Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2537
สมองไหลกลับ…เพื่อชาติหรือเพื่อเงิน             
 


   
search resources

ธวัช วิรัชติพงศ์
วราพัฒน์ นภาพร
วิโรจน์ ตันตราภรณ์
ชวาล นิวาตพงศ์
เชียรช่วง กัลยาณมิตร




นับแต่ 2533 เป็นต้นมา เมืองไทย ก้าวตามโลกเข้าสู่ยุคสาระสนเทศ งานส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่บ้านเรายังไม่เคยมีมาก่อนเป็นแทบทั้งสิ้น แรงงานไทยในต่างแดนที่เคยอยู่กับเทคโนโลยีเหล่านี้คือสิ่งที่บ้านเราต้องการมากที่สุด เพื่อร่นระยะระยะการฝึกอบรมคนในประเทศและเพื่อก้าวทัน เทคโนโลยีที่เกิดขึ้น " สมองไหลกลับ" จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่นั้นมา แต่จนเดี๋ยวนี้ ก็ยังมีการพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่ 4 ปี ที่ผ่านมา คนที่กลับมาแล้วยังอยู่ดีหรือไฉน จะกลับไปอีกหรือไม่ เขาเหล่านั้นกลับมาเพื่อชาติหรือเพื่อเงิน และในอนาคตเราจะต้องพูดถึงเรื่องสมองไหลกลับกันไปอีกนานแค่ไหน

บ้านเรามีผู้ซึ่งไปเรียนและทำงานในต่างแดนมากมาย หลายคนอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญระดับสูง บางคนมีผลงานมากมาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศแล้ว บางส่วนอยู่นานกระทั่งกลายเป็นพลเมืองของประเทศเหล่านั้นไปเลย และมีอีกหลายคนที่กลับเข้าทำงานในบริษัทเอกชนและในหน่วยงานของรัฐบาล

เหตุผลหนึ่งที่พวกเขากลับมาเพราะคิดว่าสามารถของตนเองมีมากพอถึงระดับหนึ่งแล้วที่จะกลับมาทำงานในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีซึ่งเมืองไทยยังเป็นผู้บริโภคจากต่างประเทศอยู่ เหล่านี้จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ของเขามาประยุกต์และพัฒนา

เราเรียกพวกเขาเหล่านี้ว่า " สมองไหลกลับ" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า " อาร์ดีบี" ( Reversed brain drin=RBD) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ต่างประเทศ กันยาวนานมากว่า 20 ปี

ปี 2534 เป็นครั้งแรก ที่มีการพูดถึงเรื่อกงการดึงอาร์บีดี หรือคนไทยที่ทำงานอยู่ในต่างแดนเป็นเวลานาน มีการจัดประชุมทำอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม โดยการริเริ่มของมูลนิธิดำรง ลัทธพิพัฒน์ ความสำเร็จในครั้งนั้นคือการที่ได้นักวิทยาศาสตร์จำนวน 19 ท่านที่อยู่ในอเมริกา - แคนาดา เข้ามาพูดคุยหาแนวทางสร้างความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับคนไทยในประเทศ จนเกิดการตั้งวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (Associationof professionals in americaland Canada =ATPAC) เพื่อรวมกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ไทยในต่างแดน กลับเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศไทยเป็นเวลาต่อมา

ขณะนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจอเมริกามีสภาพถดถอย ทำให้หลายบริษัทต้องปลดคนงานออก เพราะไม่มีตลาดจะมารองรับผลการผลิตที่ออกไป ซึ่งตามกฎหมายในอเมริกา ต้องปลดคนงานที่เป็นช่างต่างประเทศก่อน ทำให้คนไทยที่นั่นต้องเริ่มหางานใหม่ ซึ่งก็มีส่วนน้อยมาก เพราะคนไทยที่อยู่ล้วนเป็นระดับมันสมองแทบทั้งสิ้น และแม้ว่าจะไม่ได้ถูกปลดออกจากงานคนไทยหลายคนก็เริ่มคิดอยากกลับมายังแผ่นดินแม่

ธวัชวิรัชติพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสบการณ์อันโชกโชนในการเป็นหัวหน้าหน่วยวงานในการออกแบบจานรับสัญญานจากยานอวกาศ ซึ่งโคจรอยู่ในอวกาศ และโครงการ international earth observation system ( IEOS) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจพื้นโลกที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการสำรวจดาวเทียม เคยได้รับรางวัลจาก NASA และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอเมริกา มาไม่น้อย คือผู้หนึ่งที่ไหลเข้าทำงานในเมืองเทไย ได้พูดถึงเหตุที่คนไทยได้รับการยอมรับจากต่างชาติว่า

