Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์20 พฤศจิกายน 2549
สิงคโปร์ส่ง GIC ดอดเก็บหุ้น อสมท เจอมรสุมรัฐเร่งจัดสรรคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์             

 


   
www resources

โฮมเพจ อสมท.

   
search resources

Stock Exchange
อสมท, บมจ.




กองทุน GIC ของรัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าเก็บหุ้น MCOT เพิ่ม แม้หลังทักษิณ ถูกยึดอำนาจ เพิ่มสัดส่วนจาก 0.51% เป็น 3.24% แม้อาจดูน้อยแต่มีนัยยะทางด้านการลงทุนหากเทขายทั้งยวง ขณะที่กระแสคลื่นวิทยุ-โทรทัศน์เป็นสมบัติของชาติ ตามด้วยรัฐมนตรีประจำสำนักเร่งจัดสรรคลื่นภายใน 1 ปี เป็นปัจจัยลบ

ภายใต้ความขัดแย้งระหว่างพนักงานบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT กับบอร์ดชุดใหม่ จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่องผังรายการที่อาจกระทบต่อรายได้ของ อสมท หลังจากการแปรสภาพเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาจทำให้หลายฝ่ายลืมหันมามองว่ามีนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่เข้ามาสะสมหุ้น MCOT อย่างต่อเนื่อง

จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ MCOT ครั้งแรกเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2547 กระทรวงการคลังถือหุ้น 531 ล้านหุ้น 77.28% และพนักงานและผู้บริหาร 703,556 หุ้น คิดเป็น 0.102% ที่เหลือกระจายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไป โดยมีนักลงทุนต่างประเทศ 56 ราย ถือหุ้น 39.431 ล้านหุ้น หรือ 5.74%

เมื่อสำรวจรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นมากกว่า 0.5% ในวันที่ 12 ธันวาคม 2547 พบรายชื่อ GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION หรือ GIC กองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเจ้าของเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ที่เข้ามาซื้อหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SHIN ถือหุ้นใน MCOT 3.497 ล้านหุ้นหรือ 0.51%

ถัดมา 7 เมษายน 2548 GIC เข้ามาถือ MCOT 2 รายการ รวม 12.28 ล้านหุ้น หรือ 1.78% และเพิ่มสัดส่วนเป็น 2.47% ในวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาลดลงเล็กน้อยเหลือ 2.45% ในวันที่ 3 เมษายน 2549 จากนั้นลดลงเหลือ 2.29% ในวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ล่าสุดเพิ่มขึ้นมาเป็น 3.24% หรือ 22.29 ล้านหุ้น

สัดส่วนไม่มากแต่มีนัยยะ

จะเห็นได้ว่า GIC มีการเก็บหุ้น MCOT อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการปรับพอร์ตบ้างในจังหวะ แต่ในภาพรวมแล้วยังคงตามเก็บหุ้นตัวนี้ โดยในช่วงหลังการเข้ายึดอำนาจจากทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 19 กันยายน GIC ก็เก็บหุ้นเพิ่มจนมีสัดส่วนที่ 3.24%

สัดส่วนดังกล่าวแม้จะไม่มาก เนื่องจาก MCOT มีข้อกำหนดในเรื่องของการถือหุ้นของกระทรวงการคลังต้องถือเกิน 70% ที่ผ่านมาได้นำเอาหุ้นตัวนี้ไปจำนำกับธนาคารออมสินเพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารทหารไทย จนต่ำกว่าเงื่อนไขที่กำหนด แต่รัฐบาลชุดที่แล้วก็ได้แก้กฎเกณฑ์ไว้รองรับ ส่วนต่างประเทศกำหนดให้ถือหุ้นไม่เกิน 15%

หากพิจารณาในแง่ของหลักการลงทุนแล้วอาจไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เมื่อพิจารณาถึงความเกี่ยวข้องกันทางการเมืองระหว่างผู้นำประเทศในขณะนั้นกับกองทุนจากสิงคโปร์แล้ว การเข้ามาถือหุ้นดังกล่าว แม้ว่าจะไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของ MCOT ได้ แต่การถือหุ้นในลักษณะนี้นโยบายหลายอย่างทางด้านการนำเสนอข่าวในช่วงที่เปลี่ยนผู้นำประเทศ เขาก็ทราบว่าจะเดินไปในทิศทางใด เสนอข่าวที่เป็นคุณหรือเป็นโทษกับนักลงทุนต่างประเทศหรือไม่

การถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการถือเพื่อกลยุทธ์อย่างนี้มีการทำกันมาตลอด แต่ที่ผ่านมามักเป็นภาคธุรกิจต่อภาคธุรกิจ แต่ GIC เป็นมากกว่าภาคธุรกิจ ซึ่งก่อนหน้านี้ GIC ถือหุ้นกับกลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ การซื้อหุ้นเพิ่มของ GIC ถือว่ามีนัยยะและหากมีการขายหุ้นออกมาทั้งหมดหรือเป็นจำนวนมากก็มีนัยยะเช่นกัน นอกจากจะเป็นการส่งสัญญาณให้กับนักลงทุนต่างประเทศรายอื่นแล้ว ข้อมูลบางส่วนอาจถูกนำไปขยายต่อยังต่างประเทศ

"วิทยุ-โทรทัศน์" สมบัติชาติ

นอกจากนี้หาก MCOT กำลังถูกทดสอบจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่สามารถคัดค้านในช่วงที่ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ของวิทยุกระจายเสียและวิทยุโทรทัศน์ที่รัฐธรรมนูณเดิมกำหนดให้เป็นสมบัติของชาติ ที่มอบหมายให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) เข้ามาเป็นผู้จัดสรร

แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดย ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้พยายามผลักดันให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หากมี กสช.เข้ามาทำหน้าที่แล้วตรงนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับ MCOT ซึ่งในหนังสือชี้ชวนการซื้อหุ้นก็ได้ระบุเอาไว้

กรณีของ MCOT นั้นได้มีการเทียบเคียงกับกรณีของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) หรือ PTT เรื่องท่อก๊าซ ซึ่งเป็นสิทธิเหนือพื้นดินรัฐต้องใช้เงินเพื่อเวนคืนจากประชาชน แต่ ปตท.ไม่ได้ทำตามสัญญาที่จะแยกกิจการนี้ออกจากกันหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว 1 ปี (ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ปลายปี 2544) แต่ได้แยกกิจการออกในปี 2549 ที่มีการร้องเรียน

แม้ว่าผังรายการ อสมท ยังคงยึดแนวคิดสังคมอุดมปัญญาเหมือนเดิม ไม่ปรับเปลี่ยนรายการช่วงเวลาไพร์มไทม์ แต่ชัดเจนว่ามีการนำเสนอรายการข่าวและสาระร้อยละ 70 และบันเทิงร้อยละ 30 ดังนั้นศักภาพในการสร้างรายได้ของ MCOT อาจลดลง จากนี้ไปคงต้องพึ่งส่วนที่ให้สัมปทานคลื่นกับผู้ประมูลรายอื่น โดยเฉพาะสถานีวิทยุ เพราะในส่วนของช่อง 3 ได้มีการต่อสัญญากันไปก่อนหน้านี้แล้ว

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อสมท เวลานี้ กำลังเป็นต้นแบบของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ ภายใต้รัฐบาลใหม่ บอร์ดชุดใหม่และความร่วมมือของพนักงาน สามารถที่จะสร้างได้ทั้งผลกำไร สังคมที่ดีและสมานฉันท์ของคนทั้งประเทศ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us