Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549
AIA ในต่างจังหวัดถึงเวลาเก็บเกี่ยวรอบใหม่             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ)

   
search resources

อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์, บจก.
Insurance
โทมัส เจมส์ ไวท์




หลังเน้นขายตัวผลิตภัณฑ์เพื่อการออมและการลงทุน ซึ่งต้องให้ผลตอบแทนราคาแพงแก่ผู้ซื้อมานานหลายปี ในปีนี้เอไอเอเลยต้องหันมาเน้นที่งานขายสินค้าเพื่อการคุ้มครองที่มีเบี้ยราคาต่ำ เหมาะกับคนต่างจังหวัด ซึ่งเอไอเอเพิ่มน้ำหนักสูงถึง 60%

ในตลาดต่างจังหวัดอาจกล่าวได้ว่า บริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด หรือเอไอเอ ซึ่งเข้ามาตั้งรกรากเพื่อทำธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2481 ถือเป็นเจ้าแรกที่ตัดสินใจก้าวเข้าไปทำธุรกิจกับลูกค้ากลุ่มนี้ตั้งแต่กว่า 10 ปีก่อนหน้า ดังจะเห็นได้จากความพยายามที่จะขยาย สาขาลงไปในต่างจังหวัด

หากกรมการประกันภัยไม่ออกประกาศคำสั่ง ห้ามบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศขยายสาขาในต่างจังหวัด ตลาดคงจะได้เห็นสาขาเอไอเอ แทนที่จะเป็นสำนักงานตัวแทน ซึ่งเอไอเอเปิดตัวให้บริการ โดยมีกลุ่มครูมาเป็นเครือข่ายตัวแทนขายกรมธรรม์คุ้มครองชีวิตที่มีเบี้ยต่ำควบคู่กับการลงไปจัดตั้งโครงการช่วยเหลือชาวนาในเวลาต่อมา

ชื่อของเอไอเอจึงกลายเป็นที่รู้จักในทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ไม่เว้น กระทั่งเด็กๆ ที่เวลานั้นอาจยังมีอายุเพียงไม่กี่ขวบ แต่ก็ยังรู้จักบริษัทที่ชื่อว่าเอไอเอ แม้เอไอเอไม่ได้หวังผลอะไรมากนักกับคนในกลุ่มหลัง นอก จากอยากให้พวกเขาเติบโตคู่กับเอไอเอตั้งแต่ยังอยู่ในครัวเรือน เพราะเชื่อว่าเด็กในวันนั้น หลังจากที่พวกเขาเติบโต เรียนจบและมีงานทำแล้ว จะกลายมาเป็นลูกค้าใหม่ในวันนี้ของเอไอเอ

"นั่นก็คือ (เอไอเอ) เหมือนกับชาวนาที่ปลูกข้าว เราปลูกเมล็ดพันธุ์ เหล่านี้ลงไป เพราะระยะยาวเราเชื่อว่าเราจะมีส่วนแบ่งตลาดในอนาคต และเรารู้ว่ามีแค่ประมาณ 12% ของประชากรทั้งหมดในประเทศที่มีการทำ ประกันชีวิต เราจึงยังมีโอกาสอีกมากมายมหาศาลในไทย และเราก็ถือว่าต่างจังหวัดเป็น strategy หลัก เราเข้าไปอยู่ที่นั่นมาหลายปีแล้ว และก็เป็น รายแรกที่ตัดสินใจเข้าไป และผมคิดว่าตอนนี้รายอื่นๆ กำลังจะทำอย่างเรา" โทมัส เจมส์ ไวท์ รองประธานบริหารระดับสูงและผู้จัดการทั่วไปเอไอเอ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ตั้งแต่ต้นปี 2549 เอไอเอได้ปรับเพิ่มสัดส่วนการทำธุรกิจกับลูกค้าตามต่างจังหวัดขึ้นมาอยู่ที่ 60% จาก 40% ในอดีตจากที่สภาพ ในหลายจังหวัดเริ่มคล้ายคลึงกับกรุงเทพฯ เมื่อ 10 ปีก่อน โดยลดพื้นที่ทำธุรกิจในตลาดกรุงเทพฯ ลงเหลือ 40% จากที่เคยให้ความสำคัญในตลาดนี้ค่อนข้างมากถึง 60%