" เนื่องจากคนไทยมักได้รับการดูถูกจากคนอเมริกันเสมอ เราต้องทำงานกว่า 18 ชั่วโมง ซึ่งฝรั่งไม่ทำอย่างนี้ เสาร์อาทิตย์ ก็ทำเพื่อให้เขาเห็นว่าทำงานเกินกว่าคุณสมบัติที่เขาต้องการ คนที่เราไม่รู้จัก เราต้องให้เขายอมรับ โดยการทำงานให้ดีที่สุด ให้ได้ผลงานเกินกว่าที่เขาคาดไว้ หลังจากที่เขายอมรับแล้วเราจึงสามารถทำตัวสบาย ๆ ได้แล้ว ก็ทำอะไรที่เราต้องการจริง ๆ ผมทำอยู่หลายโครงการในระดับบริหาร การได้อยู่ในแหล่งวิทยาการสมัยใหม่ซึ่งว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับเมืองไทย โดยเฉพาะขณะนี้เริ่มมีการพูดถึงเทคโนโลยีหลายอย่างในเมืองไทย ผมก็เลยกลับมาเพื่อช่วยพัฒนาในเรื่องที่เรามีประสบการณ์เป้นอบย่างดีมาแล้ว"

พอครั้งที่ 2, 3 ในปี 2535 และ 2536 ความสนใจของคนไทยในต่างแดนเริ่มมีมากขึ้น มีการตั้งสมาคมนักวิชาชีพไทยในญี่ปุ่น ( ATPIJ) และ ในยุโรป ( Atper) จนเป็นสิ่งที่น่ายินดีว่า นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในต่างแดน จำนวนหนึ่ง มีแผนการที่จะอยู่ต่อหลังจากพุดคุยกันแล้ว และมีหลายคน ที่กลับเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถาวร ซึ่งการประชุมสองครั้งหลังนี้ สภาอุตสาหกรรมรวมถึงภาคเอกชนให้ความสนใจเข้ามาร่มประชุม และให้การสนับสนุนการเงินหลายแห่ง เช่น เครือเจริญโดดภคภัณฑ์ ( ซีพี) พรีเมียร์ ชินวัตร, ล็อกเล่ย์ และโตโยต้ามอเตอร์ เป้นต้น สำหรับภาครัฐบาลนั้น ไดรับความสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และทบวงมหาวิทยาลัย

โดยก่อนหน้านี้ ประเด็นทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมเลย แต่เมื่อความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารการโทรคมนาคม วงการคอมพิวเตอร์ เมืองไทยรุดหน้าอย่างรวดเร็วนี้มากมาย แต่เนื่องจากเป็นเรื่องเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะดึงบุคลากรที่มีประสบการณ์เคยทำงานกับบริษัทชั้นนำ หรือบริษัทที่เราซื่อเทคโนโลยีเขามาใช้จากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศ ผสมผสานร่วมกับมันสมองทีมีอยู่แล้วในประเทศ

เพราะหากรอให้บุคลากรพัฒนาไปพร้อมเทคโนโลยีที่ไหลเข้ามา หรอพร้อมกับระบบการศึกษาที่ไม่เคยเท่าทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาที่ว่าการพัฒนาไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ นอกจากวิธีอื่น ๆ แล้ว การชักชวนแรงงานระดับมันสมองให้ไหลกลับน่าจะเป็นสิ่งที่สมควรสนับสนุนและกระทำได้ไม่ยากและใช้เวลาเร็วที่สุด

ปัจจุบันภาคเอกชนโดยเฉพาะในธุรกิจเทคโนโลยนีการสื่อสารโทรคมนาคมมีความแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ละบริษัทสามารถเสนออัตราเงินเดือน ที่พอจะดึงดูดสมองให้ไหลกลับมาได้ แม้จะไม่มากเท่าที่เดิมรวมไปถึงหน่วยงานของรัฐที่ปรับปรุงระบบการทำงานเหมือนเอกชนอาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( เนคเทค) หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช) ก็สามารถดึงดูดนักวิชาการที่ความต้องการด้านวัตถุเงินทองได้รับการตอบสนองเพียงพอแล้วไหลกลับเข้ามาช่วยได้อย่างมาก แม้จะได้เงินน้อยนิด ทั้งนี้จะเป็นเพราะระบบงานที่แม้จะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่การทำงานจะเป็นในลักษณะบริษัทเอกชนเป็นระบบที่ดีที่เอื้อในการแสดงฝีมือนั่นเอง จึงมีหลายคนกลับเข้ามาเป็นนักวิจัยที่เนคเทค และสวทช อาทิพีระพันธ์ โสฟัศสถิตย์, วิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์ , พอพันธ์ สิชฉนุกฤษฎ์ , เมตตา นิธิสุนทร, วิริยะ ชู และอีกหลาย แต่ด้วยงบที่รับเจียดมาให้น้อยนิด การวิจัยหรือการพัฒนาที่ทำให้อยู่จึงทำได้ไม่เต็มที่ และไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลายคนจึงตั้งฉายาเนคเทค หรือสวทชว่า " เสื่อกระดาษ"

แต่การเกิดโครงการใหญ่ด้านสื่อสารโทรคมนาคม หลายโครงการ ทั้งดำเนินการโดยรัฐเอง และให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ ก็นับเป็นเวทีสำหรับเหล่าอาร์บีดี ได้เป็นอย่างดี เพราะงานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นงานที่ท้าทาย ต้องใช้ทักษะความสามารถสูงรวมถึงประสบการณ์ตรงด้วย ซึ่งตรงนี้คนในประเทศไทย เราไม่มี

