Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2536
"ปริญญาตรีภาษาอังกฤษ สินค้าใหม่ตลาดการศึกษา"             
 


   
search resources

ปัทมาวดี ซูซูกิ
Education




หลักสูตรปริญญาตรีภาคภาษาอังกฤษที่เปิดสอนโดยมหาวิทยาลัยของรัฐ กำลังกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการศึกษาที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากผู้ปกครอง ที่มีกำลังซื้อและปรารถนาที่จะสร้างความพร้อมต่อการแข่งขันในอนาคตให้กับบุตรหลานของตน

แม้ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าหลักสูตรปกติในภาคภาษาไทยถึง 15 เท่าตัว แต่ยอดผู้สมัครที่สูงเกินกว่าคาดหมายก็เป็นเครื่องชี้ทิศทางความสำเร็จในอนาตของหลักสูตรประเภทนี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว และทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มหันมาให้ความสนใจ

มองกันในแง่มุมของธุรกิจแล้ว ถือว่านี่คือการขยายโปรดักส์ไลน์ใหม่ ต่อจากหลักสูตรเอ็มบีเอที่มีอยู่ในแทบทุกสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจนกลายเป็นสินค้าโหลๆ ไปแล้ว แถมยังเป็นสินค้าที่สอดคล้องกับยุคสมัยที่ภาษาอังกฤษ และหลักสูตรการศึกษาที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศคือความได้เปรียบในการแข่งขัน

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจหรือเอแบคเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว จนได้รับการยอมรับในความสำเร็จที่วัดจากตำแหน่งหน้าที่การงานของบรรดาศิษย์เก่า

"ความพยายามตลอด 22 ปีที่ผ่านมาน่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความไม่เป็นที่สองรองใครของเราได้เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่า รู้สึกหนาวเหมือนกันที่ได้ยินข่าวการเปิดโครงการแบบเดียวกันของมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้งนี้เพราะเรื่องค่านิยมที่ยึดติดกับความเป็นธรรมศาสตร์หรือจุฬา อย่างไรก็ตามไม่คิดว่าจะมีผลกระทบต่อเอแบคมากนักเพราะผมไม่เคยประมาท" วินธัย โกตระกูล คณบดีคนปัจจุบันของคณะบริหารธุรกิจของเอแบคกล่าว

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐสถาบันแรก ที่เปิดหลักสูตรปริญญาตรีภาษาอังกฤษในนามของวิทยาลัยนานาชาติ แต่ที่เปรียบได้กับคู่แข่งโดยตรงของเอแบคก็คือ หลักสูตรของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือบีบีเอซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2535

แม้ค่าหน่วยกิตจะสูงถึง 1,200 บาทต่อหน่วย หรือประมาณ 280,000 บาทสำหรับเวลา 4 ปี แต่ก็ถูกกว่าการข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนที่ต่างประเทศหลายเท่าตัว ปีแรกของโครงการจึงมีผู้สมัครเกือบ 2,000 คน ในขณะที่รับได้เพียง 80 คนเท่านั้น

ผู้สมัครส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนที่ฟังแค่ชื่อก็พอการันตีถึงความมีฐานะได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเซ็นต์คาเบรียล มาแตร์ฯ หรือสวนกุหลาบ อีกส่วนหนึ่งจะเป็นบุตรหลานชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย

"กว่าร้อยละ 50 เป็นเด็กที่สอบเอ็นทรานซ์ได้แต่สละสิทธิเพื่อมาเรียนในโครงการนี้" กุลภัทรา สิโรดม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโครงการบีบีเอกล่าว

ส่วนปีนี้คาดว่ายอดผู้สมัครจะไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว โดยสามารถรับเพิ่มได้เป็น 90 คน สำหรับการเปิดสอนในสาขาการบัญชี และการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยออสติน แห่งเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

ลักษณะการสอบเข้าที่นี่ แยกเป็นเอกเทศไม่ได้ขึ้นกับทบวง ไม่เพียงเป็นการเพิ่มทางเลือก หรือโอกาสในการศึกษาต่อในมหาวิทยลัยของรัฐเท่านั้นแต่ค่าหน่วยกิตที่ไม่ต้องถูกจำกัดด้วยระเบียบทางราชการเหมือนเช่นหลักสูตรปกติ เป็นแหล่งที่มาของรายได้จำนวนไม่น้อยที่คณะสามารถนำไปใช้จ่ายได้โดยอิสระ เพราะถือว่าเป็นรายได้นอกงบประมาณ

"โครงการนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการหาเงินเข้าคณะเหมือนโครงการ MINI MBA หรือ EX-MBA แต่เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมที่การทำธุรกิจจะต้องมีการติดต่อกันทั่วโลก ภาษาอังกฤษจึงต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นสื่อกลาง" กุลภัทรายังยืนยันถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของโครงการ

และน้องใหม่ล่าสุดที่กระโจนเข้ามาร่วมกับตลาดทางการศึกษาใหม่ในปีนี้ก็คือ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษเป็นปีแรก โดยรับเพียง 70 คน แต่มีผู้สมัครกว่า 700 คน ที่ยินดีจะจ่ายค่าหน่วยกิตหน่วยละ 1,600 บาท

ปัทมาวดี ซูซูกิ ด็อกเตอร์สาวไฟแรงจากประเทศญี่ปุ่นในฐานะรองประธานโครงการของคณะเศรษฐศาสตร์ ไม่ปฏิเสธว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการหารายได้เข้าคณะ แต่นั้นไม่ใช่สาเหตุหลัก "ความพร้อมในด้านบุคลากร ประกอบกับความต้องการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเข้ามีบทบาทอย่างมากในอนาตคต เป็นจุดกำเนิดของแนวคิดในการพัฒนาโครงการ และเงินที่ได้เราก็นำมาใช้ปรับปรุงคณะ ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา"

เมื่อเทียบจำนวนนักศึกษาซึ่งแต่ละโครงการจะรับได้ไม่ถึง 100 คน กับยอดผู้สมัครที่สูงกว่าหลายเท่าตัวแล้ว จากนี้ไปหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะในสาขาบริหารธุรกิจจะเป็นโครงการยอดนิยมสำหรับสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนอย่างแน่นอน เช่นที่หลักสูตรเอ็มบีเอเคยกลายเป็นแฟชั่นในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us