ทั้งตั้งใจว่า ภายในเดือนพฤศจิกายน 2549 พวกเขาจะร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ใหม่อีกครั้ง ด้วยการขายกรมธรรม์ให้ได้ถึง 100,000 ใบ โดยใช้เวลาแค่เดือนเดียว หลังจาก 14 ปีก่อนเอไอเอเคยฉลองกรมธรรม์ใบที่ 1,000,000 เป็นครั้งแรกนับแต่มาอยู่ที่เมืองไทย

ในปัจจุบันมีลูกค้าถือกรมธรรม์เอไอเอรวมกันราว 5.5 ล้านฉบับ อย่างไรก็ตาม ในปี 2549 จำนวนกรมธรรม์ออกใหม่ของเอไอเอถูกขยับขึ้นมาอยู่ที่ 700,000 ฉบับ เพิ่มขึ้น 200,000 ฉบับ จากเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า แต่ในปี 2550 โทมัส เจมส์ ไวท์ ก็หมายมั่นว่าจะต้องออกกรมธรรม์ใหม่เพิ่มอีก 800,000 ฉบับ เพื่อทำให้ตัวเลขการสร้างลูกค้าใหม่ปิดยอดรวมกัน ได้ที่ 1,000,000 ราย จากตัวแทนของเอไอเอ ทั้งเก่าและใหม่รวมกันราวๆ 73,000 คน

ถึงแม้เอไอเอจะยิ่งใหญ่ในฐานะผู้นำตลาดประกันชีวิตทั้งตลาดกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน ยักษ์ใหญ่เอไอเอก็ยังเป็นอีกค่ายที่ต้องยอมเปลี่ยน แปลง

โดยเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 นั้นเอไอเอ ได้เริ่มเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงคนไทยมาเป็นต่างชาติ ซึ่งมีนามว่า โทมัส เจมส์ ไวท์ อดีตรองประธานเอไอจี ภาคพื้นตะวันออกที่เข้ามา รับตำแหน่งรองประธานบริหารระดับสูง และผู้จัดการทั่วไปของเอไอเอ สาขาประเทศไทย แทนที่ธัลดล บุนนาค ซึ่งนั่งเป็นประธานฯ

หลังเข้ารับตำแหน่ง โธมัส เจมส์ ไวท์ ได้กล่าวเป็นนโยบายว่า เขาจะยังคงรักษามาตรฐานและความเป็นผู้นำในธุรกิจประกันชีวิตของเอไอเอ

จนเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น นายใหญ่ ก็ออกนโยบายซึ่งจะนำเอไอเอไปสู่การเปลี่ยน แปลงสำคัญอีกหลายด้านในเวลาต่อมา

เอไอเอเคยจ่ายเงินไปหลายล้านบาท จ้างบริษัทที่ปรึกษา มาช่วยเปลี่ยนแปลงสำนักงานออฟฟิศและส่วนที่เป็นการบริหาร งานทั้งหมดของเอไอเอ เพื่อริเริ่มโครงการ Business Process Transformation ที่เน้นหลักการในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า

หากต้องการบรรลุผลในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่กลุ่มลูกค้าแล้ว การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานถือเป็นสิ่งที่ต้องมี การประกาศใช้นโยบาย 15/50 เพื่อเพิ่มจำนวนตัวแทนเป็น 15 คนต่อหน่วย ซึ่งจะทำให้อัตราการสร้างผลงานของตัวแทนเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในทุกๆ เดือน เพื่อสร้างเป็นเกราะป้องกันชื่อเสียงความน่าเชื่อถือในแบรนด์เอไอเอ จึงเป็นอีกนโยบายที่โทมัส เจมส์ ไวท์ ต้องประกาศให้มี

"ในโครงการ 15/50 ตอนนี้เราลงคนไปอยู่ที่ 12 คนต่อยูนิต และเราหวังว่าภายในปลายปี 2550 เราจะบรรลุเป้าหมายที่ 15/50 เพราะเราไม่ต้องการให้ตัวแทนที่ยอดเยี่ยมสุด ในธุรกิจนี้ของเรา ต้องใช้เวลาอย่างมากมายกับการทำงานล่วงเวลา เพราะเราคงไม่สามารถผลักดันให้ทุกคนต้องมาทำงานหนักอย่างทุกวันนี้ได้อีก" นายใหญ่ค่ายเอไอเอกล่าว