โครงการต่าง ๆ อาทิ ดาวเทียมไทยคม ของชินวัตร, โทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ของเทเลคอมเอเชียกหับทีทีแอนด์ที , รถไฟลอยฟ้าธนายง, และอีกหลายสิบโครงการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเวทีที่รองรับอาร์บีดี ได้เป็นอย่างดี

เฉลียว สุวรรณกิตติ และวัลลภ วิมลวณิชย์ คืออาร์บีดี ในยุคแรกก่อนที่จะมีการพุดถึงการดึงอาร์ดีบี กลับไทยด้วยซ้ำ โดยขณะนี้ ทั้งคู่ถือว่าเป็นหัวเรือใหญ่ ของซีพีเลยทีเดียว โดยเฉลียว เป็นรองประธานกรรมการ บริษัทเทเลคอมเอเชีย ( ทีเอ) และวัลลภ เป็นกรรมการผุ้จัดการใหญ่ บริษัทเทเลคอมโฮลดิ้ง กลยุทธ์ต่าง ๆ หลายอย่างทั้ง ๆ ที่ตัวเองรับผิดชชอบและบริษัทในกลุ่มซีพี ส่วนหนึ่งมาจากคีย์แมนสองคนนี้แทบทั้งสิ้น ยังไม่นับแรงงานระดับวิศวกรรมของอาร์บีดี หลายท่านที่เข้ามาอยู่องค์กรนี้

สาเหตุที่อาร์บีดี เข้ามาทำงานกับทีเอ หรือบริษัทในเครือต่าง ๆ เป็นเพราะลักษณะงานที่คล้ายคลึงกับงานที่เคยทำอยู่แล้วในต่างประเทศ ประสบการณ์ตรงของอาร์บีดี จึงจำเป็นต่อโครงการ 2 ล้านเลขหมาย และโครงการมูลค่าเพิ่มต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง แต่ก็นับว่าจำนวนที่ไหลเข้มายังน้อยมาก เนื่องจากค่าตอบแทนที่ต่างกับที่เคยได้ในต่างประเทศ ไม่นับเฉลียวและวัลลภ ซึ่งได้ค่าตอบแทนที่ต่างมากกับที่เคยได้ในต่างประเทศ ไม่นับเฉลียวและวัลลภ ซึ่งได้ค่าตอบแทนที่สูงเนื่องจากอยู่ในระดับบริหาร

วราพัฒน์ นภาพร คือผู้ที่ไหลเข้ามาอยู่ทีเอ โดยการชักชวนของวัลลภ เล่าว่า " ผมมาพร้อมกับภรรยา ซึ่งเป็นวิศวกรไฟฟ้า เห็นว่างานที่ทีเอเป็นงานที่ผมถนัดท้าทาย และเป็นงานที่ผมถนัดท้าทาย และเป็นงานที่มีส่วนพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศด้วย หน้าที่หลักคือดูแลเรื่องสัญญา และเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทีเอ องค์กรโทรศัพท์ และซีเมนต์ที่เป็นซัพพลยเออร์เรา คิดงว่าประเทศของเราคงพัฒนาได้ดีขึ้นไป แต่อย่าเอาไปเปรียบกับประเทศที่เจริญแล้ว เพราะเขาก้าวไปก่อนเราตั้ง 10-100 ปี ขณะที่เราเพิ่งเริ่มไม่กี่ปีนี่เอง"

แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งของทีเอ เล่าว่า มีวิศวกรไทยคนหนึ่งซึ่งเติบโตและมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว ในอเมริกาขอเข้าทำงานที่ทีเอ โดยเรียกเงินในอัตราที่ต่ำกว่าทีเคยได้ในอเมริกานิดหน่อยประมาณ 50,000 บาท แต่ปรากกฎทางทีเอ ให้ได้แค่ประมาณ 13,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราเริ่มต้นสำหรับวิศวกรที่จบออกมาใหม่ ๆ เท่านั้น โดยอ้างเหตุผลว่า " หากคุณได้เงินมากกว่าคนอื่นในตำแหน่งเดียวกัน จะทำให้คุณอยู่อย่างลำบาก ทุกคนจะเขม่นคุณ คุณจะเข้ากับใครไม่ได้ เพราะเขาไม่เอาคุณ คุณต้องเริ่มเหมือนกับคนอื่น ๆ"

