Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2536
"ไทยสงวนฯ หย่าเอ็นอีซี "ทีเอ็น" ยอมแตกเพื่อโต"             
 


   
www resources

เครือไทยสงวนวานิช โฮมเพจ

   
search resources

ไทยสงวนวานิช
เอ็นอีซี คอมมิวนิเคชั่น ซิสเทมส์ (ประเทศไทย)
วิกรม ชัยสินธพ
Commercial and business




"ผมพูดวันนี้เพื่อที่จะอธิบายถึงอีก 5 ปีข้างหน้า" วิกรม ชัยสินธพ ประธานกรรมการเครือไทยสงวนวานิชกล่าวกับ "ผู้จัดการ" เพื่ออธิบายถึงการเลิกสัญญาการขายสินค้าของเอ็นอีซี แล้วหันมาทำตลาดให้กับซีเมนส์แทนท่ามกลางข่าวเกี่ยวกับการแยกกันของ 2 ค่ายดังกล่าวว่าเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร

ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาหลังจากที่เครือไทยสงวน ซึ่งเป็นธุรกิจในครอบครัวของเขาหันมาทำตลาดด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมให้กับเอ็นอีซีตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา นับว่าประสบความสำเร็จมากพอสมควร เพราะเอ็นอีซีสามารถที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในประเทศไทยได้ ในระยะเวลาแค่ 4-5 ปีเท่านั้น

การที่ไทยสงวนและเอ็นอีซีแยกทางกัน จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ…!

เหตุที่วิกรมตัดสินใจหย่าขาดกับเอ็นอีซีนั้น ก็เนื่องมาจากการมองแนวโน้มตลาดต่างกัน นั่นก็คือ ไทยสงวนมองว่าอนาคตของโทรคมนาคมในประเทศนั้นยังมีลู่ทางที่สดใสมากจึงควรจะลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (อาร์ แอนด์ ดี) ให้มาก แต่สำหรับเอ็นอีซีแล้ววงเงินดังกล่าวไม่จำเป็นนัก เพราะตลาดที่เอ็นอีซีครอบครองอยู่ ก็ดูจะเป็นที่น่าพอใจที่มากพอจนไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงขนาดนั้น

เมื่อความเห็นไม่ตรงกัน ไทยสงวนจึงมองว่า พวกเขาควรจะหาผู้ร่วมทุนใหม่ที่กล้าลงทุนในด้านนี้…!

มองไปมองมา ไทยสงวนก็ยอมรับว่าถูกชะตากับซีเมนส์ ยักษ์ด้านอีเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่อันดับ 5 ของโลกและอันดับหนึ่งของยุโรป เพราะสนใจตรงนี้เหมือนกัน

"เขาติดต่อเรามาก่อน" ประธานไทยสงวนวานิชกล่าวพร้อมทั้งย้ำว่า ไทยสงวนกับซีเมนส์นั้นมีความสัมพันธ์กันมานานพอควร นับตั้งแต่การที่ซีเมนส์เข้าเทคโอเวอร์นิกซ์ดอร์ฟเมื่อหลายปีก่อน การเจรจาระหว่างไทยสงวนกับซีเมนส์จึงไม่ยากนัก เพราะเดิมนั้นไทยสงวนกับนิกซ์ดอร์ฟก็มีความสัมพันธ์กันอยู่แล้วในบริษัท ทีเอ็น.นิกซ์ดอร์ฟคอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยสงวน

วิกรมกล่าวว่า การเจรจานั้น ตนมองว่าซีเมนส์มีสินค้าที่จะซัพพอร์ตการเติบโตของตลาดโทรคมนาคมในไทยอีก 5-10 ปีข้างหน้าได้หรือไม่ และมีเงินที่จะลงทุนในด้านอาร์ แอนด์ ดีเท่าใด ปรากฏว่าเงื่อนไขและตัวเลขดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจ "เฉพาะด้านพีเอบีเอ็กซ์ ซีเมนส์มีงบประมาณอาร์ แอนด์ ดีถึงปีละ 500 ล้านมาร์ค"

