|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสิ้นปีนี้คาดโต 9% เผยน้ำท่วมส่งผลดีทำให้ตลาดต้องการมากขึ้น ชี้แนวโน้มปีหน้า ผู้ประกอบการไม่เน้นการออกรสชาติใหม่มากนัก เหตุต้นทุนผลิตสูง ค่าแรกเข้าโมเดิร์นเทรดก็แพง หันมาเน้นตัวเก่าเป็นหลัก ส่งผลให้ตลาดรวมปีหน้าคาดว่าจะเติบโตเพียง 7% เท่านั้น ด้านค่ายไวไวทิ้งท้ายปี ออกรสชาติใหม่ สาหร่ายญี่ปุ่น ทุ่มงบตลาด 35 ล้านบาท หวังดันแชร์รวมเพิ่มอีก 2%
นายสุชัย ตันติยาสวัสดิกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา “ไวไว” กล่าวว่า ตลาดรวมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยปีนี้คาดว่าจะมีถึง 10,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 9% (ส่วนตัวเลขของเอซีนีลเส็นจะมีประมาณ 7-8,000 ล้านบาทเพราะรวมเฉพาะช่องทางร้านค้าปลีก ) โดยช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาตลาดเติบโต 8% ขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรกนั้นตลาดรวมเติบโตเพียง 5% เท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้ช่วงครึ่งปีหลังตลาดรวมโตขึ้นกว่าช่วงครึ่งปีแรกเนื่องจากว่า สินค้านี้หน้าขายจะอยู่ช่วงครึ่งปีหลัง อีกทั้งเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมาเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ในหลายจังหวัด ส่งผลให้ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษด้วย
อย่างไรก็ตามในปีหน้าคาดว่าตลาดรวมจะเติบโตเพียง 7% เท่านั้น ต่ำกว่าปีนี้ เนื่องจากว่า แนวโน้มการแข่งขันในปีหน้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นกับรสชาติเดิมๆเป็นหลัก การออกรสชาติใหม่ๆนั้นจะน้อยลง ทำให้แรงจูงใจของตลาดลดลงด้วย เนื่องจากว่าต้นทุนสูง และอายุสินค้าก็สั้น เมื่อพัฒนาสินค้าใหม่ๆออกมาจะไม่คุ้มค่าเท่าใด หากรสชาตินั้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างจริงจัง อีกทั้งเมื่อนำสินค้าใหม่เข้าช่องทางโมเดิร์นเทรดก็ต้องเสียค่าแรกเข้าที่สูงอีกด้วย ซึ่งสังเกตได้ว่าปีนี้ ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มที่จะปรับตัว โดยไม่ได้มีการออกรสชาติใหม่ออกมาเลย มีแต่เพียงการรีลอนช์เป็นหลักเท่านั้น
ขณะที่ไวไวเองยังมีรสชาติใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมั่นใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาเป็นอย่างดี โดยช่วงกลางปีออกควิกรสกุ้งนึ่งมะนาว และล่าสุดออก ไวไวรสสาหร่ายญี่ปุ่น ส่วนปีหน้านั้นก็จะพิจารณาดูจากสภาพตลาดและการแข่งขันก่อน
ปัจจุบันผู้นำตลาดยังคงเป็น มาม่า ครองส่วนแบ่งกว่า 50% จากตัวเลขรอบล่าสุดเดือนตุลาคมของเอซีนีลเส็น อันดับที่สองคือ ไวไว มีแชร์ 28% และยำยำมีแชร์ 20%
โดยในส่วนของบริษัทฯหากแยกออกเป็น 2 แบรนด์คือ ไวไว เมื่อช่วงต้นปีมีส่วนแบ่ง 20% แต่ขณะนี้เหลือ 19% เพราะยังไม่มีรสชาติใหม่ คาดว่าหลังจากออกรสชาติใหม่แล้วใน 3 เดือนแรกจะมีแชร์เพิ่มขึ้นอีก 2% ส่วนแบรนด์ควิกนั้น เมื่อช่วงต้นปีมีแชร์ 7% แต่หลังจากที่ออกรสชาติใหม่มีแชร์เพิ่มเป็น 9% ตั้งเป้าว่าสิ้นปีนี้ควิกจะมีแชร์ประมาณ 10%
สำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มหลักตามรสชาติได้ดังนี้กลุ่มบะหมี่รสชาติต้มยำ มีสัดส่วนการบริโภคอยู่ที่ 45.7% กลุ่มบะหมี่รสจัดที่ไม่ใช่รสต้มยำ มีสัดส่วนอยู่ที่ 9.3% ซึ่งสองกลุ่มแรกนี้มีแชร์รวม 55% จากตลาดรวมกว่า 10,0000 ล้านาท กลุ่มบะหมี่รสหมูสับ มีสัดส่วนตลาด 24.6% กลุ่มบะหมี่รสจืดที่ไม่ใช่รสหมูสับ มีสัดส่วน 19.9% ซึ่งทั้งสองกลุ่มหลังนี้มีส่วนแบ่งตลาดรวม 44.5% กลุ่มบะหมี่รสชาติต่างประเทศ มีสัดส่วน 0.5% ซึ่งตลาดที่เติบโตสูงที่สุดก็ยังคงเป็นรสชาติต้มยำ โดยรสต้มยำกุ้ง มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 38% และรสต้มยำหมูสับมีส่วนแบ่งตลาด 8% จากตลาดรสชาติต้มยำที่มี 55% จากตลาดรวม
ทั้งนี้รสชาติที่เติบโตมากที่สุดยังคงเป็นรสจัดคือ ต้มยำกุ้ง 10% ส่วนรสจืดเติบโต 7% ขณะที่รสชาติต่างประเทศนั้น เติบโตติดลบ 30%
ล่าสุดบริษัทฯได้ออกรสสาหร่ายญี่ปุ่น ที่ไม่ใส่ โมโนโซเดียม กูลตามเมท และมีเนื้อสาหร่ายแท้ในซอง วางตลาดเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยในช่วง 3 เดือนแรกนี้ตั้งงบการตลาดไว้ที่ 35 ล้านบาท แบ่งเป็น การใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ 80% เน้นทีวี วิทยุ สื่อรถเคลื่อนที่บัสบอดี้ และจัดกิจกรรมอีเวนท์ต่างๆ 20% เช่นการแจกสินค้าตัวอย่าง การทดลองชิม จำนวน 1 ล้านชิ้นผ่านบูธตามค้าปลีกต่างๆ และโรงเรียนกว่า 500 จุดทั่วประเทศ คาดหวังว่าในช่วง 3 เดือนแรกที่วางตลาดนี้จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งให้กับไวไวได้ 2% และผลักดันให้ไวไวมีส่วนแบ่งในตลาดรวมปีนี้ประมาณ 30-31% (รวมทั้งไวไวและควิกด้วย) จากมูลค่าตลาดกว่า 10,000 ล้านบาท พร้อมกับรายได้ของบริษัทฯประมาณ 3,100 ล้านบาท
|
|
 |
|
|