|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ไอเอ็นจีประกันชีวิต" ยืนกรานช่องทาง "ตัวแทน" เดินมาถูกทาง แต่ยังเปิดโอกาสเจรจา "พาร์ทเนอร์" แบงก์ขยายช่องทางขายใหม่ ยอมรับเดินหน้า "เพิ่มทุน" ตามสเต็ป ก่อนถึง "จุดคุ้มทุน" ในปี 2553 หรือปี 2010 ตามแผน หลังกระโดดเข้ามาตลาดมาแล้ว 8 ปี แต่ผลประกอบการยังขาดทุนสะสม ขณะที่บริษัทแม่เนเธอร์แลนด์ เติมเงิน "รีแบรนดิ้ง" ผ่านสนามแข่ง "ฟอร์มูล่า วัน" สร้างภาพลักษณ์ ก่อนปูพรมขยายตลาดคลุมทุกพื้นที่...
ไอเอ็นจีประกันชีวิต เป็นหนึ่งในธุรกิจประกันชีวิตหน้าใหม่ในช่วง 8 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ยังยืนยัน "จุดแข็ง" จากช่องทางขาย "ตัวแทน" ในขณะที่คู่แข่งรายอื่นต่างก็หันไปบุกเบิกช่องทางขายหลากหลายกันอย่างเอิกเกริก แต่ไอเอ็นจีฯก็ยังเชื่อว่า ช่องทางตัวแทน คือ การเดินทัพมาถูกทาง
การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดอีก 500 ล้านบาท ตามแผนที่คาดจะเพิ่มทุนเป็นลำดับขั้นตอนก็แสดงให้เห็นถึงการเร่งขยายกิจการ โดยเฉพาะสาขา และรีครูต ตัวแทนใหม่อย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตัวในตลาดมานาน 8 ปีแล้ว
" แผนเพิ่มทุนจะมีตามขั้นตอนปีละ 500 ล้านบาท ไปจนถึงปี 2010 ถึงปีนั้นก็เชื่อว่าจะถึงจุดคุ้มทุนตามแผนที่วางไว้ ดังนั้นผลประกอบการขาดทุนสะสมก็จะยังมีอยู่"
จิม บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอเอ็นจีประกันชีวิต ยังเชื่อว่า การเพิ่มอัตราเติบโต จำเป็นต้องเติมเงินเข้ามา ยิ่งถ้าต้องเติบโตแบบก้าวกระโดดก็ยิ่งก็เพิ่มทุนมากขึ้น แต่การเพิ่มทุนทุกครั้งก็ยังเป็นไปตามแผนตั้งแต่แรก
ไอเอ็นจีฯ ยังคงเชื่อว่า "ตัวแทนขาย" คือ ช่องทางสร้างรายได้หลัก ที่ผ่านมาเกือบ 100% เบี้ยเกือบทั้งหมดก็จะไหลเข้ามาทางช่องทางนี้ อย่างไรก็ตามไอเอ็นจีฯก็ยังไม่ปิดโอกาสช่องทางอื่น โดยเฉพาะ "แบงแอสชัวรันส์" ขายประกันผ่านแบงก์ที่คู่แข่งรายอื่นยึดเป็นช่องทางเสริม
จิม ยอมรับว่า เริ่มคุยกับแบงก์บางแห่งเมื่อ 5 ปีก่อน แต่ก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะร่วมเป็นพันธมิตรกับรายใด ก่อนหน้านี้จึงมีการเจรจาไปเรื่อยๆ
สมโพชน์ เกียรติไกรวัล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และ CAO ไอเอ็นจีประกันชีวิต บอกว่า ถ้ามีโอกาสก็อาจตกลงร่วมเป็นพันธมิตรกัน เพราะแต่ละแบงก์ก็มีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างซับซ้อนแตกต่างกันไป จึงยังสงวนท่าทีกันอยู่ แต่ถึงไม่มีพันธมิตรเป็นแบงก์พาณิชย์ในช่วงนี้ ตัวแทนฝ่ายขายก็ยังคงต้องทำงานต่อไป
" เราเชื่อว่า เรามาถูกทิศ ถึงแม้หลายบริษัทจะมีแบงก์เป็นช่องทางเสริมหนึ่ง แต่ถ้าสังเกตุได้จะพบว่า มีหลายแห่งที่ธุรกิจแบงแอสชัวรันส์เติบโตไปได้ดี ในขณะที่ตัวแทนอ่อนแรงยวบยาบ แต่พอถึงเวลาดอกเบี้ยปรับตัวสูง ที่เคยพึ่งพาช่องทางแบงก์ก็เริ่มติดลบ"
สมโพชน์ ยังเชื่อในแนวทาง "ตัวแทน" เพราะเชื่อว่า หลายบริษัทมองว่าการพัฒนาช่องทางตัวแทนค่อนข้างยุ่งยาก เพื่อให้ง่ายขึ้นก็มักจะหันหน้าไปทางแบงก์ เพราะเบี้ยดีกว่า ขณะที่ช่องทางขายทางโทรศัพท์หรือเทเลมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งบางบริษัทขยายตัวอย่างน่าทึ่ง ก็มองว่ายังทรงตัว ไม่หวือหวา
