อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศโดย
มีมูลค่าส่งออกหลายแสนล้านบาท การเติบโตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นผ่านผลประกอบการ
ผลพลอยได้ ที่ตามมาจึงตกอยู่ในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
The Semiconductor Industry Association (SIA) รอยงานยอดขายของอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก
ซึ่งเพิ่มขึ้นมาอยู่ ที่ 205 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2543 เพิ่มขึ้น 37%
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ปี 2544 SIA ประมาณการว่ายอดขายน่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ ที่ 249 พันล้านเหรียญสหรัฐ
หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 22% หากเทียบกับปี 2543 ยอดขาย ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
ประเภทธุรกิจในตลาดโลกโดยรวม ที่เติบโตเร็วที่สุด คือ สินค้าด้านเครือข่ายการสื่อสาร
อาทิ flast memory ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้น 130% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดว่าตลาดอุปกรณ์
microprocessors ส่วนใหญ่ใช้เป็นส่วนประกอบเครื่อง PC จะชะลอตัวลง 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากตลาดประเภทนี้จะอิ่มตัวมากขึ้น
ส่วนทางด้านตลาดที่ใหญ่ที่สุดหนีไม่พ้นอเมริกา ขณะที่ตลาดในเอเชียจะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุด
ขณะนี้มีความต้องการสินค้าจากทุกภูมิภาคของโลกเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอเมริกา และญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาดถึง
2 ใน 3 ของตลาดโลก
เมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ได้รับประโยชน์ทางด้านผลประกอบการ
ที่จะเติบโตขึ้น ที่สำคัญอานิสงค์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงยิ่งส่งผลให้ตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หากพิจารณาผลการดำเนินงานของบริษัทกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ผลการดำเนินงานของบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ต่างปรับตัวดีขึ้น
นอกจากจะชี้ให้เห็นการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมนี้ "ผ่านคำสั่งซื้อ ที่เพิ่มขึ้น"
วราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ นักวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส ไทยทนุบอก และว่า "จนกระทั่งหลายบริษัทมีการใช้อัตรากำลังการผลิตเกือบเต็มที่แล้ว"
อีกทั้ง การควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะภาระทางการเงิน ทำให้ความสามารถการทำกำไรปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก
"อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เริ่มแจ่มใสตั้งแต่กลางปี 1999 และจะยังคงเติบโตต่อไปในอนาคตจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจเอเชีย และการเพิ่มขึ้นของโลกอินเทอร์เน็ต"
ภูมิพัฒน์ สินาเจริญ นักวิเคราะห์ บล.ไอเอ็นจี แบริ่ง (ประเทศไทย) กล่าว
อย่างไรก็ดี ถ้งแม้ว่ามีบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดถึง 7 บริษัท แต่ ที่บรรดานักลงทุน และนักวิเคราะห์นิยมเข้าไปลงทุนมีเพียง
2 บริษัทเท่านั้น คือ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (DELTA) และบมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์
(HANA)
"เดลต้าได้ทำแผนการดำเนินธุรกิจไว้ค่อนข้างเด่นชัด ซึ่งนับตั้งแต่ไตรมาส
1 เป็นต้นมา ปรากฏว่าราคาจอคอมพิวเตอร์ ที่ส่งออกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เขาทำได้ดีมากทางด้านการขยายกำลังการผลิต และการรักษาฐานลูกค้าเอาไว้" พงศ์พันธุ์
อภิญญากุล นักวิเคราะห์ บล.หยวนต้าอธิบาย
