Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 พฤศจิกายน 2549
อุ๋ยรับรองศก.ไทยไม่ร่อแร่จีดีพีเกิน5%-เน้นลอจิสติกส์ช่วยเอกชน             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics




หม่อมอุ๋ยรับประกันเศรษฐกิจไทยไม่ร่อแร่ เล็งขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีก่อนที่ 5.1% เน้นสนับสนุนภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน พร้อมเจรจาลดอุปสรรคทางการค้า มุ่งพัฒนาระบบขนส่งเพื่อลดต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม พัฒนาทรัพยากรน้ำและแก้ปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืน ตั้ง 3 อนุกรรมการฯ ทำยุทธศาสตร์ แจงปี 50 มีงบฯ แก้ปัญหา 3 หมื่นล้าน

ในงานสัมมนาประจำปี 2549 ของสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “เศรษฐกิจหลังปฏิรูป...ร่อแร่หรือรุ่งเรือง” ที่สหประชาชาติ วานนี้ (23 พ.ย.) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่เศรษฐกิจไทยในอนาคตก็จะไม่มีทางร่อแร่ แต่จะรุ่งเรืองแค่ไหนต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เป็นหน้าที่ของรองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ต้องสร้างความมั่นใจและดูแล

ทั้งนี้ ระยะเวลาการทำงานที่จำกัดเพียง 1 ปี รัฐบาลจะต้องผลักดันให้ภาคเอกชนโดดเด่น รัฐบาลจะมีหน้าที่เพียงการกำกับดูแลให้มีความราบรื่นไม่ควรรับบทบาทนำในระบบเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากสิ่งที่เอกชนทำอยู่แล้ว

"รัฐบาลมีหน้าที่ดำเนินนโยบายการคลังให้ถูกต้องตามระบบเศรษฐกิจเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ รัฐบาลไม่มีหน้าที่ไปยุ่งเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศเพราะเอกชนมีศักยภาพในจุดนี้อยู่แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือการเจรจาเพื่อลดข้อกีดกันและอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ไม่ใช่ไปจี้ให้เอกชนเร่งการลงทุนแต่เร่งสร้างพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไม่ไปทำในสิ่งที่ภาคเอกชนทำได้ดีอยู่แล้ว"

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรระบุว่า เศรษฐกิจในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายเหลือเพียง 4.1% เพราะการชะลอการลงทุนภาคเอกชน ทำให้การบริโภคในประเทศลดลง เป็นผลมาจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การเมืองมีความไม่แน่นอน จึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีก่อนที่ระดับ 5.1% รัฐบาลจึงทำงบประมาณขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2550

นอกจากนี้ รัฐบาลจะพยายามผลักดันให้เริ่มประมูล และสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้ได้ประมาณ 3 สาย ในสมัยรัฐบาลนี้ ส่วน 2 สายที่เหลือก็จะดำเนินการไว้เพื่อให้สามารถเริ่มต้นเดินหน้าได้ภายในรัฐบาลชุดหน้า โดยจะพยายามทำโครงสร้างพื้นฐานขนส่งมวลชนไปยังรอบนอกกรุงเทพฯ ให้โดยเร็วที่สุด ทั้งรังสิต สมุทรปราการ ตลิ่งชัน เพื่อลดความแออัดในเมือง และประหยัดการเดินทางของประชาชนด้วย

พัฒนาลอจิสติกส์ลดต้นทุนผลิต

ด้านภาคขนส่งหรือลอจิสติกส์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า รัฐบาลจะส่งเสริมขนส่งสินค้าทางน้ำและระบบรางมากขึ้น เพื่อลดการใช้น้ำมันและลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เตรียมแผนปรับโครงสร้างระบบลอจิสติกส์ไว้แล้ว โดยปัญหาที่มีอยู่ไม่ใช่แผนที่สศช.มีอยู่ไม่ดี แต่เกิดจากจะทำอย่างไรให้การขนส่งสินค้าทางน้ำและทางรถไฟเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ ท่าเรือ และเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันถือว่ามีเพียงพอแต่มีความนิยมใช้งานน้อย ต้องหาวิธีการที่จะทำอย่างไรให้ให้การขนส่งทั้ง 2 วิธีรวดเร็วและง่ายรวมทั้งมีต้นทุนที่ใกล้เคียงกับการขนส่งด้วยรถบรรทุก โดยแนวคิดในเบื้องต้นจะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการทั้งทางน้ำและทางรถไฟ โดยใช้ท่าเรือและรางรถไฟที่มีอยู่แล้วพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานได้ทันที