เมือเหตุผลเป็นเช่นนี้ แม้ว่าจะยอมรับไม่ได้ แต่ก็ต้องทำ เนื่องจากพ่อแม่กลับมาอยู่กรุงเทพฯ อย่างถาวรแล้ว และยังพูดพูดภาษาไทยไม่ได้ จึงต้องทำงานที่ตนเองถนัด ที่สุดไปก่อน คือเรื่องระบบโทรศัพท์การจะย้ายไปบริษัทอื่น ก็คงจะเจอเหตุผลเดียวกันกับทีเอ ซึ่งจะมีอาร์บีดี สักกี่คนที่ทนได้กับระบบเช่นนี้ ระบบที่ไม่วัดกันที่ความสามารถ แต่วัดกันที่วัยวุฒิ อายุงาน หรือเด็กของใคร นามสกุลอะไร หลายสิบคนจึงเผ่นกลับที่เดิมที่เคยอยู่หลังจากเข้ามาทดลองทำงานได้ระยะหนึ่ง จนบางคนให้คำมั่นว่าชั่วชีวิตนี้จะไม่ขอทำงานกับบริษัทคนไทยในไทยเด็ดขาด

แม้ว่าจะเป็นการพูดจากความน้อยใจ แต่ก็จะเกิดขึ้นซ้ำแล้ว.ซ้ำเล่า โดยมิได้การเหลียวแลจากหน่วยงานรัฐเลย ซึ่งไม่รู้ว่าหน่วยงานใดจะรับผิดชอบโดยตรงเรื่องนี้ เพราะมีหลายหน่วยง่านเสียเหลือเกินที่มีอำนาจแต่ไม่ทำ และเกี่ยวกันทำ

ไม่เฉพาะกับทีเอหรือบริษัทเอกชนเท่านั้น กับหน่วยงานของรัฐทีเกิดขึ้นเช่นกัน อย่างกรณีของอาจารย์ท่านหึ่งซึ่งต้องการมาสินในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยพกประสบการณ์ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฏีในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ หลายสิบปี จากทีมีประสลการณ์มากนี่เองจึงเรียกเงินเดือนไปประมาณ 150,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าที่เดิมแน่นอน แต่ปรากฏว่ารัฐให้ได้แค่ 18,000 บาทเท่านั้น ด้วยเหตุผลของกฎระเบียบราชการและเหตุผลเดียวกับกรณีของทีเอ

แต่โชคดี ยังเข้าข้างเมืองไทย อีกเหมือนกันที่ อาจารย์ผู้นี้ยอมเงื่อนไขตรงนี้ เพราะเห็นว่าเงินทองมีมากพอแล้วและอายุมากด้วย

ซึ่งแน่นอนความสามารถที่จะมอบให้องค์กร 100% ของบุคลากรทีเอและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็อาจจะเหลือริบเหรี่ลงไปอีก แทนที่เราจะได้จากเขาเหล่านี้เต็มร้อยหรือเกินร้อยอย่างทีเขาเหล่านี้ให้มาแล้วขณะอยู่อเมริกา ก็อาจจะได้ไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ

ในเรื่องเงินนี้นับเป็นปัญหาที่ต้องแก้กันต่อไป หน่วยงานรัฐที่จะเข้ามารับเรื่องตามนโยบายรัฐในเรื่องบุคลากร คือ สวทช. โดยจะทำหน้าที่หลักในการเป็นศูนย์กลางประสานงานกับคนไทยในต่างแดน มีการเสนอโครงการให้รัฐพิจารณาหลายเรื่อง เช่นโครงการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับคนที่จะเดินทางกลับมาเพื่อดูงานหรือเข้ามาทำงานในไทย

สำหรับคนที่จะเข้ามาทำงานกับภาครัฐ นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า " เราเสนอให้นักเรียนไทย ที่ไปเรียนด้วยทุนส่วนตัว เราน่าจะช่วยเหลือเขา โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าเขาจ่ายเท่าไร เราจ่ายคืนเท่านั้น ซึ่งไม่มาก คนประมาณ 600,000 บาทต่อปี เท่านั้น ซึ่งจะได้คนเลยทันที เร็วกว่าที่เราไปให้ทุนสนับสนุนหรือรอให้เขาไหลกลับเข้ามา ซึ่งในที่นี้ได้เสนอให้มีหน่วยงานรับผิดชอบขึ้นต่างหากด้วย แต่คงไม่ถึงระดับกรม กองอย่างที่ไต้หวันหรือ เกาหลีใต้ทำกันเพราะเป็นไปไม่ได้

หากสำเร็จอย่างที่นักสิทธิ์ว่าไว้ ก็จะเป็นตัวเพิ่มความสนใจจากเหล่าอาร์บีดี หรือนักเรียนที่ไปด้วยทุนตัวเองได้มาก และเหล่าคนดีมีฝีมืออีกหลายคนคงไหลกลับเข้ามาภาคพื้นรัฐเพิ่มขึ้น จากที่ไหลมาเพียงไม่กี่คน

บริษัทเอกชนรายหนึ่งซึ่งมีนโยบายเน้นด้านการศึกษาและการพัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ดังเช่น กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ทำให้วิโรจน์ ตันตราภรณ์ ยอมเข้ามารับตำแหน่งกรรกมากรบริหาร ซึ่งถือว่า เป็นรุ่นแรกชองอาร์บีดี ก็ว่าได้ โดยการฝากผลงานชิ้นหลังสุด ไว้ที่อเมริกาคือ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างจรวดด้านจรวดแพทริออต ที่โด่งดังมากในสงครามทะเลทรายอิรัค-คูเวต

