Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549
Funding For Future City             
 


   
www resources

โฮมเพจ ฟิวเจอร์ พาร์ค

   
search resources

Real Estate
Funds
รังสิต พลาซ่า, บจก.
พิมพ์ผกา หวั่งหลี




ถึงแม้ว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์ปาร์ค หรือ FUTUREPF ซึ่งมีมูลค่ากองทุนมีขนาดค่อนข้างกะทัดรัดคือราวกว่า 4,733 ล้านบาท จะเปิดตัวล่ากว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ หรือ QHPF ที่มีมูลค่าโครงการ 7,970 ล้านบาท ราวๆ 18 วัน แต่ก็ยังคงได้รับความสนอกสนใจจากสื่อมวลชนและนักลงทุนไม่แพ้กัน

พิมพ์ผกา หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด ให้ข้อมูลว่า เงินที่ได้มาจากการระดมทุนในครั้งนี้จำนวน 2,600 ล้านบาท ส่วนอีก 600 ล้านบาท จะนำไปใช้เพื่อลงทุนปรับปรุงห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต ตามแผนที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี

ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ บริษัทรังสิต พลาซ่า ได้ใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อเข้าปรับปรุงจัดแบ่งโซนพื้นที่ให้บริการใหม่ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น จนบรรยากาศภายในโซนบริการดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนโฉมจนกลายไปเป็น lifestyle shopping center แล้วในปัจจุบัน

ส่วนเงินที่เหลือในกองทุน FUTUREPF อีก 1,600 ล้านบาทนั้น จะเป็นส่วนการลงทุนของบริษัทรังสิต พลาซ่า ในสัดส่วน 33% ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตามเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. กำหนด

ด้านผลตอบแทนจากการลงทุนในหน่วยลงทุนของ FUTUREPF นั้น คาดหมายกันว่าในปีแรกซึ่งเริ่มจากปี 2550 กองทุนจะให้ผลตอบแทนได้ราว 9.6% แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 10-11.3% ในปีที่ 2-5 และเมื่อถึงปีที่ 6-10 ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับผลตอบแทน 11.8-14.1% และในปีที่ 11-15 จะมีผลตอบแทนอยู่ที่ 14.75-17.63% และในปีที่ 16-20 กองทุนจะให้ผลตอบแทนที่ 18.48-22.17% ทั้งนี้หากคิดเป็นอัตราเฉลี่ย หรือ IRR กองทุน FUTUREPF จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยได้ราว 12.8%

สำหรับการเติบโตในการทำธุรกิจของฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิตนั้น กรรมการผู้จัดการ บริษัท รังสิต พลาซ่า ประมาณว่าเมื่อสิ้นปี 2549 น่าจะเติบโตได้ 5.66% เพิ่มขึ้นจากการเติบโตย้อนหลังไปในปีก่อนๆ ที่เคยมีเฉลี่ย 4-5%

ปัจจุบันฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต เน้นจุดขายในเรื่องจำนวนผู้ใช้ บริการเฉลี่ยวันธรรมดา 130,000 คน แต่เพิ่มเป็น 140,000-150,000 คนในวันหยุด พร้อมทำเลที่ตั้งแวดล้อมไปด้วยสถาบันการศึกษา 22 แห่ง ซึ่งมีนิสิตนักศึกษารวมกันราว 170,000 คน และเป็นแหล่งที่มีโครงการบ้านจัดสรรขยายตัวมากที่สุดในประเทศ โดยช่วง 3 ปีที่ผ่าน มามีบ้านเรือนเกิดใหม่จากโครงการต่างๆ จำนวน 160,000 หลังคาเรือน

รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายด้านการคมนาคมให้เป็น Gate-way ของถนนพหลโยธินที่สามารถเดินทางไปยังภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ได้อย่างสะดวกสบายและคล่องตัวมากขึ้น โดยการขยายพื้นที่ถนนพหลโยธิน 10 ช่องทางการจราจร และเชื่อมโยงโครงข่ายหลักหลายสายที่รายล้อม เช่น ดอนเมืองโทลล์เวย์ที่จะถูกขยายเชื่อมเป็นหนึ่งในสะพานยกระดับ 4 ชั้น โดยส่วนทางลงของดอนเมืองโทลล์เวย์นั้นจะมาลงจอดตรงหน้าฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิตพอดิบพอดี และยังมีโครงการรถไฟฟ้าสีแดงบางซื่อ-รังสิต ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us