Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2536
"TAX HAVENS"             
โดย ปฏิภาณ คำเงิน สมิทธ์ โชติอุดมพันธ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเอเชีย

   
search resources

ธนาคารเอเชีย, บมจ.
มนทิพา รัศมีมงคล
Financing




การไหลเวียนของกระแสเงินในโลกธุรกิจ ปัจจุบันมีขอบเขตขยายออกไปอย่างกว้างขวางตามการพัฒนาของระบบการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ จากแหล่งเงินทุน ณ มุมโลกหนึ่งไปยังจุดอื่นๆ ของโลกเงินตราเดินทางไปอย่างสะดวกรวดเร็วแทบจะในพริบตาเดียว ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินลงทุนจากบริษัทแม่ไปยังบริษัทลูกในต่างประเทศ หรือการโอนเงินกำไรจากบริษัทลูกมาบริษัทแม่ การออกตราสารทางการเงินเพื่อระดมเงินทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามแม้ว่าการไหลเวียนของกระแสเงินทุนระหว่างประเทศจะรื่นไหลมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่ทำให้ต้องสะดุดทางเดินอยู่บ้าง นั่นก็คือเรื่องของภาษี

ภาษีทำให้ต้นทุนการโอนเงินระหว่างประเทศสูงขึ้น จึงมีการค้นคิดหาวิธีที่จะประหยัดรายจ่ายทางภาษีโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายความก้าวหน้าทางด้านวาณิชธนกิจ และสนธิสัญญการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งกิจการที่จะดำเนินการได้จะต้องเป็นกิจการข้ามชาติที่มีการโอนเงินข้ามประเทศเป็นประจำ และมักจะมีรายจ่ายทางด้านภาษีของการโอนเงินเข้า-ออกประเทศค่อนข้างสูง

ทางออกเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านนี้ที่นิยมกันมากก็คือการไปจดทะเบียนตั้งบริษัทในประเทศซึ่งมีลักษณะที่เรียกกันว่า TAX HAVENS

TAX HAVENS หมายถึงสถานที่ซึ่งไม่มีการเก็บภาษีทางตรง เช่น CAYMAN ISLAND หรือมีการเก็บภาษีเฉพาะกิจการที่มีรายได้จากประเทศ และอาจจะเก็บภาษีรายได้ที่มาจากต่างประเทศในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ เช่น HONG KONG, PANAMA หรือ มีการลดภาษีให้กับกิจการบางประเภท เช่น CHANNEL ISLAND, LIECHTENSTEIN

นอกจากนี้ TAX HAVENS ยังมีลักษณะเด่นอื่นๆ อีกเช่น การเปิดให้มีการนำเงินเข้า-ออกได้โดยอิสระ, รักษาความลับของผู้ที่ฝากเงินในธนาคารใน TAX HAVENS, การควบคุมของรัฐบาลที่มีน้อยมาก, การให้สิทธิในการถือครองที่ดินแก่คนต่างชาติ, การที่ผู้ประกอบการไมม่จำเป็นต้องเปิดเผยงบบัญชีหรือรายนามของผู้ถือหุ้น เป็นต้น เมื่อต้นปี 2536 ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ไทยหลายธนาคารได้ขยายเครือข่ายเข้าไปในเกาะเคย์แมน นอกจากธนาคารต่างๆ แล้วยังมีบริษัทอื่นที่ดำเนินการในรูปแบบนี้ เช่น บริษัทบางกอกแลนด์ ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยว่า "บริษัทต่างๆ เหล่านี้ไปเพื่ออะไร และทำไมต้องเคย์แมน?"