วิโรจน์ พูดถึงระบบการให้ความสำคัญของแรงงานผู้เชี่ยวชาญในอเมริกาว่า " ระบบที่นั่นเป็นระบบขนาน คือผู้บริหารจะอยู่กับนักเทคนิคเสมอ ระบบเงินเดือนของฝ่ายบริหารจะน้อยกว่านักเทคนิค เป็นการยอมรับกันด้วย เพราะฝ่ายบริหารทำงานด้านนโยบายต่าง ๆ เป็นโปรเจคที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มีความรับผิดชอบขึ้นเรื่อย ๆ ผิดกับนักเทคนิคที่ต้องใช้เวลายาวนานในการฝึกฝนตนเองกว่าจะเก่งเชี่ยวชาญได้ ซึ่งคนที่ถูกฝึกมาในด้านเทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องยุ่งเกี่ยวกับงานเอกสารเท่าไหร่เลย"

หลังจากวิโรจน์กลับมาได้ไม่นาน เขาเห็นง่า เมืองไทยถึงเวลาแล้วที่จะจะต้องดึงเหล่าอาร์บีดี เข้ามาช่วยพัฒนาชาติ จึงมีการพูดคุยชักชวนเป็นการส่วนตัวหลายคน บุคลที่เข้ามาในช่วง 2534 ส่วนหนึ่งมาจาการชักชวนของเขาคนนี้

อีกกลุ่มบริษัทหนึ่งที่สามารถดึงอาร์บีดีเข้ามาอยุ่ในองค์กรของตนเองได้หลายคนก็คือ กลุ่มบริษัทชินวัตร ซึ่งมีกิจการครอบคลุมด้านเทคโนดลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสารโทรคมนาคมมากมาย อาทิ กิจการดาวเทียมไทยคม , เคเบิ้ลทีวี โทรศัพท์มือถือ, ระบบการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออีกสิบกิจการที่นับเป็นเวทีใหญ่รองรับเหล่าอาร์บีดีได้สบาย

ด้วยรูปแบบการดำเนินกิจการ การบริหารที่คล้ายคลึงกับต่างประเทศ หลายคนจึงเข้าสู่เวทีชินวัตร เช่นนงลักษณ์ พินัยนิติศาสตร์ ที่ฝึกปรือมาแล้วในโครงการดาวเทียมต่างประเทศและอาวุธ พลอยส่องแสง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดาวเทียม จากอเมริกา เข้ามาเป็นตัวหลักโครงการดาวเทียมไทยคม นอกจากนี้ก็ยังมี ดำรง เกษมเศรษฐ์, วิเชียร เมฆตระการ, วิทูรย์ วิวัฒน์รัตน์, สุชาติ อุปวัณณา, และอีกหลายคนที่ล้วนเข้ามาเป็นมันสมอง เป็นพลังขับเคลื่อนให้กิจการต่าง ๆ ของกลุ่มชินวัตร โลดแล่นผงาดในยุทธจักรเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมได้ในระยะเวลาอันสั้น

ยังไม่รวมถึงกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มบริษัทในเครือจัสมิน, กลุ่มบริษัทในเครือยูคอม, กลุ่มบริษัทในเครือสามารถ และอีกหลายกลุ่มในธุรกิจกิจการสื่อสาร โทรคมนาคมที่มีเหล่าอาร์บีดี อยู่ด้วย แต่ไม่มาก และไม่ได้อยู่ในระดับระดับนโยบาย แต่ก็นับได้ว่า เป็นเวทีใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับรองรับการเข้ามาของเหล่าอาร์บีดี

ธุรกิจคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันที่สามารถดึงดูดให้คนเหล่านี้กลับเข้ามาได้ แต่ส่วนใหญ่จะเข้ามาเปิดบริษัทส่วนตัวมากกว่า

จากธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นตัวสร้างความสนใจอย่างมาก จนสามารถดึงอาร์บีดี กลับมาอยุ่ในประเทศไทยได้หลายสิบคน กิจการที่ปรึกษาในด้านเทคโนโลยีก็เป็นส่วนหนึ่งที่เหล่าอาร์บีดีนิยมกลับมาทำ เพราะนอกจากได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมีแล้ว เรื่องเงินและการที่จะต้องต่อสู้กับระบบบริษัทคนไทย กับระบบราชการที่ลดน้อยลงไป

ชวาล นิวาตวงศ์ อาร์บีดี ผู้หนึ่งที่ได้รับตำแหน่งสูงสุดทางวิศวกรรมของอเมริกาคือ ตำแหน่งวิศวกรบริหารหน่วยงานรถไฟฟ้าใต้ดินที่นิวยอร์ค ชวาลเป็นวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น 02 รุ่นเดียวกับวัลลภ ได้รับมาตั้งบริษัท ชื่อ ไอมี่เอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งรับปรึกษา และบริหารโครงการทางด้านก่อสร้างรวมถึงโครงการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของทีเอม เทเลคอมโอลดิ้ง และเป็นที่ปรึกษา ด้านรถไฟใต้ดินให้คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช ด้วย

