Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549
Equilibrium (Conti...)             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

Equilibrium




ผมเขียนเรื่องนี้ไว้เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร เปลี่ยนแปลงคณะบริหารอำนาจรัฐ ซึ่งมีองค์ประกอบผู้บริหารสำคัญๆ ในโมเดลที่ดูเหมือนคล้ายๆ เคยใช้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว

ผู้อ่านควรจะกลับไปอ่านบทความชิ้นนั้นอีกครั้ง ซึ่งผมมีความประสงค์จะขยายความในบางจุดในบทความชิ้นนั้นในมิติที่น่าสนใจบางประเด็น

"ภาพสังคมธุรกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นภาพที่เป็นปริศนาพอสมควร แต่ดูคลี่คลายไปเอง เมื่อสถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นหลังจากนั้น 3-4 ปี แต่ในที่สุดความคลุมเครือดูครอบคลุมกลับมาใหม่อีกในช่วงนี้"

"คงไม่มีช่วงใดเท่าวิกฤติครั้งนั้นที่ธุรกิจครอบครัวถูกบั่นทอนมากที่สุด กว้างขวางที่สุด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเพียงใด"

"ปฏิกิริยาของสังคมธุรกิจไทยต่อระบบทุนนิยมระดับโลกในเชิงลบครั้งสำคัญครั้งแรก ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 มีนัยว่าเป็นความขัดแย้งโดยพื้นฐานระหว่างธุรกิจครอบครัวไทย ซึ่งเป็นทุนนิยมแบบหนึ่ง กับระบบทุนนิยมที่พัฒนาจากผลประโยชน์ระบบครอบครัวไปสู่ผลประโยชน์ระดับบุคคล (Individual Investor) แล้วความขัดแย้งนี้ถือเป็นแรงเสียดทานของการปรับตัวอย่างหนึ่ง"

สังคมธุรกิจไทยที่กล่าวถึงนี้หมายรวมผู้คนในสังคมที่เกี่ยวเนื่องด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอำนาจดั้งเดิม Technocrat และแวดวงวิชาการ ซึ่งปฏิกิริยาต่อทุนนิยมระดับโลกนั้น ไม่ใช่มองในระดับโลกในเชิงนามธรรมทั่วไป เหมือนการแอนตี้อเมริกาและญี่ปุ่นในช่วงสงครามเวียดนาม หากมองลึกลงไปในลักษณะ "ตัวแทน" ด้วย เนื่องจากกลุ่มทุนนิยมใหม่ในสังคมไทยมีลักษณะเป็น "ตัวแทน" ทุนนิยมโลกมากที่สุดอยู่ด้วย กลุ่มเหล่านี้จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในปฏิกิริยาที่รุนแรงนี้

ผมไม่จำเป็นต้องระบุชัดเจนว่าเป้าหมายนั้นเป็นใครอย่างไร กลุ่มตัวแทนที่ว่านี้เป็นกลุ่มทุนหรือธุรกิจที่มาใหม่และเติบโตอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เชื่อว่าผู้อ่านคงเข้าใจดี กลุ่มตัวแทนหมายเลขหนึ่งนั้นเป็นใคร

กลุ่มแวดล้อมสังคมธุรกิจรากฐานเดิม ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสังคมที่มีการหลอมความปึกแผ่นมากที่สุด กลุ่มอำนาจดั้งเดิม Technocrat และแวดวงวิชาการ ส่วนใหญ่มีความต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกัน มีพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาในยุคเดียวกัน โดยเฉพาะความคิดในเชิงโครงสร้างที่สอดคล้องกัน

กลุ่มเหล่านี้มีประสบการณ์ที่ความ "คุ้นชิน" กับระบบการเมือง แบบกึ่งประชาธิปไตย มากกว่าระบบการเมืองแบบ "เลือกตั้ง" ในยุคหลังๆ เพราะในช่วงชีวิตคนกลุ่มนี้มีประสบการณ์กับเหตุการณ์รัฐประหารมากที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมไทย จนอาจจะกล่าวได้ว่าประเมินสถานการณ์ได้ มีความ "คุ้นชิน" กับผู้นำที่มีฐานมาจากกลุ่มเดียวกัน มากกว่ากลุ่มอื่นที่มาใหม่ แม้ว่าในบางช่วงกลุ่มพลังเหล่านั้นต้องต่อสู้กันในความคิดเชิงการเมืองกันอย่างรุนแรง แต่อีกด้านหนึ่งก็เรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างดี ประเมินสถานะของแต่ละฝ่ายได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญ เรียนรู้ที่อยู่ร่วมกันด้วย

