|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2549
|
|
ถ้านับโทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกาย กล้องถ่ายภาพดิจิตอลก็กำลังจะกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 34 ในเร็วๆ นี้ เพราะอุปกรณ์ชิ้นนี้เริ่มมีการพกใส่กระเป๋ากันมากขึ้น พร้อมหยิบออกมาใช้ทันทีเมื่อต้องการ
ต้องยกผลประโยชน์ให้กับกล้องดิจิตอลเจ้าแรกๆ ที่เข้ามาสร้างความรู้จักให้กับผู้ใช้ในบ้านเรา จากนั้นตลาดกล้องดิจิตอลก็กลายเป็นสินค้ายอดนิยมไปในทันที
ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ไม่ต้องล้าง เปิดดูได้ทันที แค่นี้ลูกค้าก็ไม่ไหนไม่รอดแล้ว
เจ้าตลาดหมายเลขหนึ่ง และหมายเลข 2 คงไม่ต้องทำอะไรมากนักเพราะติดตลาดอยู่แล้ว แต่หมายเลข 3 หมายเลข 4 ที่ตามหลังมาก็ต้องรับภาระหนัก อย่างกล้องโอลิมปัส ที่มีบริษัทเจ๊บเซ่น แอนด์ เจ๊บเซ่น มาร์เกตติ้ง (ที) เป็นผู้จัดจำหน่ายต้องฝ่าฟันไม่น้อยทีเดียว
"พอบอกว่ากล้องโอลิมปัส คนก็เข้าใจว่าเป็นยี่ห้อโทรศัพท์หรือไม่ก็เครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นพิมพ์ดีด เพราะมีชื่อคล้ายกัน" จรัสพงษ์ เจนจรัสสกุล ผู้จัดการทั่วไป ผลิตภัณฑ์ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ บริษัทเจ๊บเซ่น แอนด์ เจ๊บเซ่น มาร์เกตติ้ง (ที) เล่าให้ฟังถึงการสำรวจว่าคนทั่วไปรู้จักกล้องโอลิมปัสหรือไม่
ช่วงที่ผ่านมา มีผู้ผลิตกล้องดิจิตอลเข้ามาเปิดตลาดในบ้านเราอย่างคึกคัก ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะขณะนี้ตลาดกล้องดิจิตอล ที่มีอัตราการเติบโตอย่างน้อย 20% มีอยู่แค่ 2 ประเทศเท่านั้น คือจีน และไทย นอกนั้นเริ่มลดความร้อนแรงแล้ว
เฉพาะปี 2549 ยอดขายกล้องดิจิตอลทุกประเภท ในบ้านเรา คาดว่าประมาณ 8 แสนตัว เจ้าตลาดอย่างโซนี่ และแคนนอน ก็น่า จะมีส่วนแบ่งมากกว่าครึ่งของตลาดรวมแล้ว ส่วนโอลิมปัส จรัสพงษ์ บอกสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ขอ 4% ก็พอใจแล้ว เพราะในปี 2548 เขามีส่วนแบ่งตลาดแค่ 1% เท่านั้น
ธรรมชาติของตลาดกล้องดิจิตอล ราคาจะลดลง 10% ทุกปี ทำให้กล้องรุ่นใหม่ๆ ออกมาคุณภาพดีขึ้น แต่ราคาถูกลง ส่วนนี้จะถูกทดแทนด้วยกลุ่มลูกค้าที่กลับมาซื้อกล้องใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งประเภท เป็นกล้องตัวที่ 2 หรือไม่ก็ทดแทนกล้องตัวเก่าที่ความละเอียดน้อยกว่ากล้องรุ่นใหม่ ซึ่งลูกค้าที่กลับมาซื้อใหม่มีสูงถึง 30%
ส่วนความต้องการของลูกค้าในยุคต่อไป แนวคิดแบบคลั่งเมกะ พิกเซล (Pixels) จะเริ่มเปลี่ยนไป เพราะกล้องรุ่นใหม่จะเริ่มต้นกันที่ 8-9 ล้านพิกเซล แต่ผู้ผลิตจะหันไปแข่งขันกันในแง่ของลูกเล่น โปรแกรมใช้งาน ทำให้กล้องรุ่นใหม่มีคุณสมบัติใหม่ๆ มากขึ้น
ความหวังของจรัสพงษ์ก็คือ ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของกล้องโอลิมปัสจาก 4% ขยับขึ้นมาเป็น 20% แค่นี้ก็ทำให้เขามีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่งแล้ว แต่เขาไม่ได้ระบุว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน เท่านั้นเอง
|
|
|
|
|