Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549
Sinosphere over Africa             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 





ช่วงเวลาหลายปีที่เรียนอยู่ในเมืองจีน มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่งที่ผมผูกพันอยู่กว่า 4 ปีเต็ม คล้ายกับเป็น "จุดผ่านทาง" ของนักศึกษาจากหลากหลายชนชาติ หลากหลายภาษา เป็น "จุดเริ่มต้น" ของนักศึกษาในการเข้าใจประเทศจีน เพราะที่นี่เป็นสถาบันการศึกษาที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรม อันเป็นศาสตร์ขั้นต้น ศาสตร์จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจกับประเทศจีน-สังคมจีน-คนจีน

ปีแรกๆ ของการเรียนที่มหาวิทยาลัยภาษา และวัฒนธรรมปักกิ่งผมรู้จักกับเพื่อนชาวแอฟริกันหลายคน แม้หลายคนรูปร่าง-หน้าตาจะดูน่าสะพรึงกลัวไปบ้าง สำหรับคนเอเชีย แต่ถ้าลองได้พูดคุยก็จะรู้ว่าเพื่อนชาวแอฟริกันส่วนใหญ่เป็นคนนิสัยใช้ได้ และเรียนเก่งอย่างเหลือเชื่อ

ผมเชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยจะต้องตกใจ หากได้ยินคนแอฟริกันผิวดำ "จ้อจีน" แบบน้ำไหลไฟดับ แถมบางคนยังข้ามขั้นไปจีบเอานักศึกษาจีนเป็นแฟนอีกด้วย...

นักเรียนแอฟริกันส่วนที่มาเรียนเมืองจีน แทบจะร้อยทั้งร้อยเป็นนักเรียนทุน โดยส่วนใหญ่ จะมาศึกษาต่อด้านภาษาจีน การแพทย์จีน การ ไปรษณีย์ การคมนาคม หรือศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับ สาธารณูปโภคต่างๆ เนื่องด้วยระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในทวีปแอฟริกันส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นด้อยพัฒนา และศาสตร์ต่างๆ นี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างชาติในระยะแรกๆ

แน่นอนเหล่าสมาชิกแห่งทวีปแอฟริกาย่อมคาดหวังว่า "จีน" จะเป็นต้นแบบหนึ่งในการพัฒนาชาติของพวกเขา

เมื่อรับทราบข่าวการประชุมสุดยอดความร่วมมือจีน-แอฟริกา (China-Africa Summit) ที่ปักกิ่งเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งมีชาติแอฟริกาเข้าร่วมประชุมกว่า 48 ชาติ หลายคนแสดงความประหลาดใจ บ้างถามว่าจีนไปมีความสัมพันธ์อะไรกับแอฟริกา? จีนหวังจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนกาฬทวีปใช่หรือไม่? จีนต้องการจะขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ เพื่อขูดรีดทรัพยากรจากแอฟริกาหรือเปล่า?

จริงๆ จีนกับแอฟริกามีความสัมพันธ์กันมายาวนาน อย่างน้อยๆ ก็คือความสัมพันธ์ในฐานะ "ประเทศโลกที่สาม" หรือประเทศที่ด้อยพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมด้วยกัน โดยเฉพาะจีนในยุคที่พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาปกครองประเทศ คือภายหลังปี 2492 (ค.ศ.1949) เป็นต้นมา พรรคคอม มิวนิสต์จีนพยายามสร้างภาพลักษณ์ต่อชาวโลกว่า

"จีนให้เกียรติแก่ประเทศเล็กที่มหาอำนาจส่วนมากไม่ให้ความสำคัญ"

แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นแนวคิดที่ผูกติดอยู่กับอุดมการณ์ในการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่พยายามจะให้เกียรติแก่ชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งต่อมาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนานา ประเทศว่า จริงๆ การผูกมิตรกับแอฟริกาของจีนนั้นเพียงความต้องการช่วงชิงพรรคพวก ขณะ ที่จีนก็โต้ว่าจีนกับแอฟริกานั้นเป็นสัมพันธมิตรโดยธรรมชาติ คือในฐานะของประเทศที่เคยถูกจักรวรรดินิยมข่มเหง