" ผมเข้ามาช่วงที่เขาจัดประชุมกันเรื่อง สองไหลกลับ เมื่อประมาณ 2535 มาพร้อมกับคุณประเสริม วงศ์วิศิษฐ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการรถไฟฟ้ามหานครของกทม. จากนั้น ก็ทำเรื่องและตั้งบริษัทขึ้นมารับง่านก่อสร้าง และด้านการสื่อสารโทรคมนาคม อย่างชุมสายโทรศัพท์ใหญ่ ๆ ที่อยู่ตามตึก ตามอาคาร ตามร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ในส่วนโครงการ 2 ล้านเลขหมายของทีเอ ผมก็เป็นคนออกแบบก่อสร้างควบคุม ยังไม่รวมถึงการออกแบบปรึกษา และบริหารงานให้กับโรงงานเอกชนอีกหลายแห่ง" ชวาล กล่าวกับผู้จัดการ

อีกคนหนึ่ง คือ เชียรช่วง กัลยาณมิตร หนึ่งในวิศวกรคอมพิวเตอร์รุนแรกของสหรัฐฯ ที่ทำการพัฒนาระบบ CAD-CAM จนได้รับเลือก เป็น young manufacturing engineer of the year ของสหรัฐฯ เขากลับเข้ามาได้ประมาณ 5ปี เป็นผู้หนึ่งที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ที่ถือเป็นงานขาดแคลนในประเทศไทย งานต่าง ๆ หากเชียรช่วงเข้ามาล้วนมีให้เลือกมากมาย แต่เชียรช่วงกลับเลือกทำในสิ่งที่หลายคนไม่คาดคิด นั่นคือเรื่องสิ่งแวดล้อม โครงการบำบัดน้ำเสียที่มีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท และอีกหลายสิบโครงการที่เชียรช่วงทุ่มเทให้กับประทศชาติ กว่า 50% เป็นในเรื่องช่วยชาติ นอกนั้นก็เป็นงานที่ตนเองมีหุ้นส่วนอีกกว่า 10 บริษัท เขาให้เหตุผลน่าฟังในการกลับเข้ามานี้ก้คือ ช่วยชาติ เพื่อบ้านเกิดเมืองนอน ด้วยมันสมองที่สังเคราะห์และคิดแบบอเมริกันเท่านั้น

การทำเพื่อชาติของเชียรช่วง ดูเหมือนจะแผ่อิทธิพลต่อภรรยา ของเขาด้วย เพราะในตำแหน่งแพลนเนอร์ เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่กระทรวงสาธารณสุขคงยืนยันได้

" ผมถือว่า ผมกตัญญูต่อประเทศไทย ก่อนมาผมสัญญาว่าจะต้องกลับมาช่วยพัฒนาประเทศ ปัญหาอะไรที่คิดว่ามันคือบทเรียนต้องทำใจให้ได้ เพราะประเทศไทยไม่ใช่อเมิรกา ผมชวนเพื่อนหลายคนกลับมา อยากให้กลับมามาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาขยะ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ โรงงาน จัดให้มีนักวิจัยเยอะ ๆ ผมบอกเพื่อนอาร์บีดี ว่าเราต้องอดทน" เชียนช่วง กล่าวด้วยถ้อยคำชัดเจน และหนักแน่น

สองไหลอีกหลายคนที่เข้ามาร่วมกลุ่มกับเขา ได้เดตรียมทำเรื่องต่าง ๆ ใก้ดับรัฐบาลหลายเรื่อง อาทิ ระบบการ์ดรูดแทนการยกมือในสภา เพื่อความรวดเร็ว เพื่อความเป็นอินเตอร์ และเพื่อให้แต่ละคนตระหนักถึงการยกมือด้วย ไม่ใช่สักแต่ว่ายกก็ยก เพราะว่าเมื่อรูดการ์ดแล้ว เครื่องบันทึกทันทีว่าเป็น เห็นด้วยเรื่องอะไรบ้าง เข้ามาประชุมหรือไม่ กี่ครั้ง

อีกอย่างหนึ่งที่กลุ่มเชียรช่วง กำลังทำคือ คอมพิวเตอร์ไรศ์เซชั่น ระบบราชการ
ทั้งหมด เพื่อความรวดเร็ว

" ถ้าผมมีโอกาสได้เป็นผู้บริหาร อันแรกที่ผมจะเข้าไปคือ กระทรวงพาณิชย์ เข้าไปได้เมือ่ไหร่ ผมจะไล่ฝ่ายทะเบียนออกให้หมด แล้วนำระบบยคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้แทน"

อาร์บีดี ผู้นี้นับเป็นผู้ที่มีบทบาทหลายเรื่อง มีตำแหน่งอยู่ในหลชาย ๆ หน่วยงานภาครัฐบาลเช่น กรรมการไพรเวทไทซ์เซชั่น กทม. กรรมการบริหาร โครงการบำบัดน้ำเสีย กทม. กรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษาโครงการรถรางไฟฟ้า กทม. ผู้เชี่ยวชาญเขตการค้าเสรี การนิคมอุตสาหกรรมฯ ผู้เชียวชาญประจำกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร และทีปรึกษารัฐบาลอีกหลายเรื่อง