ขณะเดียวกันกลุ่มพลังดั้งเดิมนี้ยังเรียนรู้อย่างไม่มากพอ สำหรับกลุ่มทุนนิยมใหม่ หรือกลุ่มพลังอำนาจใหม่ ในบางช่วงพวกเขาประเมิน "ตัวแทน" ทุนนิยมโลกกลุ่มนี้ต่ำเกินไป แล้วมาจุดหนึ่งก็สวิงประเมินอย่างสูงเกินไป แสดงให้เห็นว่ากลุ่มพลังเดิมเหล่านี้ยังไม่ "คุ้นชิน" ทุนนิยมใหม่ เท่ากับ อำนาจดั้งเดิม

ว่ากันว่า Technocrat บางคนในคณะผู้บริหารอำนาจชุดปัจจุบัน จึงมีโครงสร้างอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ เคยถูกทาบทามให้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทุนนิยมใหม่ก็ปฏิเสธไม่ร่วมวงด้วย แต่กลับมีความยินดีที่จะร่วมกันชุดปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจของสังคมไทย จึงเป็นเรื่องประวัติศาสตร์เชิงเปรียบเทียบที่น่าสนใจในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นปรัชญา ความคิด และเรื่องราวตัวบุคคล ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะมองเฉพาะเพียงระบอบการปกครองที่ชอบอ้าๆ กันเท่านั้น

ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทุกครั้ง ในอำนาจทางสังคม มักจะมาจากการปรับสมดุลของโครงสร้าง ซึ่งบางครั้งรุนแรง บางครั้งราบรื่น และบ่อยครั้งไม่สามารถปรับอย่างรุนแรงครั้งเดียว ก็จะเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ ประวัติศาสตร์บอกไว้เช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งนี้ ผมเชื่อว่า มิใช่การปฏิเสธ หรือการล้มล้างการดำรงอยู่อย่างมีพลังของกลุ่มทุนนิยมใหม่ และไม่ใช่การกลับมาของกลุ่มดั้งเดิม เข้าสู่ภาวะแห่งอำนาจมั่นคงเช่นเดิม เช่นเมื่อ 20 ปีที่แล้วอย่างสมบูรณ์ หากเป็นกระบวนการยอมรับอย่างเป็นทางการของการมีอยู่ และอยู่ร่วมกันกับกลุ่มพลังสำคัญของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอำนาจดั้งเดิมกับกลุ่มอำนาจใหม่ที่มีลักษณะเป็นทุนนิยมใหม่ เป็น "ตัวแทน" ของทุนนิยมโลก ซึ่งมีบุคลิกของความก้าวร้าว และครึกโครมเกินพอดี เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอำนาจดั้งเดิมที่มีบุคลิกของความลงตัว และดูดีมากกว่า

นอกจากนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้กลุ่มใหม่ ด้วยการปฏิบัติจริงครั้งใหญ่ ความจริงแล้ว กลุ่มพลังเดิมโดยเฉพาะแวดวงวิชาการ ควรจะศึกษากลุ่มใหม่มาตั้งนานแล้ว ด้วยความระแวดระวัง ตั้งแต่หลังสงครามเวียดนาม ซึ่งถือเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย ทว่า กลับไม่มีการศึกษาอย่างดีเพียงพอ ในที่สุดต้องมาศึกษากันอย่างเร่งรีบจากเอกสารกองเท่าภูเขาเลากา ในห้องทำงานคณะกรรมการตรวจสอบชุดต่างๆ ด้วยความเครียด และความกดดันเกินความจำเป็นในขณะนี้ อะไรเทือกนี้

ในกระบวนการยอมรับสมาชิกใหม่นี้ก็ย่อมจะมีต้นทุน หรือมีค่าสมาชิกใหม่ด้วยเสมอ สมาชิกที่มาทีหลัง ย่อมจ่ายแพงกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us