นอกจากนี้การที่ซีเมนส์ยอมรับว่าตลาดในไทยและอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ นับเป็นจุดที่สร้างความมั่นใจให้กับไทยสงวนมาก เพราะหมายความว่า ซีเมนส์ย่อมจะทุ่มงบประมาณสำหรับเรื่องอาร์ แอนด์ ดีให้มากขึ้นตามไปด้วย

สิ่งสำคัญของการเจรจาสำเร็จถึงขั้นร่วมหอลงโรงกันของทั้งสองบริษัทด้วยการตั้งบริษัทใหม่คือ ที.เอ็น.คอมมูนิเคชั่น ซีสเท็มส์ขึ้นมานั้น วิกรมกล่าวว่า เป็นเพราะการเปิดใจของทั้งสองฝ่ายที่ต้องการที่จะทำตลาดใหญ่ของระบบโทรคมนาคมในอีก 5 ปีข้างหน้าร่วมกัน

วิกรมโต้โผแห่งไทยสงวนวาดฝันตลาดอีก 5-10 ปีข้างหน้าว่า จากตัวเลขในวันนี้ประเทศไทยมีเลขหมายโทรศัพท์อยู่ประมาณ 1.8 ล้านเลขหมาย แต่นโยบายของทางการที่จะเพิ่มอีก 3 ล้านและ 6 ล้านเลขหมายในอนาคต เป็นสิ่งที่ชี้ว่า ตัวเลขความต้องการสินค้าของซีเมนส์ในไทยมีมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นระบบตู้สาขาหรือสินค้าตัวอื่นๆ

"หน้าที่ของทางซีเมนส์ก็คือ นำสินค้าดีมีคุณภาพมาขายให้เรา ขณะที่เราจะทำหน้าที่ด้านตลาดและบริการให้" วิกรมกล่าว

ส่วนเบื้องหลังที่เลือกซีเมนส์มาร่วมทุนนั้น เป็นเพราะเข้าข่ายคุณสมบัติผู้ร่วมทุนที่ไทยสงวนแสวงหา โดยมองใน 5 ประเด็นใหญ่ด้วยกัน คือต้องเป็นบริษัทใหญ่ระดับอินเตอร์ มีสินค้าดีเยี่ยมสามารถประชันในตลาดโลกได้ สนใจที่จะทำตลาดในไทยและอาเซียนและมีเงินที่จะลงทุนในการทำตลาดมากพอ รวมถึงอดทนรอผลในระยะยาวได้

เมื่อคุณสมบัติของซีเมนส์ตรงกับสเป็คที่ไทยสงวนวางไว้บวกกับความเชื่อมั่นในตลาดโทรคมนาคมในไทยที่เขาย้ำว่ากำลังพูดถึงอีก 5 ปีข้างหน้าไม่ใช่แค่ส่วนครองตลาดในตอนนี้ แต่ตัวเลขกำไรที่วิกรมยอมรับว่าหากเขายังคงทำตลาดให้เอ็นอีซี ก็จะมีกำไรปีละกว่า 10 ล้าน ซึ่งก็คือ หากไทยสงวนยังทำตลาดเดิมต่อ สัญญาที่เหลืออีก 3 ปี จะทำกำไรให้บริษัทถึงประมาณ 50 ล้านบาท แต่เพื่อแลกกับอนาคต ไทยสงวนยอมทิ้งเงินจำนวนนี้ไปนับว่ามีความหมายไม่น้อยกับปรากฏการณ์ครั้งนี้

ภาพที่ไทยสงวนยอมหย่าและทิ้งเงินกว่า 50 ล้านบาทเพื่อทำในสิ่งที่เขาบอกว่า กำลังพูดถึงเรื่อง 5 ปีข้างหน้าจึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาไม่น้อยกับการเตรียมสร้างตัวให้เป็นศูนย์โทรคมนาคมแห่งอาเซียน

เรียกว่าเป็นการแตกเพื่อโตอีกครั้งโดยแท้ ..แม้จะอีก 5 ปีภายหน้าก็ตาม..!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us