Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2536
"ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ว่าที่ PRESIDENT คนใหม่?!"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

   
related stories

"ทีดีอาร์ไอ..ยุคสมองไหล"

   
search resources

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
Research




"เราจะหาคนอย่างดร. ฉลองภพ ไม่ได้อีกแล้ว ! เป็นคนที่รักงานวิจัยเป็นชีวิตจิตใจ" ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่คนอย่าง ดร. อาณัติ อาภาภิรม จะกล่าวชื่นชมวิถีแห่งการทำงานของบุคคลหนึ่งเช่นนี้

ภายในห้องทำงานอันอัดแน่นไปด้วยหนังสือและเอกสารที่วางกองพะเนิน ชายร่างสันทัด ผิวขาว ผู้มีลักษณะเด่นที่ดวงตาอันรีเล็กบนใบหน้าขรึมแบบนักคิดนักวิจัย คือ ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เดี่ยวมือหนึ่งของทีดีอาร์ไอที่วงการนักวิจัยไทยและต่างประเทศต่างยอมรับ VISION และฝีมือในผลงานเด่นๆ ด้านทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม

ดร. ฉลองภพกำเนิดในชาติตระกูลที่ดี เป็นบุตรชายคนเล็กของ นพ. สมภพ สุสังกร์กาญจน์ ซึ่งเคยมีบทบาทโดดเดก่นในสภาหอการค้าฯ และเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ชลประทานซีเมนต์ ยุคสมัยมืออาชีพก่อนที่คุณหญิงลลิลทิพย์ ธารวณิชกุลและพวกจะเข้ามาล้างบาง

"ชื่อของผมและพี่ชายเป็นการผสมผสานชื่อของคุณพ่อ-คุณแม่คือชื่อ 'ขอพร' มาถึงผมก็ไปทางพ่อ ทำให้มีชื่อว่า 'ฉลองภพ'" มีเสียงหัวเราะนิดๆ ที่กลั้วไปกับคำบอกเล่าถึงที่มาของชื่อตัวเอง

ชีวิตในวัยเด็ก ดร. ฉลองภพต้องจากเมืองไทยไปตั้งแต่อายุ 11 ปี หลังจากเรียนจบ ม. 3 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ก็บินไปเรียนต่อที่เมืองผู้ดีประเทศอังกฤษ เริ่มต้นเรียนอยู่โรงเรียนเตรียม (PREPARATORY SCHOOL) สองปีก่อนที่สอบเข้า BRYNATON SCHOOL ซึ่งเป็น PUBLIC SCHOOL (หรือในอเมริกาเรียก 'ไฮสกูล') ที่มีชื่อเสียงมากของอังกฤษ โดยมีเพื่อนร่วมชั้นคือ ดร. ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ บุตรชายของปรก อดีตรมต. พาณิชย์

จาก BRYANTON SCHOOL สำหรับนักเรียนที่ได้เกรด A สี่ตัวตลอดในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ และ APPLIEDMATH อย่างดร. ฉลองภพ เขาสอบเข้าเรียนต่อได้ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ซึ่งนับว่าต้องผ่านด่านข้อสอบที่ยากที่สุดในชีวิตวัยเรียน

"การแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ในอังกฤษ เราต้องไปหา PUBLIC SCHOOL ที่ดี เพราะอย่างที่โรงเรียนผม ครูทุกคนเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและแคมบริดจ์ทั้งนั้น ทำให้นักเรียนพอจะรู้แนวการสอบเข้าได้ คล้ายๆ โรงเรียนเตรียมอุดมของเราที่มีชื่อเสียงว่าเด็กสอบเข้าจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ได้มาก" ดร. ฉลองภพเล่าให้ฟังถึงข้อได้เปรียบที่มีโรงเรียนดีและครูดี

ขณะที่ดร. ฉลองภพสอบเข้าแคมบริดจ์เรียนต่อปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ได้ ดร. ปิยะสวัสดิ์เพื่อนรักก็เข้าออกซ์ฟอร์ดได้เช่นกัน แม้จะห่างกันแต่ทั้งคู่ก็ประสบความสำเร็จสูงสุดทางการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์

"สำหรับคนไทยที่เรียนแคมบริดจ์รุ่นเดียวกับผมคือ อจ. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และบุรินทร์ บริบูรณ์ ซึ่งทำงานอยู่ในบริษัท H&Q ในเครือบริษัทซิโน-ไทย" ดร. ฉลองภพเอ่ยถึงเพื่อนร่วมรุ่นที่เรียนปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่เดียวกัน