ท่ามกลางสภาพการแข่งขันอย่างรุนแรง แต่ธุรกิจก็ยังต้องเติบโต การรีครูตคนใหม่จึงต้องได้บรรจุให้เป็นนโยบาย แต่ที่จะขาดไม่ได้คือนโยบายพัฒนาคุณภาพตัวแทนเอไอเอ ที่ต้องมีความเป็นมืออาชีพโดดเด่นเหนือพนักงานขายในค่ายอื่นๆ

เพราะรองประธานบริหารระดับสูงและผู้จัดการทั่วไปของเอไอเอมีแผนจะเปิดตัวโครงการตรวจสุขภาพการเงินก่อน ทำประกัน (Financial Health Check Program) ที่ทีมขายประกันในเอไอเอ จะไม่เป็นเพียงแค่ตัวแทนขายประกัน แต่ต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาระดับมืออาชีพด้านการทำประกัน ให้แก่ลูกค้าเอไอเอ ซึ่งหลักความต้องการและความจำเป็นโดย แท้จริงของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (อ่านรายละเอียดจาก : Change The Way They Do Business)

ด้านการนำเสนอตัวผลิตภัณฑ์สินค้าก็เช่นกันที่ต้องเปลี่ยนแปลง โดยในปีนี้เอไอเอจะหันมาเน้นที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ การคุ้มครองความเสี่ยง ซึ่งมีเบี้ยประกันต่ำ จากเมื่อหลายปีก่อน เคยเน้นขายโปรดักส์การออมและการลงทุนที่มีผลตอบแทนค่อนข้างสูง

ฐานะที่เป็นผู้เล่นระดับโลก เอไอเอคาดว่าในอนาคตโปรดักส์จะถูกพัฒนาให้มีความยืดหยุ่นความเหมาะสมตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ที่ผู้ทำประกัน จะสามารถยืมเงินจากกรมธรรม์บางส่วนของตนออกไปก่อนได้ และหากติดขัดยังหาเงินมาคืน หรือจ่ายเบี้ยในงวดถัดๆ ไปไม่ได้ ก็ยังสามารถเข้าสู่ช่วงเวลาหยุดจ่ายเงินชั่วคราว (holiday period) ได้อีก

เช่นเดียวกับความยืดหนุ่นในการจัดรูปแบบกรมธรรม์ที่จะเน้นความเป็นแพ็กเกจ ในแบบที่ว่าสามารถ รวมชื่อผู้เอาประกันหลายๆ คนเข้ามาอยู่ในกรมธรรม์ใบเดียวกันได้ หรืออาจจะขอผู้ซื้อประกันอาจกลับมาเพิ่มรายชื่อบุคคลอื่นๆ เข้ามาใหม่ภายหลังก็ยังได้

ด้านผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่ม high-end ในกรุงเทพฯ นั้น จะโอนเอียงไปทางโปรดักส์เพื่อการลงทุนซึ่งมีลักษณะ ที่เป็น unit trust อย่างเช่นในสิงคโปร์มากขึ้น ส่วนตลาดต่างจังหวัดจะเป็นผลิตภัณฑ์แบบคุ้มครองซึ่งต้องพัฒนาให้เหมาะสมตามสภาพในท้องถิ่น

สำหรับสถานะเอไอเอที่เมืองไทยเมื่อเทียบกลุ่มเอไอเอในเอเชียด้วยกันแล้ว จะอยู่ที่อันดับ 4 ด้วยผลงาน 60,000 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม โธมัส เจมส์ ไวท์ คาดว่า หากไม่สิ้นปี 2549 ก็จะภายในปี 2550 ที่เอไอเอในไทยจะขึ้นไปยืนในอันดับ 3 แทนที่ฮ่องกง

และมีความเป็นไปได้ว่าในอีกไม่นานจะขยับขึ้นไป อยู่ในตำแหน่งอันดับ 1 แทนประเทศญี่ปุ่น ตลาดใหญ่สุด ของกลุ่มเอไอเอในเอเชีย ซึ่งมีผลงานโดยรวมสูงถึง 5,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือกว่า 180,000 ล้านบาท ต่อปี จาก 3 บริษัทที่เอไอเอเข้าไปเปิดให้บริการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us