Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 พฤศจิกายน 2549
การบินไทยตั้งเป้ารายได้ปี50 "แตะระดับ2แสนล้านบาท"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
Aviation




การบินไทยตั้งเป้ารายได้ปี 2550 แตะ 2 แสนล้านบาทหลังผลประกอบการปี 2549 ทะลุ 1.78 แสนล้านบาท เพิ่มจากปี ก่อน 9.9 % ประกาศจ่ายปันผล 1.65 บาทต่อหุ้น "ชลิต"เผยการปฎิบัติงานดีเยี่ยม ทั้งการซ่อมบำรุงและการตรงต่อเวลา ทำให้ปี 50 จ่ายเบี้ยประกันลดลง "อภินันท์" ตั้งทีมเจรจาแอร์บัส ต่อรองชดเชยส่ง A380 ล่าช้าแต่ไม่เปลี่ยนรุ่นปรับแผนใช้ในปี 2554 แทน

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (22 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลประกอบปี 2549 (ต.ค.48-ก.ย.49) โดยมีรายได้รวม 178,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548จำนวน 16,119 ล้านบาทหรือ 9.9% มีกำไรก่อนหักภาษี 12,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,916 ล้านบาท หรือ 29.4% มีกำไรสุทธิ 8,992 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,215 ล้านบาท หรือ 32.7% โดยมีกำไรต่อหุ้น 5.29 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.29 บาท ซึ่งจะสามารถจ่ายปันผลได้1.65 บาทต่อหุ้น หรือ คิดเป็นเงินรวม 2,900 ล้านบาท ส่วนปีก่อนบริษัทจ่ายปันผลที่ 1.50 บาทต่อหุ้น ส่วน โบนัสของกรรมการ นั้น ได้อนุมัติเท่ากับปี ก่อน คือ 0.5% ของเงินปันผลรวมหรือประมาณ 14 ล้านบาท ซึ่งบอร์ดจะได้รับคนละประมาณ 933,333 บาท

ทั้งนี้ในปี 2550 บริษัทได้ตั้งเป้ารายได้ไว้ไม่น้อยกว่า 2แสนล้านบาท นอกจากนี้ บอร์ดได้เห็นชอบให้บริษัท ปรับรอบบัญชีใหม่โดยจะเริ่มเป็นวันที่ 1 ม.ค. 2551 เป็นต้นไป จากเดิมที่เริ่ม 1 ต.ค. ของทุกปี และจากการปฎิบัติการที่ดีส่งผลถึงการซ่อมบำรุง ซึ่งสร้างความพึงพอใจกับผู้โดยสารต่างชาติ ซึ่ง ส่งผลให้บริษัท ได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยในปี 2550 ลดลง เหลือ 29 ล้านเหรียญสหรัฐส่วนปี 2549 จ่ายเบี้ย 36 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามในปี 2550 บริษัทเน้นเรื่องการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วยซึ่งจะมีการปรับปรุงการบริหารจัดการพื้นที่ใต้ท้องเครื่องบินโดยสาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าให้เต็ม 100% ในระหว่างที่ยังไม่สามารถเพิ่มเครื่องบินขนส่งสินค้าโดยเฉพาะได้

"ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ประเมินได้จากการปฎิบัติงาน ทุกด้านทั้งด้านการซ่อมบำรุง ด้านความปลอดภัยทางการบิน อัตราการตรงต่อเวลา"

สำหรับปัญหาที่บริษัทแอร์บัสอินดัสตรี้ จำกัด เลื่อนกำหนดส่งมอมเครื่องบิน แอร์บัส รุ่น A380 ออกไปอีก 22 เดือนนั้น พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า เรืออากาศโทอภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กำลังตั้งกรรมการสำรวจผลค่าเสียหาย ที่เกิดจากความล่าช้า เพื่อเจรจาต่อรองกับ แอร์บัส และกรรีนี้ทุกประเภทที่สั่งซื้อเครื่องจากแอร์บัสได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด

เรืออากาศโทอภินันท์กล่าวว่า บริษัทต้องปรับแผนการใช้เครื่องบินแอร์บัส 380 ออกไป เป็นปี 2554 จากกำหนดเดิมคือปี 2552 หรือล่าช้าประมาณ 22 เดือน โดยจะต้องเจรจาเรื่องค่าชดเชยความเสียหาย ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า สิงคโปร์ปอร์ไลน์และแควนตัสได้รับ โดยบริษัทยังไม่ปรับเปลี่ยน รุ่นเครื่องบินเพราะได้กำหนดชัดเจนแล้วว่าจะใช้เครื่องบิน A 380 มาใช้ทำการบินเพื่อเพิ่มความจุที่นั่งเนื่องจากเครื่องบินมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้การได้รับมอบช้าก็ทำให้รายได้เพิ่มช้าลงแต่ในขณะเดียวกันก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย

ส่วนปี 2550 นั้น กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทยกล่าวว่า ต้องการเน้นเรื่องการขนส่งสินค้าหรือ เครื่องบินเฟดเตอร์มากขึ้นเนื่องจากการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย สูงมาก ตลาดจีน โตเกิน 10% แต่ปัญหาคือ ไม่สามารถจัดหาเครื่อง เฟดเตอร์ได้เพราะโปรแกรมการผลิตของผู้ผลิตเต็มไปจนถึงปี2552 ซึ่งการจัดหาเครื่อง เฟดเตอร์ของบริษัทต้องคำนึงถึง แบบเครื่องยนต์ เพื่อให้เป็นแบบเดียวกับที่มีอยู่ในฝูงบินเพื่อให้สามารถใช้นักบินชุดเดียวกันได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายอมรับว่า บริษัทล้มเหลวเรื่องเฟดเตอร์ เพราะใช้วิธีการเช่าทุกอย่างมาดำเนินการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us