เกาะเคย์แมนตั้งอยู่ทางตะวันตกของทะเลแคริเบียนซึ่งอยู่ทางตอนล่างของทวีปอเมริกา ในปี 1992 มีธนาคารกว่า 540 แห่งจาก 40 กว่าประเทศเข้าไปเปิดสาขาและมีบริษัทเข้าไปจดทะเบียนอีกประมาณ 23,000 บริษัท และบริษัทประกันภัยอีกกว่า 400 บริษัท การจดทะเบียนธนาคาร, บริษัท, ทรัสต์ และบริษัทประกัน สะดวกและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะไม่มีการเก็บภาษีจากรายได้, กำไร หรือเงินปันผลเมื่อมีผลกำไร และมีระยะปลอดภาษีเป็นเวลา 15-50 ปีโดยได้รับการรับรองจากรัฐบาล ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธนาคารสนใจที่จะเข้ามาเปิดสาขาใน TAX HAVENS นี้ เนื่องจากว่ามีการควบคุมการหมุนเวียนของเงินตรา, ไม่จำเป็นต้องมีเงินสดสำรอง และอนุญาตให้มีการนำเงินเข้าและออกได้โดยปราศจากข้อจำกัด ประกอบกับไม่มีการจำกัดการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว และมีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ

ปลายปี 1988 ธนาคารใหญ่สุดของโลก 24 ใน 25 แห่ง มีสาขาที่เกาะเคย์แมนและในปลายปี 1987 มีรายงานว่าธนาคารในเกาะมีเงินฝากจากต่างประเทศทั้งสิ้น 250 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจากสถิติของ IMF เกาะเคย์แมนมี FOREIGN LIABILITIES ติดอันดับ 6 และ FOREIGN ASSET อยู่ในอันดับ 7

โดยปกติการเลือกใช้ TAX HAVENS ของบริษัทข้ามชาติจะมีหลักในการเลือก เช่น ข้อตกลงในเรื่องการเก็บภาษีเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะต้องเสียภาษีซ้อน คือแทนที่จะต้องเสียภาษีน้อยลงกลับต้องเสียมากขึ้นเพราะต้องเสียภาษีทั้ง 2 แห่ง

การเลือกที่จะจดทะเบียนบริษัทนั้นก็ต้องพิจารณาอีกว่าควรจะเป็น ณ ที่ใดระหว่างดินแดนที่ไม่ต้องเสียภาษีเลยกับดินแดนที่เสียภาษีในอัตราที่ต่ำ เพราะเมื่อนำเงินกลับเข้าประเทศแล้วอาจจะส่งผลกระทบต่างกัน คือบางบริษัทเลือกที่จะไปจดทะเบียนในดินแดนที่เสียภาษีในอัตราที่ต่ำ เมื่อนำเงินกลับสู่ประเทศจะไม่ต้องเสียภาษีอีกหรือเสียในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ

ในขณะที่การไม่ต้องเสียภาษีเลยในประเทศที่ทำให้เกิดรายได้ เมื่อนำเงินกลับเข้าสู่ประเทศอาจจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า หรืออาจจะเลือกจดทะเบียนในประเทศที่มีสนธิสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ นอกจากบริษัทลูกจะได้ลดภาษีหรือยกเว้นภาษี (ในกรณีที่บริษัทลูกตั้งอยู่ใน TAX HAVENS) แล้วอาจจะไม่ต้องเสียภาษีเวลาส่งผลกำไรมาให้บริษัทแม่ หรือเสียในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความสะดวกในการติดต่อ, ความมั่นคงทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ, การรับประกันถึงอัตราภาษีในอนาคต, การรักษาความลับของผู้ประกอบการใน TAX HAVENS เป็นต้น

