Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2537
คริสเตียนี และนิสเส็น ตัวใหญ่แต่ฝีมือยังต้องพิสูจน์             
 


   
search resources

คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย), บมจ.
จอห์น ริชาร์ด.มิลลาร์ด




64 ปี ของคริสเตียนีและนิสเส็น เป็นช่วงเวลาที่ยาวไกล การเทคโอเวอร์บริษัทแม่เมื่อ 2 ปี ก่อน ทำให้บริษัทก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดขยับขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีอาณาจักรครอบคลุมไปในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งการแตกแขนงธุรกิจไปในกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ความใหญ่กับความแข็งแกร่งไม่ใช่เรื่องเดียวกันเสมอไป

" คริสเตียนี และนิลเส็น (ไทย)" หรือ ในชื่อ อดีตว่า " คริสเตียนี และนิสเส็น (สยาม)" เป็นบริษัทก่อสร้างเก่าแก่อีกรายหนึ่งที่เข้ามาวางรากฐานในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งถ้าหากสืบประวัติไปที่บริษัทแม่แล่วจะพบว่า คริสเตียนี และนิสเส็น ได้เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรกโดยความคิดของ ดร. รูดอล์ฟ คริสเตียนี และกัปตันอากี้ นีสเส็น เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447 โดยในระยะแรก ๆ นั้น คริสเตียนีฯ จะเน้นรับงานในยุโรปเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความเป็นบุกเบิกในวงการก่อสร้างใหม่ ๆ อาทิ เช่น การพัฒนาเซลล์คอนกรีต ( Cell concrete) ซึ่งเป็นงานซิเมนต์เบา ซึ่งมีการนำเอาเทคนิคนี้ไปใช้กันทั่วโลก แล้วในปัจจุบัน หรือการค้นพบวิธีผลิตแผ่นผ่อนน้ำหนักซึ่งทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อใช้ทั้งการวางผังตอกเสาเข็มในแนวตั้ง ระบบนี้ได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ " CN WHARF" งานในยุคแรกที่สร้างชื่อเสียงให้กับคริสเตียนีฯ บริษัทแม่เป็นอย่างมาก เช่นงานออกแบบและก่อสร้างสะพานสโตร์สตรอม ในประเทศเดนมาร์ก หรืองานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ ในเมืองรอทเทอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นอุโมงค์คอนกรีตเสริมเหล็ก หลายช่องทางใต้ทะเล ซึ่งถือเป็นงานอุโมงค์ค์ที่ใช้วิธีการของคริสเตียนีเข้ามาก่อสร้างเป็นงานแรก การก่อสร้างทางรถไฟสายแอลพาลมาโซลา ในเวเนซูเวล่า ความยาว 60 กิโลเมตร ซึ่งแม้ว่าจะเป็นงานค่อนข้าง " หิน" ที่ต้องทำผ่านภูมิประเทศที่ยากลำบาก และต้องก่อสร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คริสเตียนีก็ผ่านมาแล้ว งานที่คริสเตียนีแห่งหนึ่งคือ การสร้างอัฒจรรย์ฟุตบอลมาราคานา ในบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่ถึง 45,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้ชมได้มากถึง 200,000 คน นับเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จะพบว่า คริสเตียนนี ได้พยายามสยายปีกรับงานออกไปในภูมิภาค ต่าง ๆ เช่นอเมริกา ใต้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มากขึ้นเป็นอันดับ รวมทั้งการขยายตัวเข้ามาในย่านเอเชีย แปซิฟิค ด้วย

ประเทศไทย ถูกเลือกให้เป็นฐานบัญชาการของคริสเตียนีฯ ในเอเชีย ตั้งแต่แรก

ในวาระแรกที่คริสเตียนีฯ เข้ามารับงานก่อสร้างในไทยนั้น ก้จำเป็นต้องฝ่าฟันและเรียนรู้ถึงธรรมเนียมและประเพณีในงานก่อสร้างของไทยอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะมีงานใหญ่ให้ทำ จนกระทั่งในช่วงต่อมาหลายต่อหลายองค์กรเหล่านั้น ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการเติบโตของคริสเตียนีฯ ในช่วงต่อไป

งานก่อสร้างที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับคริสเตียนีฯ ในการเข้ามาเมืองไทยวาระแรก ก็คือการเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือคลองเตย ยาว 2,000 ซึ่งถือเป็นงาน " หิน" ชิ้นแรกที่คริสเตียนีทำในเมืองไทย เนื่องจากต้องประสบกับปัญหาสภาพดินที่กรุงเทพฯ ซึ่งอ่อนกว่าที่อื่นมในโลก ทำให้คิสเตียนี ต้องตอกเสาเข็มมากถึง 22,000 ต้น เพื่อเสริมความมั่นคงของโครงสร้าง

งานอีกชิ้นหนึ่งที่ดูจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับคริสเตียนีได้จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย รวมถึงอาคารโดยรอบถนนราชดำเนิน และการก่อสร้างสนามมวยราชดำเนิน

เมื่อคริสเตียนี เริ่มกล้า ขาเริ่มแข็ง พร้อมกับการได้พี่เลี้ยงที่มีชื่อเสียงในวงการ อย่างเช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ ( และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในเครือ คือ ธนสยาม และ ธนชาติ ในเวลาต่อมา) กลุ่มแลนด์แอนด์เฮาส์ กลุ่มสมประสงค์ ( ปัจจุบันได้ถอนตัวออกไปแล้ว) เข้ามาคอยคัดหางเสือให้คริสเตียนีเดินไปในแนวทางที่ถูกต้อง ก็ทำให้บริษัทรับเหมาจากต่างชาติรายนี้รับความเป็นไทยเข้ามาในสายเลือดมากขึ้น และด้วยสถานการณ์ในการรับงาน บวกกับความเชี่ยวชาญในหมู่ผู้ถือหุ้นซึ่งอิงกับภาคอกชนมาตลอด ทำให้คริสเตียนีต้องเปลี่ยนบุคลิกตัวเองให้หันมาจับงานภาคเอกชนตามกระแสของผู้ถือหุ้นด้วย