ไม่ว่าใครจะพูดว่าอย่างไร นับตั้งแต่วันที่นาสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) ประธานา ธิบดีแห่งอียิปต์ รับรองว่ารัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ปักกิ่งนั้นเป็นรัฐบาลที่แท้จริงของจีน (อียิปต์ถือเป็นประเทศแรกในแอฟริกาที่แสดงยอมรับรัฐบาลปักกิ่ง แทนรัฐบาลไต้หวัน) จนกระทั่งวันนี้ ปี 2549 ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกานับวันจะยิ่งแนบแน่นขึ้นเรื่อยๆ

ณ วันนี้ ในวันที่โลกของอุดมการณ์ทาง การเมืองถูกโถมทับด้วยโลกแห่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่อันดับที่ 3 ของแอฟริการองจากสหรัฐ อเมริกา และฝรั่งเศส โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาตัวเลขการค้าระหว่างจีน-แอฟริกานั้นเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ขณะที่ในปี 2548 ที่ผ่านมา ตัวเลขการค้านั้นสูงถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

วันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ระหว่างงานประชุมนักธุรกิจจีน-แอฟริกา ณ มหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่ง เวินเจียเป่า นายกรัฐมนตรี จีนได้กล่าวยืนยันถึงความสัมพันธ์ด้วยว่า นับถึงสิ้นปี 2548 จีนนำเงินไปลงทุนในแอฟริกามากถึง 6,270 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว นอกจากนี้ในปีนี้ตัวเลขการค้าระหว่างจีนกับแอฟริกา น่าจะสูงแตะ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และภายใน 5 ปีข้างหน้าตัวเลขการค้าดังกล่าวน่าจะแตะ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

การแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจ-การค้าของจีนเข้าไปในทวีปแอฟริกา ถูกนักวิชาการตะวันตกจำนวนหนึ่งให้คำจำกัดความไว้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ Sinosphere เข้าปกคลุมกาฬทวีป

เดิมที Sinosphere หรือ Chinese world หรือ Chinese cultural sphere นั้นหมายถึงกลุ่มประเทศ/ภูมิภาค ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่จำนวนมากพอสมควร หรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของจีน โดยประเทศในกลุ่มนี้นั้นหมายความรวมถึงไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ-ใต้ สิงคโปร์ เวียดนาม เป็นต้น

เมื่อนักวิชาการตะวันตกเริ่มนำคำว่า Sinosphere มาดัดแปลงใช้ในทางเศรษฐกิจ และนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนการรุกคืบเข้าไปแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในทวีปแอฟริกา ก็ยิ่งทำให้ภาพของการเป็น "เจ้าอาณานิคม" นั้นเด่นขึ้นมา (เหมือนกับการใช้คำว่า Anglosphere กับอังกฤษ)

ขณะที่ฝรั่งก็กำลังพยายามตั้งคำถามกับ "ความสัมพันธ์อันราบรื่นระหว่างจีน-แอฟริกา" สามสี่ประการ...

คำถามแรก คือ การที่จีนเข้าไปทำทีว่าจะช่วยเหลือชาติแอฟริกาต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า การเพิ่มการลงทุน การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การสร้าง สาธารณูปโภค หรือการยกหนี้ให้กับประเทศในแอฟริกา 31 ประเทศ เป็นเงินกว่า 10,900 ล้านหยวน เป็นต้นนั้นเป็นการส่งเสริมให้ชาติแอฟริกาเป็นหนี้ต่อไปหรือไม่?

คำถามที่สอง คือ สาเหตุที่จีนเร่งกระชับ ความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจกับชาติแอฟริกาก็เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการแสวง หาความต้องการทางทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แร่ พลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันในแอฟริกา ใช่หรือไม่? เนื่องจากปัจจุบันน้ำมันดิบราวหนึ่ง ในสี่ที่จีนนำเข้านั้นมาจากชาติในแอฟริกา เช่น แอลจีเรีย, แองโกลา, ชาด, ซูดาน, ไนจีเรีย ทั้งนี้น้ำมันดิบที่จีนนำเข้าจากแองโกลาในแต่ละปีนั้นมีปริมาณมากกว่าที่นำเข้าจากซาอุดีอาระเบียเสียอีก