ธุรกิจของเดลต้าเกี่ยวพันกับเทคโนโลยี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดรวมไปถึงแรงกดดันในเรื่องของราคาจากการแข่งขัน ที่รุนแรง
"แต่เราเชื่อว่าเดลต้าจะสามารถรักษาการเติบโตของกำไรในระยะ 2 ปีข้างหน้าได้
เนื่องจากความพยายาม ที่จะปรับกลยุทธ์ของธุรกิจมห้สอดคล้องกับการแข่งขัน"
วราภรณ์กล่าว
ผลประกอบการของเดลต้าไตรมาสสามปีนี้ ปรากฏว่าสามารถทำกำไรสุทธิได้ 1.4 พันล้านบาท
เพิ่มขึ้น 56% จากไตรมาส ที่สอง โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 พันล้านบาท
เพิ่มขึ้น 20% จากไตรมาสสอง ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทมียอดขายเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจาก
161 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสองปีนี้
"พวกเขามีกำไรขั้นต้นสูงขึ้นจาก 14.5% ในไตรมาสสองเป็น 17.3% เพราะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมผลิตภัณฑ์ และค่าเงินบาท ที่อ่อนลง"
นักวิเคราะห์จาก บล.เอกธำรง เคจีไอกล่าว
จากค่าเงินบาท ที่อ่อนลงเฉลี่ยอยู่ ที่ 40.82 บาทต่อดอลลาร์ ผู้บริหารเดลต้าเชื่อว่าค่าเงินบาท
ที่อ่อนจะช่วยเพิ่มอัตรากำไรขึ้นต้นได้ประมาณ 1% และจากค่าเงินบาทในไตรมาสสุดท้ายของปี
ที่มีความผันผวนต่ำกว่าไตรมาสสามจะส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นกลับมาอยู่ ที่ระดับ
15-16%
" ที่สำคัญที่สุด คือ การบริหารเงินทุนหมุนเวียนของเดลต้าที่ดี เห็นได้จากมีเงินสดเพิ่มขึ้น
130 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสาม เพิ่มขึ้น 18.18% จากไตรมาสสอง" ภูมิพัฒน์อธิบาย
อย่างไรก็ดี จากผลประการของเดล คอมพิวเตอร์ ที่คาดว่าจะลดลง 20% ในปีหน้า
จะส่งผลกระทบต่อเดลต้าพอสมควร เนื่องจากเดล เป็นลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งของบริษัท
ซึ่ง 9 เดือนที่ผ่านมาเดลต้ามีรายได้ประมาณ 5-10% ของรายได้ทั้งหมดมาจากเดล
"เราคาดว่าปีหน้า และปีถัดไปเดลต้าจะมีกำไรลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยอดขายจะเพิ่มขึ้น"
ภูมิพัฒน์คาดการณ์
ทางด้านฮานา หลังจาก ที่ฮานานำบริษัทฮานา เทคโนโลยีในฮ่องกงผนวกกิจการกับแอดวานซ์
ไมโครโทรนิคส์ เทคโนโลยีในอเมริกา ซึ่งเป็นกิจการในเครือของบริดจ์ แคปปิตอลเมื่อปีที่ผ่านมา
ทำให้ไม่สามารถรับรู้รายได้จากฮานา เทคโนโลยี ที่เดิมมีสัดส่วนประมาณ 50%
ของรายได้ทั้งกลุ่ม โดยจะรับรู้ 43% ของแอดวานซ์ อินเตอร์คอนเน็ค เทคโนโยลี
(AIT) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับผู้ผลิตชิปแห่งอินโดนีเซียแทน
เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของฮานามากนัก เพราะกำลังการผลิตในประเทศไทยมีการใช้อัตรากำลังการผลิตที่ดีขึ้นกว่าจุดคุ้มทุน และคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก
ไตรมาสสาม ที่ผ่านมา AIT มีกำไร 132 ล้านบาท และ 435 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้
จำนวนดังกล่าวคิดเป็น 7.7% ของยอดขายรวม และคิดเป็น 30% ของกำไรสุทธิ
"คาดว่าฮานาจะมีรายได้จาก AIT หากพวกเขาตัดสินใจนำบริษัทย่อยแห่งนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดแนสแดคหรือตลาดหุ้นสิงคโปร์"
นักวิเคราะห์จากบล.เอกธำรง เคจีไอบอก
สำหรับผลประกอบการไตรมาสสาม ที่ผ่านมา ฮานาทำกำไรได้ 516 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน
40% และเพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับไตรมาสปีเดียวกัน
ด้านอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ ที่ 25.5% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 24.9% ในไตรมาสสองปีนี้
จากการอ่อนค่าลงของเงินบาท "เราคาดว่าปีนี้อัตรากำไรขั้นต้นของฮานาจะอยู่ ที่
25%" นักวิเคราะห์จากบล.เอกธำรง เคจีไอกล่าว