ไม่เพียง วิโรจน์และเชียนช่วง เท่านั้น ที่ทุ่มเทจิตใจเพื่อชาติ อาร์บีดี อีกหบลายท่านที่กลับเข้ามาแล้วเฉกเช่นสองคนผู้นี้ ทั้งนี้เป้นเพราะการกลับมาของเหล่าอารบีดี แต่ละท่าสนส่วนมากจะพร้อมในเรื่องฐานะความเป็นอยุ่มาแล้วแทบทั้งสิ้น การที่เคยอยู่ เคยเห็นสิ่งต่าง ๆ ในเมืองไทยก่อนไปใช้ชีวิตที่ดีกว่านั้น กว่าจะทำให้ต่างชาติยอมรับในความสามารถได้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำกันเพียงหนึ่งหรือสองปีเท่านั้น การได้เห็นความเอารัดเอาเปรียบของชาติมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจอย่างอเมริกา หรือญี่ปุ่น มาแล้วเป้นอย่างบดี ทำให้อาร์ดีบี หลายคน อยากจะช่วยชาติเเพื่อความเท่าทันกันประเทศมหาอำนาจเหล่านี้

แต่ก็น่าเป็นห่วงในเรื่องการสนับสนุนการวิจัย เพราะหลายคนยังเข้าใจผิดมาตลอดว่าประเทศไทยมีงบประมาณด้านวิจัยมาก แท้ที่จริงรัฐเจียดมาให้แค่ 0.2% ของรายได้ประชาชาติ ขณะที่ประเทศอื่นอาทิ เกาหลี, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น แม้กระทั่งสิงคโปร์ต่างก้ให้ความสำคัญของการวิจับมาก โดยตั้งงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาไว้ไม่ต่ำกว่า 3% ของรายได้ประชาชาติเลยทีเดียว โดยเฉพาะในปี 2538 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ของบไป 2,000 ล้านบาท แต่ ครม. กลับอนุมัติให้มาแค่ 800 ล้านบาท เท่านั้น จงไม่ต้องพูดถึงหน่วยงานในความดูแลของกระรวงเลยว่าได้เท่าไร เมือเป็นเช่นนี้ สภาพการวิจับของไทยจึงเปรียบเสมือนเด็กกำลังคลานอยู่ร่ำไป ซึ่งเมื่อถึงคราวที่ต้องยืนต้องเดินแต่ยังคลานอยู่ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่แม้ว่าจะมีงบในวิจัยเพียงน้อยนิดก็ยังมีอาร์บีดี กลับมาเป็นนักวิจัยให้แก้รัฐดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

อาร์บีดีท่านหนึ่ง ผู้กลับเข้ามาพร้อมประสบการณ์ กว่า 20 ปี พูดถึงสาเหตุที่กลับเข้ามาทำด้านการจัดการและการวางแผนนั้น เพราะว่าเมืองไทยไม่เหมาะสำหรับคนที่ไม่เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่คนไทยชอบเอาคนที่เรียนเก่งมาทำงาน ซึ่งตรงนี้ต่างกันอย่างมากสำหรับสังคมอเมริกัน เพราะคนเรียนเก่งน้อยคนจะบริหาร ทำงานด้านการจัดการและวางแผนได้เก่ง หลายคนไหลกลับอเมริกาอีก เพราะมาพบปัญหาเช่นนี้แหละ

หลายสิ่งหลายอย่างเป็นอุปสรรค ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้ามารับใช้ชาติของพวกเขา ยังเป็นสิ่งที่ต้องรอแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่วงว่างการทำงาน แรงจูงใจ ที่เอื้ออำนวยให้กับพวกเขาได้มากพอ การทำงานที่ไม่เป็นระบบ ค่าแรงที่สมเหตุสมผล สวัสดิการต่าง ๆ การกำหนดระยะเวลาของการทำงาน ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงานที่ค่อนข้างหละหลวมในสิ่งต่าง ๆ ที่พนักงานพึงจะได้รับหรือหลักเกณท์กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่จะมารองรับจากภาครัฐเป็นสิ่งที่ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก

ส่วนภาคเอกชน การทำงานหรือการรับพนักงาน สักคนของบริษัทต่าง ๆ เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้กับระบบฝาก ความสามารถไม่เคยได้เคยได้รับการพิจารณาก่อนเรื่องที่ว่าจบสถาบันใด หรือเป็นเด็กของใครมาก่อนพรรคพวกใคร ลูกหลานใคร ยิ่งถ้าเจ้าของมีลูกหลานมากก็ยิ่งไม่ต้องหวังเลยกับตำแหน่งบริหารบริษัท ฉะนั้นโอกาสที่จะก้าวหน้าในการกลับเข้ามาเป็นไปได้ยากลำบาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ที่จะดูความสามรถและผลงานก่อนอื่นใด

