Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549
ประวัติของ CATHAY PACIFIC เริ่มต้นจากเงินเหรียญเดียว             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
www resources

โฮมเพจ คาเธ่ย์ แปซิฟิคแอร์เวย์

   
search resources

Aviation
คาเธ่ย์ แปซิฟิค แอร์เวย์, บจก.




CATHAY PACIFIC Airline หรือ CX หรือ CPA เกิดที่ฮ่องกง เมื่อ 24 กันยายน 1946 มีฮ่องกงเป็น Hub ใหญ่ และ secondary hub อยู่ที่สนามบิน Taiwan Taoyuan International Airport ถือเป็น Flag carrier ของฮ่องกงที่มีบริการระดับห้าดาว โดยเส้นทางบินมีจุดหมายปลายทางทั่วโลก 102 แห่ง

ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Swire Group (Swire Pacific) โดยมีผู้บริหารระดับสูงคือ Phillip Chen เป็น CEO และ Christopher Dale Pratt เป็น Chairman

ใครจะเชื่อว่าเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ณ นครเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งนักบินประจำการชาวอเมริกัน Roy Farrell และนักบินชาวออสเตรเลีย Sydney de Kantzow ร่วมกันลงขันคนละ 1 เหรียญสหรัฐ จดทะเบียนตั้งสายการบินนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 24 กันยายน 1946 โดยให้ชื่อว่า "Cathay" ซึ่งเป็นโบราณนามของประเทศจีน และคำว่า "Pacific" เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะสามารถบินวันเดียวข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังสหรัฐอเมริกาได้

ต่อมาในปี 1948 เป็นปีสำคัญที่บริษัท Swire Pacific เข้ามาถือหุ้นใหญ่และจดทะเบียนบริษัท Cathay Pacific Airways ขึ้น และต่อมาอีกสิบปี ได้ซื้อกิจการ Hong Kong Airways ทำให้อัตราเติบโตของบริษัทเป็นเลขสองหลัก และขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศไปญี่ปุ่นแห่งแรก และเมื่อบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 1986 ก็ได้สยายปีกไปเทกโอเวอร์สายการบิน Dragonair และถือหุ้นใหญ่ 60% ในธุรกิจคาร์โก้ Air Hong Kong

แต่พิษจากวิกฤติเศรษฐกิจอาเซียนปี 1997 และการส่งมอบคืนเกาะอังกฤษแก่จีน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็น CITIC ของจีน ซึ่งถือหุ้น 25% ใน CATHAY PACIFIC ขณะที่เจ้าเก่า Swire Group ลดสัดส่วนหุ้นคงเหลือ 44% โดยมีบริษัท CNAC และ CTS ถือร่วมด้วย

ในปี 1998 CATHAY PACIFIC เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง Oneworld alliance และในปี 2004 สายการบินนี้ มีรายได้ 39,065 ล้านเหรียญฮ่องกง และกำไร 4,417 ล้านเหรียญฮ่องกง

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2006 เกิดข้อตกลงระหว่าง CATHAY PACIFIC, Swire Pacific, Air China, CNAC และ CITIC Pacific การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ CATHAY PACIFIC, Dragonair และ Air China

22 สิงหาคม 2006 สายการบิน Dragonair ตกเป็นของ CATHAY PACIFIC ทั้งหมด แต่ยังคงชื่อนี้ไว้เพื่อครอบคลุมตลาดการให้บริการกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มให้ครบถ้วน

ขณะที่ Air China และบริษัทลูก CNAC Ltd. จะถือหุ้น 17.5% ใน CATHAY PACIFIC

ส่วน CATHAY PACIFIC จะเพิ่มการถือหุ้นเป็น 20% หรือสองเท่าใน Air China ขณะที่ CITIC จะลดการถือหุ้นลงเหลือ 17.5% และกลุ่ม Swire จะลดลงเหลือ 40% UNDER THE AGREEMENT สัญญามีอยู่ว่า

1. Dragonair ตกเป็นของ CATHAY PACIFIC ทั้งหมด 82.21% ด้วยเงินทั้งหมด 8.22 ล้านเหรียญ ทำให้มูลค่าหุ้นCATHAY PACIFIC ใหม่อยู่ที่ 13.50 เหรียญ

2. Air China จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นหลักของ CATHAY PACIFIC 10.16% โดยซื้อหุ้นจาก Swire Pacific และ CITIC Pacific ในราคาหุ้นละ 13.5 เหรียญ เมื่อรวมหุ้นของ Air China และบริษัทลูกคือ CNAC ถือหุ้นใน CATHAY PACIFIC รวมกัน 17.5% โดยทั้ง Swire และ CITIC ลดการถือหุ้นลง 40% และ 17.5% ภายใน 12 เดือนโดยขายหุ้นอย่างเปิดเผย

3. CATHAY PACIFIC จะเพิ่มการถือหุ้นใน Air China โดยคาเธ่ย์แปซิฟิกเห็นด้วยที่จะลงทุน 1,179 ล้านหุ้นของ Air China ด้วยมูลค่าหุ้นละ 3.45 เหรียญ ทำให้สัดส่วนถือหุ้นเพิ่มจาก 10% เป็น 20% คิดเป็นเงินลงทุน 4.1 พันล้านเหรียญ

สำหรับรหัสของ CATHAY PACIFIC ในฐานะลูกค้าเอเชียรายใหญ่ของบริษัทผลิตเครื่องบินโบอิ้งคือ เลข 67 เช่นหมายเลขเครื่องบิน Boeing 747-400 สำหรับคาเธ่ย์แปซิฟิก ก็คือ 747-467

ปัจจุบันกองบินของ CATHAY PACIFIC มีเครื่องบินทั้งหมด 101 ลำ และได้สั่งซื้อไปอีก 36 ลำใหม่

เครื่องบินลำแรกของ CATHAY PACIFIC คือ Douglas DC-3 ชื่อ Betsy ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Hong Kong Science Museum และ Nikki ซึ่งสาบสูญไปแต่ได้หาเครื่องคล้ายๆ กับ DC-3 มาแต่งสีให้ใกล้เคียงของเดิมและนำมาตั้งไว้ที่ลานจอดรถนอก fight training centre of Cathay City และเครื่องบิน "Bestsy" ได้กลายเป็นหนึ่งใน magnet ที่ระลึกฉลอง 60 ปีจำหน่าย และในทศวรรษ 1980-1990 CATHAY PACIFIC เป็น largest operator ของ Lockheed Tristar นอกสหรัฐฯ

เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี จึงมีกิจกรรม roadshow ภายใต้ชื่อ "CATHAY PACIFIC 60th Anniversary Skyshow" ซึ่งจะบอกประวัติศาสตร์พัฒนาการสายการบินพาณิชย์ใหญ่ที่สุดของฮ่องกง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us