ผลประกอบการ 10 เดือน ไอเอ็นจีฯ มีเบี้ยประกันรับรวม 2,602 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 43% แบ่งเป็นเบี้ยรับปีแรก 935 ล้านบาท ขยายตัว 46% เบี้ยประกันรับปีต่ออายุ 1,667 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% มีอัตราความยั่งยืนของกรมธรรม์ 85% โดยคาดปลายเดือนพ.ย.2549 จะมีเบี้ยรับรวมรายสามัญปีแรกมากกว่า 1,000 ล้านบาท
โดยเป้าหมายปี 2549 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 3,420 ล้านบาท เป็นเบี้ยรับปีแรก 1,297 ล้านบาท และอีก 2,123 ล้านบาท เป็นเบี้ยปีต่ออายุ
สำหรับ ไอเอ็นจี กรุ๊ป การเปิดตลาดธุรกิจประกันชีวิตในไทยอาจจะเป็น 1 ในสิบกว่ารายที่เป็นหน้าใหม่ แต่ก็ยังให้ความสำคัญเป็น 1 ใน 3 พื้นที่สีเขียวหรือ "กรีนฟิล์ด" ที่ประกอบด้วย จีน อินเดียและไทย ที่มองเห็นอนาคตค่อนข้างสดใส เพราะมีพื้นที่ถือกรมธรรม์ไม่มากนัก
" ดังนั้นในโซนนี้ก็จะมีการคาดหวังการเติบโต และซัพพอร์ตด้านการเงิน อย่างต่อเนื่อง"
ขณะที่ไอเอ็นจี กรุ๊ป มีธุรกิจให้บริการทางการเงินในประเทศไทยเพียง ประกันชีวิต และบริษัทจัดการลงทุน ส่วนแบงก์ยังเป็นลักษณะโฮลด์เซลส์ แต่ไม่มีธุรกิจรีเทล ดังนั้นการทำธุรกิจแบงแอสชัวรันส์ ของไอเอ็นจีประกันชีวิต จึงต้องเจรจาผ่านแบงก์พันธมิตร โดยมีแบงก์ทหารไทยเป็นเป้าหมายหลัก
อย่างไรก็ตาม การประชุม ซีอีโอ ระดับภูมิภาคที่ฮ่องกงเมื่อ 2 เดือนก่อน บริษัทแม่เนเธอร์แลนด์ ก็เลือกจะอัดฉีดเงินสร้างแบรนด์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของไอเอ็นจีมากขึ้นในรูปแบบเดียวกับที่ฮอนด้าทำสำเร็จมาแล้ว นั่นก็คือ การเป็นสปอนเซอร์หลักผ่านการทีมแข่งเรโนลต์ ในสนามแข่ง "ฟอร์มูล่า วัน" ดูเหมือนไอเอ็นจีฯ จะเข้าใจว่าการขยายตลาดผ่านช่องทาง "ตัวแทน" เพียงช่องทางเดียว อาจจะมีรายได้เข้ามาเต็มกระเป๋า แต่ก็ยังไม่เพียงพอจะทำให้ ไอเอ็นจีฯเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
ส่วนหนึ่งก็เพราะตลาดหลักกว่า 70% ยังกระจุกอยู่ในกรุงเทพ ปริมณฑล อีก 30-35% ที่เหลือเป็นต่างจังหวัด ถึงแม้ระยะหลังๆจะเริ่มขยายไปตามหัวเมืองต่างจังหวัดใหญ่ๆหลายแห่ง แต่ก็เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ขณะที่พื้นที่สินค้า ก็เลือกจะเปิดตลาดค่อนข้างระมัดระวัง ไอเอ็นจีประกันชีวิต ยอมหนีห่างจากประกันกลุ่ม เพราะมองว่าเคลมสูง โอกาสต่อสู้ขาดทุนก็มีสูง
" รอให้เขาบาดเจ็บ เราก็ค่อยมาทำตลาดทีหลัง" ดังนั้นการ "รีบแบรนดิ้ง" ในช่วงที่สนามแข่งขันกำลังร้อนแรง จึงทำให้ ไอเอ็นจี ต้อง สร้างภาพลักษณ์ใหม่ ก่อนจะบุกเต็มตัวหลังผ่านช่วงจุดคุ้มทุน นอกจากเป็นสปอนเซอร์หลักในสนามฟอร์มูล่า วัน ก็ยังให้การสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซี เอเชี่ยนคัพ ในปี 2550
การขยายงาน ควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ นอกจากจะบอกได้ถึง ทางเดินที่ค่อนข้างชัดเจนของ "ไอเอ็นจีประกันชีวิต" สิ่งหนึ่งที่ยังกลายเป็นเงาตามตัวอยู่ตลอดเวลาในช่วงก่อร่างสร้างตัว ก็คือ การสะสางผลประกอบการที่ยังติดทำเนียบขาดทุนสะสม จนต้องคอยตอบคำถามไม่รู้จักจบจักสิ้น....
|
|
|
|
|