ในการคิดที่จะดึงอาร์บีดี กลับบ้านมาตุภูมิ เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินไปสำหรับองค์กร หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง จะดำเนินการโดยลำพังได้ ต้องทำกันอย่างจริงจัง เหมือนกับเกาหลี หรือไต้หวัน ที่เขาให้ความสำคัญโดยตั้งเป็นกรมขึ้นมาดูแลเฉพาะกันเลยทีเดียว มีการออกไปตั้งสำนักงานในต่างประเทศที่คนของเขาทำงานอยู่ เพื่อให้ความสะดวกสบายเมื่อสมองเหล่านั้นคิดไหลกลับบ้านเกิด

แนวทางหนึ่งที่บ้านเราน่าจะนำมาใช้บ้างก็คือ การตั้งกองทุนสมทบ ไว้ช่วยธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต อุตสาหกรรมและการใช้เทคโนโลยีบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์,ไฟเบอร์ออฟติค, เซอรามิคอุตสาหกรรมม การสื่อสาร และโทรศัพท์ ผ่านดาวเทียม ฯลฯ รวมถึงผู้บริหารระดับสูงและระดับนานาชาติ ที่ต้องการความรอบรู้ระดับสูง และความชำนาญพิเศษที่บ้านเราไม่มี เพื่อให้รายได้ในส่วนนี้ให้กับอาร์บีดี พอที่จะอยู่ในเมืองไทยได้อย่างเต็มใจ

เนื่องจากบริษัทที่ไม่สามารถจ่ายค่าแรงเท่าที่เรียกมา รัฐบาลก็อาจจะใช้เงินสมทบตรงนี้มาช่วยบริษัทที่จ้างอย่างน้อย 50% เพื่อให้เพียงพอกับการตัดสินใจอยู่อย่างถาวร เช่น สมมุติบริษัทชินวัตรต้องการวิศวกรคนหนึ่งซึ่งเคยได้รับเงินเดือนประมาณ 100,000 บาทในอเมริกา ขณะทีเพดานเงินเดือนระดับนี้ ในเมืองไทยเริ่มที่ประมาณ 13,000-15,00 เท่านั้น ตรงนี้รัฐอาจจะช่วยครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขอะไรตามมาก็ว่ากันอีกทีหนึ่ง

เมื่อเทียบกับการที่รัฐให้ทุนนักเรียนไปศึกษาต่อหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ จำนวนเงินที่ใช้มีมากกว่าเงินที่จะให้บาร์บีดี ตังมากมาย และผลตอบแทนที่ได้ก็น้อย ทั้งที่เป็นอยุ่ขณะนี้ คือคนที่รัฐให้ทุนนั้น เมื่อกลับมาแล้วเกือบทุกคนจะกลับมาเป็นนักวิชาการ บางคนยอมจ่ายค่าชดเชยในการผิดสัญญาเพื่อไปอยู่กับบริษัทเอกชน แต่อาร์บีด เข้ามาจะเป็นไปทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติอย่างเชี่ยวชาญเนื่องจากไปฝึกปรือฝีมือจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศมาแล้วมากว่า 20 ปีแทบทั้งสิ้น

แต่ไม่ว่าเราจะใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหาหรือชักชวนเหล่าอาบีดีเข้ามาช่วยชาติ อนาคต ในเรื่องอาร์บดี จะยังต้องฝากไว้กับภาครัฐด้วยว่าจะให้ความสำคัญโดยทำเป็นรูปธรรมได้มากน้อยแค่ไหนไ ม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูด เพื่อหาเสียงไปวัน ๆ และอาร์บีดีที่ไหลกลับมาแล้วเช่นกัน ถ้าเราต้องการให้ประเทศชาติเจริญหรือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในแถบอินโดจีน อย่าสงที่คาดหวังไว้ ก็ต้องนำความสามารถของอาร์บีดีมาผนวกกับบุคลากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดมากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้น แล้งอาร์บีดีที่มีอยู่แล้วให้เกิดมากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อาร์บีดี รวมถึงสมองทีอยู่แล้ว ในประเทศก็อาจจะเป็นสมอง ที่ฝ่อลงๆ แห้งตายไปในที่สุด

ซึ่งจะเพื่อเงินหรือเพื่อชาติคงไม่ใช่ความสำคัญ อีกต่อไปแล้ว สำหรับทรัพยากรมนุษย์ ....เพื่อความเจริญเพื่อความก้าวหน้าต่างหากที่ต้องพูดถึง เพระสิ่งนี้ ชาติยิวและญี่ปุ่น ได้พิสูจน์ประจักษ์แจ้งต่อโลกมาแล้ว ฉะนั้นหากภาครัฐทำเดี๋ยวนี้ ทำอย่างเป็นรูปธรรมความเจริญรุ่งเรือง ก็คงจะเกิดขึ้นแน่นอน ไม่เช่นนั้น ความเจริญรุ่งเรืองแบบไม่มีแกนหรือข้างนอกสดข้างในกลวงโบ๋ อย่างที่เป้นอยู่ขณะนี้ ก็คงจะเป็นอยู่ต่อไปไม่จบสิ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us