คำถามที่สาม คือ การเข้าไปสร้างความ สัมพันธ์ของรัฐบาลปักกิ่งกับรัฐโจร (Rouge State) ทั้งหลายในทวีปแอฟริกาเพื่อดูดซับทรัพยากรธรรมชาติ มองในแง่มุมของประชาชน ในชาติเหล่านี้ ผลได้จากการผูกสัมพันธ์ทำการค้ากับจีนนั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าผลเสีย? ยังมิต้องกล่าวถึงการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และเรื่องสิทธิมนุษยชนอีก

คำถามที่สี่ คือ การค้าระหว่างจีนกับชาติแอฟริกานั้น ครอบคลุมไปถึงสินค้าจำพวก "อาวุธสงคราม" โดยอาวุธสงครามเหล่านี้จำนวนหนึ่งถูกนำไปใช้เพื่อปราบปราม-สังหาร กลุ่มต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในหลายประเทศของแอฟริกา การส่งออกอาวุธของจีนจะยิ่งเป็นตัวเพิ่มความขัดแย้ง เร่งปฏิกิริยาของสงครามในประเทศเหล่านี้หรือไม่? นอกจากนี้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลจีนที่ปกครองภายใต้พรรคการเมืองเดี่ยว คือ พรรคคอมมิวนิสต์นั้นจะเป็นต้นแบบให้ชาติแอฟริกาไม่ยอมพัฒนา ตัวเองสู่ลู่ทางของการเป็นประชาธิปไตยหรือไม่?

เห็นได้ชัดว่า คำถามข้างต้นเป็นคำถามที่จู่โจมโดยมุ่งเป้าตรงไปยัง "การแผ่อิทธิพล" ของรัฐบาลปักกิ่งไปยังกาฬทวีป ทวีปเดียวในโลก ที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติหลงเหลืออยู่อย่างเหลือเฟือ

ท่านผู้อ่านหลายท่านที่พอทราบประวัติ ศาสตร์การเมือง-เศรษฐกิจโลก หรือเคยหยิบ หนังสือ Confessions of an Economic Hit Man หนังสือเศรษฐศาสตร์ขายดีติดอันดับในสหรัฐฯ ของปี 2548 ก็คงทราบดีอยู่แล้วว่า แท้จริงแล้วในปัจจุบัน "รัฐบาลปักกิ่ง" กำลังเลียนแบบพฤติกรรมในปัจจุบันและในอดีตของ "รัฐบาล" ชาติไหนอยู่บ้าง? และคำถามต่างๆ นี้ถูกตั้งขึ้นอย่างมีอคติหรือไม่?

ประเด็นปัญหาเหล่านี้หากมองในองค์รวม แล้วก็คือ ความพยายามหาเหตุผลเพื่อจำกัด อิทธิพลของจีนไม่ให้เติบโตเร็วจนเกินไป จนไปทับซ้อนกับผลประโยชน์ของชาติตะวันตก...

สำหรับคำตอบของคำถามสามสี่ข้อข้างต้นนั้น Ngozi Okonjo-Iweala อดีตรัฐมนตรีคลังและอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศหญิง ผู้โด่งดัง ของประเทศไนจีเรียได้ให้คำตอบไว้อย่างน่าคิดว่า ซึ่งผมจะสรุปย่อทิ้งท้ายไว้ดังนี้

ปัจจุบันชาติตะวันตกกำลังตื่นตระหนกกับบทบาทของจีนในทวีปแอฟริกา ถึงขนาดที่ชาวตะวันตกเริ่มเรียกจีนว่า "นักล่าอาณานิคมคนใหม่" แต่สิ่งที่แอฟริกากำลังต้องการในขณะนี้ก็คือ การลงทุนในสาธารณูปโภค เธอกล่าวว่า สาธารณูปโภคเป็นสิ่งขาดไม่ได้ในการพัฒนาประเทศ

ขณะที่ประเทศต่างๆ มองว่าการลงทุนในสาธารณูปโภคในชาติแอฟริกามีความเสี่ยงสูงเกินไป แต่จีนนั้นมองในมุมที่ต่างออกไป จีนยินดีที่จะร่วมมือกับชาติแอฟริกา และชาติตะวันตกก็ควรเรียนรู้ที่จะแข่งขันบ้าง!!!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us