เส้นทางชีวิตที่เลือกแล้วว่าจะมุ่งสู่ความเป็นนักวิชาการ โดยไม่สนใจเส้นทางนักธุรกิจเฉกเช่นพ่อซึ่งยังคงดำเนินกิจการ "บริษัทรวมแพทย์" ขายอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และพี่ชายซึ่งปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายโรงงานของบริษัทไทยพลาสติคและเคมีภัณฑ์

"คนเราก็ทำตามที่เลือก และผมก็ไม่ค่อยเก่งด้านธุรกิจ ขณะที่ลูกผมที่มีอายุเพิ่งสี่ขวบเองมีแววเก่ง คือธุรกิจมันต้องมี SENSE เซ็งลี้ ผมก็มี แต่ยิ่งเรียนเศรษฐศาสตร์มาก ความเก่งกาจในการเซ็งลี้ก็ยิ่งลดลง เพราะนักเศรษฐศาสตร์จะคิดมากเกินไป ไม่กล้าตัดสินใจเมื่อถึงเวลา" ดร. ฉลองภพให้เหตุผลถึงทางเลือกวิถีชีวิต

ดร. ฉลองภพได้เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเบอร์กเล่ย์สองปี และไปทำงานเป็นเศรษฐกรประจำที่ธนาคารโลกอีกหกปี ก่อนที่จะเข้ามาทำงานทีดีอาร์ไอ

"ตอนที่ผมอยู่ธนาคารโลก ผมกลับมาที่นี่ประมาณปี 1982 (2525) เพราะธนาคารโลกมีโครงการวิจัยร่วมกับสภาพัฒน์ฯ เพื่อจะพัฒนาเครื่องมือในการทำแผนระดับ MACRO ผมก็ร่วมช่วยเขาในโครงการนั้นและได้พบกับ อจ. ดร. เสนาะ ท่านก็พูดว่าพยายามจัดตั้งสถาบันวิจัยและหากเป็นไปได้อยากจะชวนให้กลับมาทำงาน" นี่คือจุดเริ่มต้นของการกลับสู่มาตุภูมิของดร. ฉลองภพในเวลาต่อมา

ในที่สุดหกเดือนให้หลังจากที่ตั้งทีดีอาร์ไอขึ้นมา ดร. ฉลองภพก็รับข้อเสนอที่ดร. ปิยะสวัสดิ์ เพื่อนรักซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่สภาพัฒน์ชักชวนให้กลับมาทำงานเมืองไทย ด้วยเหตุผลที่เล่าให้ฟังว่า

"ตั้งแต่ผมกลับมาทำงานที่ทีดีอาร์ไอจนย่างเข้า 8 ปีแล้ว ผมคิดว่าดีมาก ถ้าอยู่ที่เวิร์ลแบงก์เราได้เพียงประสบการณ์เพราะเขาเป็นสถาบันพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่เราเรียนรู้ได้มาก แต่ว่างานส่วนใหญ่เป็นระดับอินเตอร์ เราอาจจะไปวิจัยที่อินเดีย มันคงมีประโยชน์ แต่ไม่ตรงต่อประเทศไทย

แต่เมื่อเรากลับมา เราได้ใช้ประสบการณ์ช่วยประเทศโดยตรง และทีดีอาร์ไอเป็นสถาบันที่เราไม่ต้องปรับตัวมากเกินไป หลายคนอยู่เมืองนอกมาทำงานราชการไทย ต้องปรับตัวมาก แม้แต่ในวงธุรกิจก็ลำบาก แต่ที่ทีดีอาร์ไอนี้เราทำคล้ายๆ กับที่เราเคยทำ"

ตำแหน่งแรกเริ่มในฐานะ RESEARCH FELLOW ของดร. ฉลองภพในฝ่ายการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม (MACROECONOMICS PROGRAM) ซึ่งมีที่ปรึกษานายกฯ เปรมอย่าง ดร. วีรพงษ์ รามางกูร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายฯ นับว่า เป็นงานที่ท้าทายกลุ่มคนหนุ่มไฟแรงซึ่งคาดหวังอย่างสูงกับวิจัยเชิงนโยบาย

