม่อาจระบุจำนวนเงินที่แน่นอนได้ ขณะเดียวกันการลงทุนในบริษัทจัดจำหน่ายเทปเพลงในเบื้องต้นอีกหลายสิบล้านบาท ผลประโยชน์ที่คาดหวังค่อนข้างล้มเหลวไม่เป็นไปอย่างที่คิด เพราะฉะนั้นการขายหุ้นในกิจการต่าง ๆ ของเขาก็เท่ากับว่าเอาเงินสดออกมาหมุนเวียนล้างสภาพหนี้สินนั่นเอง

ในยุคสมัยปัจจุบันที่ตลาดของสินค้าแต่ละประเภทมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ใช้กลยุทธ์รูปแบบพลิกแพลงต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งล้วนแต่ต้องมีสายป่านยาว ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น หากทุนไม่หนาพอ ก็ยากจะยืนระยะยาวอยู่ได้

ที่สำคัญ ตลาดได้แบ่งซอยย่อยออกเป็นตลาดขนาดกลาง ๆ หรือขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง ตามลักษณะของกลุ่มประชากรที่มีความเปลี่ยนแปลงในรูปลักษณ์ที่หลากหลายขึ้น สูตรสำเร็จทางการตลาดแบบครอบจักรวาลซึ่งใช้ได้ผลกับตลาดขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่าตลาดแบบมวลชน ย่อมไม่อาจหาความสำเร็จได้กับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้

ในขณะที่มานิตกลับมีเหตุผลส่วนตัวของตนเองสำหรับการยุติบทบาทของการเป็นเถ้าแก่ว่า "ผมกลับมาประจำอยู่ที่บริษัทมณีทัศน์ของผม คืองานหนังสือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบมาตลอด ไม่เคยละทิ้งแม้จะไปทำอะไรก็ตาม นอกจากนี้ก็จะมีเวลาส่วนหนึ่งกลับไปเป็นมือปืนรับจ้างในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการให้กับ AM/PM ซูเปอร์มาร์เก็ต เวลาอีกส่วนหนึ่งไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังเหลือเวลาไว้อีกส่วนหนึ่งไปทุ่มเทให้กับงานใหม่ซึ่งคิดอยากจะทำมาตลอดคือเรียลเอสเตท"

จากความต้องการในส่วนเรียลเอสเตทนี้เอง ทำให้วันหนึ่ง ๆ ของมานิต หมดไปกับการตระเวนมองหาทำเลที่เขาคิดว่าดีที่สุดเหมาะสมกับการทำโครงการ ซึ่งการดูที่ดินที่ว่าเหมาะหรือไม่นั้น มานิตบอกว่าเขาได้ใช้สามาญสำนึกส่วนหนึ่งบวกเข้ากับประสบการณ์ที่เคยทำมาก่อน อาทิ โครงการพริ้วรีสอร์ท พริ้วฟลอเรส ซึ่งทั้ง 2 โครงการประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

การเป็นมือปืนรับจ้างหรือนักการตลาดมืออาชีพของมานิต รัตนสุวรรณ ทำให้เขาประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้อย่างมากมาย แต่การจะเป็นเถ้าแก่เสียเองนั้น มานิตยังต้องเรียนรู้กับคำว่าเจ้าของกิจการอีกมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us