Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 พฤศจิกายน 2549
นักวิชาการหวั่นซิตี้คอนโดฯล้นตลาดระบุซื้อเกร็งกำไรพุ่ง25%ชี้เตะ30%จุดอันตราย             
 


   
search resources

Real Estate




ซิตี้คอนโดมิเนียมแรงไม่หยุด นักวิชาการหวั่นล้นตลาด ชี้นักเกร็งกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ศูนย์ข้อมูลรับลูกเตือนผู้ประกอบการระวังเหตุแห่ทำตามกัน ด้านนายกอาคารชุดระบุตอนนี้ยังไม่โอเวอร์ซัพพรายแค่เข็มนาฬิกาอยู่ที่เลข 8 เท่านั้นไว้ถึงเลข 10 เมื่อไหร่ค่อยเตือน

นายมานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันซิตี้คอนโดมิเนียมระดับราคา 1-1.5 ล้านบาท มีผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ รายย่อย ต่าง พัฒนาออกสู่ตลาดจำนวนมาก จนทำให้เกรงว่า อาจเกิดสินค้าล้นตลาดหรือโอเวอร์ซัพพลายได้ เนื่องจากพบว่าในปี 2549 มีโครงการระดับราคาดังกล่าวเกิดขึ้นมากกว่า 10,000 ยูนิต

แม้ว่าอัตราการขายของแต่ละโครงการจะอยู่ในภาวะที่ดี บางโครงการขายหมดในเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่เมื่อเข้าไปดูในรายละเอียดแล้ว พบว่ามีการซื้ออยู่ 3 ประเภท คือ ซื้อเพื่ออยู่จริง เชื่อว่ามีไม่เกิน 50% ซื้อเพื่อลงทุน 25-30% และพบว่ามีการซื้อเพื่อเกร็งกำไรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยขณะนี้พบว่ามีประมาณ 25% ซึ่งหากปล่อยให้เกิน 30% อาจจะเข้าข่ายโอเวอร์ซัพพลายได้ จึงอยากให้ผู้ประกอบการระมัดระวังและหาทางป้องกันในเรื่องนี้ให้มาก

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า จากที่ช่วงหลังวิกฤตปี 2540 ไม่มีคอนโดมิเนียมใหม่ออกมาสู่ตลาดเลยนอกจากการพัฒนาอาคารเก่าหรืออาคารสร้างค้าง และเริ่มมีการพัฒนาอีกครั้งในช่วงปี 2546 และในปี 2548-2549 กลับมีสินค้าออกสู่ตลาดจำนวนมาก แต่ยังเชื่อว่าขณะนี้คอนโดมิเนียมยังไม่โอเวอร์ซัพพลาย

ทั้งนี้หากเปรียบตลาดคอนโดมิเนียมเป็นเข็มนาฬิกา และเปรียบจุดพีคสุดเป็นเลข 12 และจุดต่ำสุดเป็นเลข 6 จะพบว่าปัจจุบันภาวะของตลาดคอนโดมิเนียมจะอยู่ที่เลข 8 คืออยู่ในภาวะการเติบโตดี เทียบกับเข็มนาฬิกาแล้วอยู่ที่เลข 8 เท่านั้น และคาดว่าสิ้นปี 2550 ไม่น่าจะเกินเลข 9 ซึ่งเรื่องนี้สมาคมอาคารชุดไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้จับตาดูอยู่ตลอดเวลาและพร้อมส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการระมัดระวัง หากเข็มนาฬิกาไปถึงเลข 10

อย่างไรก็ตาม การที่สมาคมมั่นใจว่ายังไม่เกิดโอเวอร์ซัพพลายนั้นเนื่องจาก ขณะนี้ส่วนแบ่งตลาดของคอนโดมิเนียมในตลาดรวมที่อยู่อาศัยมีเพียง 20% เท่านั้น เมื่อเทียบกับในอดีตก่อนปี 2540 คอนโดมิเนียมมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 30% ดังนั้นตลาดจึงยังไปได้ และคาดว่าในปีหน้าสถานการณ์จะคล้ายกับปี 2549 และตลาดคอนโดมิเนียม จะเป็นซิตี้คอนโดมิเนียมประมาณ 80% ของสินค้าที่จะออกมาทั้งหมด

"ตอนนี้ตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นแต่ไม่สูงมาก และยังสามารถขยายได้อีกมาก หากเทียบกับความต้องการแล้วตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องเตือนให้ระวังโอเวอร์ซัพพราย และตอนนี้สมาคมมีหน้าที่สร้างกระแสตลาดให้คอนโดมิเนียมขายดี แต่หากถึงจุดที่ต้องเตือนว่าเกินเราก็จะบอกทันที แต่ผู้ประกอบการเองควรระวังในเรื่องของการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดในย่านนั้นๆ อีกทั้งต้องตั้งราคาให้เหมาะสมด้วย ซึ่งไม่ใช้ว่าทำซิตี้คอนโดฯออกมาแล้วจะขายได้หมดทุกโครงการหากทำตลาดผิดก็เจ๋งได้เหมือนกัน" นายอธิปกล่าว

ส่วนการซื้อเกร็งกำไรนั้น ปัจจุบันพบว่าผู้ที่ซื้อไปนั้นส่วนใหญ่อยู่จริงประมาณ 60-70% อีกประมาณ 20% ซื้อเพื่อการลงทุน ส่วนการเก็งกำไรอยู่ที่ 10-20% อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันเรื่องนี้ทางผู้ประกอบการก็ได้มีการระบุในสัญญาห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือจนกว่าจะโอน หรือหากจะเปลี่ยนมือจะต้องเป็นญาติกันเท่านั้น และได้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนชื่อในสัญญาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่จะเก็บเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งช่วยได้ในระดับหนึ่ง

นายสัมมา คีตะสิน รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ กล่าวว่า ในปีหน้าอยากให้ผู้ประกอบการระมัดระวังเรื่องการลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมให้มากขึ้น เนื่องจากพบว่าผู้ประกอบการส่วนมากมีแนวโน้มที่จะพัฒนาสินค้าที่เหมือน ๆ กันหรือทำตามกัน ดังนั้นการพัฒนาโครงการจะต้องสร้างความแตกต่างรวมถึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการโอเวอร์ซัพพลาย

"คอนโดที่เหมาะสมที่จะเกิดในแนวรถไฟฟ้า ทั้งที่มีอยู่แล้วและแนวรถไฟฟ้าใหม่นั้นควรจะอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1 กิโลเมตรหรือที่เหมาะสมที่สุดคือห่างจากสถานีรถไฟฟ้าประมาณ 500-700 เมตร" นายสัมมากล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us