“ต้องทำให้การขนส่งทั้ง 2 ระบบมีการขนถ่ายรวดเร็ว โดยทางน้ำจะเชื่อมภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศโดยอาศัยท่าเรือแหลมฉบังที่ชลบุรี และท่าเรือในภาคใต้ 2 แห่งที่สงขลาและสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่นิยมมากขึ้น ส่วนทางรถไฟจะใช้จุดใหญ่ 2 จุดเป็นแหล่งกระจายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งหากสามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพได้แล้วเอกชนก็จะนิยมใช้และการรถไฟแห่งประเทศไทยก็จะขยายไปสู่จุดอื่นเองในอนาคต”

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้จะดูแลภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเต็มที่ โดยจะใช้มาตรการการส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมให้เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี นั้น จะให้มีการแข่งขันและเชื่อมโยงแหล่งเงินกับทางธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ให้มากขึ้น โดยให้สามารถเจรจาเรื่องเงินกู้กับทางศูนย์ส่งเสริมเอสเอ็มอีในแต่ละส่วนได้ เพื่อรองรับการเพิ่มการลงทุนของเอสเอ็มอี เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเต็มที่

เดินหน้าจัดการทรัพยากรน้ำ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรถึงการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศว่า มีปัญหามาตลอดโดยในช่วงฤดูฝนก็เกิดปัญหาน้ำท่วมขณะที่ฤดูแล้งก็มีปัญหาขาดน้ำเกิดขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงต้องเริ่มทำโครงการเพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในอนาคต โดยการจัดหาพื้นที่รองรับน้ำหรือทำเขื่อนขนาดเล็กระหว่างพื้นที่ตอนบนและตอนกลางของประเทศก่อนที่น้ำจะไหลลงสู่ทะเล

“เราจะหาทางดูแลในเรื่องน้ำให้มากขึ้น ให้มีการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ได้มากขึ้น มีการบริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนให้สามารถเก็บกักนำได้ในอัตราส่วนที่สูงก่อนไหลลงสู่ทะเล ซึ่งยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ อาจไม่เสร็จใน 1 ปี แต่ก็จะวางระบบเตรียมพร้อมไว้ก่อน เพื่อให้รัฐบาลใหม่สามารถสานต่อได้ทันที” ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

รัฐฯ ตั้งอนุกรรมการ 3 ชุดลุยน้ำ

วานนี้ (23 พ.ย.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฐ์ รองนายกฯ และรมว.อุตสาหกรรม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2549 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดงาน “งานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติรพะบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีมหามงคล 2550 ที่ทรงพระเจริญพรรษาครบ 80 พรรษา โดยกำหนดให้ดำเนินการจัดงานในเดือนมีนาคม 2550

ที่ประชุมยังเห็นชอบกรอบแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยเฉพาะการบรรเทาอุทกภัยระยะกลางและระยะยาว ประกอบด้วย1.การป้องกันและฟื้นฟูสภาพป่า 2.การอนุรักษ์และฟื้นฟูที่ป่า/แหล่งน้ำ/ทางน้ำ/พื้นที่ชุ่มน้ำ 3.การชะลอน้ำโดยใช้แก้มลิงและอ่างเก็บน้ำ 4.การใช้ประโยชน์ที่ดิน 5.การพยากรณ์เตือนภัย/ประกันความเสี่ยง 6.การป้องกันชุมชนเมือง และ7.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศและ 25 ลุ่มน้ำหลัก

นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้เห็นชอบในหลักการให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 3 ชุด เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการด้านการใช้ที่ดินและการป้องกันน้ำท่วม มอบหมายให้นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช.เป็นประธาน 2.คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และ 25 ลุ่มน้ำหลัก มีนายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานและ 3. คณะอนุกรรมการด้านการเกษตรและชลประทาน นายรุ่งรือง จะเป็นประธาน เพื่อดำเนินตามติ ครม.เมื่อ 7 พ.ย. 49 โดยจะต้องจัดทำแผนแม่บทในกรอบการบรรเทาอุทกภัยระยะกลางและระยะยาวให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2550

“กรอบใหญ่ในการบริหารจัดการน้ำนั้นได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว อย่างน้อยก็จะมี 3 เรื่อง ที่รัฐบาลชุดนี้อยากจะทำจากกรอบใหญ่ โดยตั้งเป็น 3 ชุดนี้ และจะดูว่าจะจัดลำดับความสำคัญอะไรก่อน และเสนอให้ทันปีงบประมาณ 2551 โดยเน้นเรื่องการป้องกันการพังทลายของดิน การปรับระบบการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาวะน้ำ เช่นจะดูว่าการทำนาในภาคกลางจะปรับฤดูกาลอย่างไรหรือปรับพันธุ์พืชอย่างไรให้สู้น้ำให้ได้ เป็นต้น”

นายศิริพงศ์ หังสระพฤกษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า รองนายกฯ เร่งให้ดำเนินการแนวทางการบรรเทาอุทกภัยระยะกลางและระยะยาว สำหรับโครงการเมกกะโปรเจกส์น้ำทั้งระบบที่รัฐบาลชุดที่แล้วเห็นชอบให้ดำเนินการในงบประมาณ 2 แสนล้านบาทในวันนี้ไม่มีการพิจารณา ส่วนที่ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ ขณะนี้รัฐบาลได้ให้นโยบายในการดำเนินการแบบเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีที่จะผันน้ำจากพื้นที่น้ำท่วมไปยังเขื่อนลำตะคอง หรือข้อเสนอของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือให้ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้นจะมีการพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบเพื่อเป็นทางเลือกที่ทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัด โดยบางโครงการอาจจะอยู่ท้าย ๆที่คณะอนุกรรมการจะพิจารณา โดยโครงการเมกะโปรเจกต์ระบบน้ำกระทรวงเกษตรฯจะเป็นผู้พิจารณาทั้งหมด

“ส่วนเรื่องงบประมาณที่ที่ประชุมขอให้ดำเนินการร่างเพื่อดำเนินการในปี 2551 นั้น เชื่อว่าจะดำเนินการได้ทันโดยเราจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน การจะพิจารณาพื้นที่ไหนเพื่อดำเนินการก็จะต้องไปสอบถามประชาชนด้วย ส่วนการบริหารทรัพยากรน้ำทั้งหมด โดยทั่วไปจะมีงบประมาณเพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งในปี 2550 แจกแจงไว้ที่สำนักงบประมาณแล้ว โดยเชื่อว่าจะสามารถบรรเทาปัญหาได้พอสมควร” นายศิริพงศ์กล่าว

เชื่อ"อุ๋ย-โฆสิต"พาศก.ไทยรุ่ง

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่ารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจคือนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จะสามารถแก้ไขปัญหาและทำให้เศรษฐกิจดีกว่าช่วงก่อนมีการยึดอำนาจ

"เศรษฐกิจไทยไม่ร่อแร่แน่ แต่จะให้ถึงกับรุ่งเรืองหรือรุ่งโรจน์เลยก็คงจะไม่ถึงขนาดนั้น แต่ก็ดีกว่าที่ผ่านมาแน่ๆ เพราะรัฐบาลชุดนี้มีข้อจำกัดอยู่หลายเรื่อง ทั้งด้านเวลา แล้วก็ดูจะอ่อนซ้อมอยู่บ้าง แม้จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ก็ต้องใช้เวลาอยู่บ้าง จึงไม่ควรที่เราจะคาดหวังอะไรที่สูงเกินไป"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us