"ดร. ฉลองภพเข้ามาทำงานที่นี่ คุณหมอสมภพยังมาหาผมเลยว่า 'อาจารย์ทำอะไรอยู่? ลูกชายผมถึงจะมาทำงานด้วย' ผมก็ต้องอธิบายยาวและบอกว่าถ้าหากชอบงานวิจัยแล้วละก้อ อยู่ที่นี่มันดีมีอนาคต" ดร. อาณัติ อาภาภิรม เล่าให้ฟังถึงยุคต้นๆ ที่บทบาทของทีดีอาร์ไอยังไม่เป็นที่รู้จัก

หลังจาก ดร. วีรพงษ์ลาออก ดร. ฉลองภพ ก็ได้เป็นผู้อำนวยการฝ่าย MACROECONOMIC POLICY ควบคู่กับฝ่ายวิจัยทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมตั้งแต่เดือนมกราคม 2530 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งบทบาทของ ดร. ฉลองภพ เด่นชัดมากขึ้นเนื่องจากมีผลงานวิจัยเชิงนโยบายที่สำคัญๆ ออกมาเป็นที่ยอมรับ

"ในส่วนฝ่ายของผมเอง ทำงานให้กับสภาพัฒน์มากในแผน 7 โดยมีโครงการวิจัยเชิงนโยบายใหญ่ๆ 3 โครงการ คือหนึ่ง-โครงการความสัมพันธ์ประชากรกับการพัฒนาประเทศ ที่เป็น INTEGRATED PLANNING ที่อยากให้เกิดมีการศึกษาเรียนต่อ ป. 6 มากขึ้นเพื่อเด็กจะเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลงและมีคุณภาพแรงงานในอนาคตที่ดีขึ้น

สำหรับโครงการที่สองเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการ โดยเน้นงานจำพวกช่างหรือเทคนิเซียน และสาม-โครงการวิจัยเกี่ยวกับกรอบการพัฒนาเมือง" ดร. ฉลองภพเล่าให้ฟัง

แม้งานจะหนัก แต่ยามว่างของ ดร. ฉลองภพก็มีกีฬาที่โปรดปรานมากๆ คือ "ตีกอล์ฟ" และเป็นสมาชิกชมรมกอล์ฟอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น ชมรม R.Y.B และชมรม GOLF DIGEST

"กอล์ฟเป็นกีฬาที่ทำให้เราลืมโลก ไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ ความสนใจจะอยู่กับลูกขาวๆ เล็กๆ แม้จะใช้เวลานานแต่ก็สัมผัสธรรมชาติที่เดินป่าและบรรยากาศดี ผมพยายามเล่นทั่วทุกสนาม โดยตั้งเป้าไว้ว่า ก่อนที่จะตีไม่ไหว ผมอยากจะเล่นทุกสนามในประเทศไทย อย่างน้อยหนึ่งครั้ง" ความสดชื่นจากเสียงหัวเราะออกจากปาก ดร. ฉลองภพบ่งบอกถึงการตีกอล์ฟเป็นความสุขส่วนตัว

นอกจากกอล์ฟแล้ว ดร. ฉลองภพยังรักการถ่ายรูป ล้างและอัดรูปขาวดำ ซึ่งให้อารมณ์มากกว่างานภาพสีซึ่งใช้เทคนิคที่ทางร้านทำได้ดีกว่า

บนเส้นทางชีวิตอันเรียบง่ายของคนที่รักงานวิจัยอย่างดร. ฉลองภพจึงเป็นที่น่าจับตาว่าจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง PRESIDENT คนใหม่ของทีดีอาร์ไอแทนที่ดร. อัมมาร์ สยามวาลา ผู้จะหมดวาระตำแหน่งในราวเดือนกันยายนปีหน้าหรือไม่?

"ตำแหน่งไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือว่า ดร. อัมมาร์และผมอยู่ที่นี่ ตั้งแต่ที่ยังไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครรู้จัก เราพยายามสร้างความเข้าใจทั้งภาคราชการ เอกชนและสาธารณชนให้รู้จักเรา ในที่สุดผมคิดว่าเราได้ MAINTAIN MOMENTUM ไว้ได้ ผมคิดว่าอันนี้แหละเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของทีดีอาร์ไอ" ดร. ฉลองภพกล่าวทิ้งท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us