จากในรูป บริษัท P ตั้งอยู่ในประเทศ C ได้รับรายได้จากบริษัทลูกคือ บริษัท R ในประเทศ D แต่เนื่องจากไม่มีข้อตกลงทางด้านภาษีระหว่างประเทศ C และ D สมมติให้ประเทศ D เก็บภาษีเป็นจำนวน 25% และประเทศ C เก็บภาษีเป็นจำนวน 25% ดังนั้นจำนวนภาษีโดยรวมเป็น 43.75% เพื่อเลี่ยงภาษีนี้ บริษัท P ได้ตั้งบริษัท S ใน TAX HAVENS ประเทศ E ซึ่งมีสนธิสัญญาภาษีซ้อนทั้งกับประเทศ C และ D ภายใต้ข้อตกลงนี้ บริษัท S จะได้รับการยกเว้นภาษีจากประเทศ D บริษัท S เพียงต้องเสียเงินจำนวน 5% เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมแก่ประเทศ E จากนั้นก็โอนไปให้บริษัท P ในรูปของเงินปันผล แต่เนื่องจากสนธิสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศ C-E ทำให้ได้รับการยกเว้นภาษีเช่นกัน ดังนั้นจำนวนเงินที่จะต้องเสียทั้งหมดจะต่ำกว่า 10% ซึ่งเห็นได้ว่าลดลงเป็นจำนวนมาก

สนทนานักลงทุน

มนทิพา รัศมีมงคล ผู้จัดการสำนักบริหารการเงินธนาคารเอเชีย

ทำไมถึงเลือกเปิดสาขาที่ CAYMAN

มีหลายแห่งที่ให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีคล้ายกับ CAYMAN แต่จะมีกฎเกณฑ์ต่างกันเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งในที่สุดเราก็ได้ข้อสรุปว่าที่ CAYMAN นี้จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดไม่มีเรื่องปลีกย่อย เงื่อนไขน้อยมาก ภาษีไม่มีเลย ไม่จำเป็นต้องรายงานกิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ทำไป
ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยากหรือไม่

ไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์อะไร หากทางการไทยและทางนั้นอนุมัติก็เรียบร้อย แต่กว่าจะขอได้ก็ใช้เวลากว่า 6-7 เดือน โดยจะใช้ธนาคารต่างชาติที่ CAYMAN เป็นคนดำเนินเรื่องคือ NOVA SCOTIA ของแคนาดาเป็น TRUSTEE เดินเรื่องให้

วัตถุประสงค์ของการไปตั้งสาขาใน CAYMAN ISLAND

เราต้องการที่จะมีสาขาต่างประเทศเพื่อการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ทำได้สะดวกขึ้น และสิทธิประโยชน์อีกอันหนึ่งคือเรื่องของภาษี

สมมุติว่าเรากู้เงินตราต่างประเทศโดยตรงจากไทย อัตราดอกเบี้ย 4% เขาคิดกำไร 1% เป็น 5% เมื่อเรานำเงินเข้าประเทศจะเสียภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศ 15% เราก็ต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีก .75% แต่ถ้าหากเรามีสาขาอยู่ใน CAYMAN และใช้สาขา CAYMAN เป็นผู้ BOOK คือยังกู้ในนามของธนาคารเอเชีย สาขา CAYMAN แล้วส่งกลับมาในรูปของเงินโอนระหว่างสาขาเราจะไม่เสียภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ ต้นทุนเราก็จะตกประมาณ 5%

มีโครงการที่จะออกตราสารทางการเงินที่ CAYMAN หรือไม่

เรากำลังจะออก FRCB, FRN มีโครงการจะออกโดยใช้สาขา CAYMAN เป็นผู้ออก ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ากว่าการออกในประเทศไทย

คิดว่าการใช้ BEBF จะทำให้ความจำเป็นของ CAYMAN ลดลงหรือไม่

ถ้าหากยังมีภาษีดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ การออกไปตั้งสาขาที่ CAYMAN ก็ยังคงมีความจำเป็นแต่ถ้าหากภาษีนี้ถูกยกเลิกไป ความจำเป็นของ CAYMAN ก็ลดลง เหมือนกับธนาคารใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพหรือกสิกร เขากู้ไม่เสียภาษีโดยผ่านสาขาในนิวยอร์ค ทำให้ต้นทุนเขาถูก หากเรากู้แล้วต้องเสียภาษีก็เสียเปรียบเขา ถ้าหากโอนเงินจาก CAYMAN มาไทยก็ไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะถือว่าเหมือนกับเงินโอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us