การจับมือตั้งบริษัทใหม่ระหว่างคริสเตียนี และนีลเส็น กับฟิลปป์ ฮิสส์แมนน์ จากเยอรมัน ในช่วงปี 2530 เป็น "คริสเตียนี-ออสส์แมนน์ จำกัด" เพื่อรับงานภาคเอกชน โดยเฉพาะงานอาคารสูงขนาดใหญ่ ขนาดกลาง เป็นความพยายามครั้งสำคัญของคริสเตียนีฯ ที่จะเข้าไปสร้างชื่อในงานอีกประเภทที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอย่างมากในช่วงนั้น แต่แล้วการเดินทางบนถนนเส้นทางใหม่ของคริสเตียนี ก็ต้องประสบกับขวากหนามสำคัญเมื่อการร่วมมือกับฟิลิป ฮอสส์แมนน์ จำเป็นต้องหยุดลง หลังจากผูกสัมพันธ์กันมาได้เพียง 3 ปีเท่านั้น สาเหตุหลักใหญ่ ที่ค่ายใหญ่ทั้ง 2 จำเป็นต้องแตกคอกันในครั้งนั้น ผู้สันทัดกรณีในวงการก่อสร้าง กล่าวว่า เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่าย หวังจะเป็นใหญ่ในวงการก่อสร้างของไทยทั้งคู่ การเข้ามาอยู่ใต้ร่มธงเดียวกันนั้นก็เป็นไป เพือ่ถ่ายทอดความรู้ของอีกฝ่าย และซุ่มลับฝีมือเพื่องานใหญ่ในอนาคต

" ซึ่งในที่สุด ก็ถือเป็นโชคดีของทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อต้องแยกทางกันเดินแล้ว ปรากฏได้ว่าดีทั้งคู่ เพราะในขณะที่คริสเตียนีฯ ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางนั้น ฟิลิปปินส์ ฮอสส์แมนน์ ก็กวาดงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ไว้ในมือมากมาย จนมาอยู่ในแถวหน้าของวงการได้อย่างรวดเร็ว และยังเข้าไปเป็นหัวหอกในการผลักดันโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินอีกด้วย"

ในส่วนของคริสเตียนี ที่ว่าขยายงานไปอย่างกว้างขวางนั้น หลังจากแยกตัวจากฟิลิปป์ คริสเตียนีฯ ก็ได้ สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการก่อสร้างไทย โดยได้เข้าเทคโอเวอร์กับบริษัทแม่ คริสเตียนี แอนด์ นีลเส็น เอ/เอส จำกัด ที่เดนมาร์ก ในวันที่ 26 ธันวาคม 2535 โดยเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดจำนวน 98% มาจากบริษัทแม่

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ฐานบัญชาการของคริสเตียนีฯ ทั่วโลกจึงอยู่ที่เมืองไทย

สาเหคุประการสำคัญที่คริสเตียนีฯ บริษัทแม่ต้องมาประสบกับวันนั้น เนื่องจากภาวะก่อสร้างของยุโรป ได้ตกต่ำลงเป็นอย่างมากในช่วงนั้น ตรงกันข้าม กับภาวการณ์รับงานในแถบเอเชียมีแต่สูงขึ้น ประจวบเหมาะกับคริสเตียนีฯ ที่เป็นบริษัทแม่ต้องประสบกับปัญหาภาระหนี้สินเรื้อรังติดต่อมาเป็นเวลานาน

การเข้าไปของคริสเตียนีฯ ไทยนี้ได้เข้าไปกอบกุ้สภถานการณ์ให้กับคริสเตียนีที่เป็นบริษัทแม่ได้พอสมควร ในขณะเดียวกัน คริสเตียนีฯ ไทยเองก็หวังเป็นอย่างมากว่า ช่องทางการลงทุนซึ่งบริษัทแม่ได้ไปแผ้วถางทางไว้ให้แล้วตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งในยุโรป ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันตก หรือแม้แต่อดีตสหภาพโซเวียตรัสเซียนั้น จะทำให้แผนการขยายอาณาจักรของคริสเตียนีฯ อกไปให้ครอบคลุม และครบถ้วนทุกข่ายงานของวงการก่อสร้าง จึงน่าประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย

นั้น จึงเป็นที่มาของการขยายงานออกไปอย่างกว้างไกล

ความครบถ้วนในทุกเครือข่ายของวงการก่อสร้างที่คริสเตียนีฯ หวังไว้คือ การขยายงานอาณาจักรเข้าไปในงานก่อสร้าง งานวิศวกรรมสนับสนุนงานก่อสร้าง และงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่ ณ ที่นี่ จะขอร่ายยาวให้เห็นถึงการขยายอาณาจักรของคริสเตียนี ทั้งในไทยและในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่งวโลกตามลำดับ

สำหรับการลงทุนของคริสเตียนีฯ ในไทยนั้น ในส่วนของงานก่อสร้างนั้น คริสเตียนีฯ จะรับหน้าที่เองทั้งหมด แต่ในส่วนกลางของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นงานแขนงใหม่ของคริสเตียนีฯ นั้น การจัดตั้งบริษัทสยามจตุจักร จำกัด เพื่อดูแลงานพัฒนาโครงการ " ออกซฟอร์ด พลาซ่า" ย่านลาดพร้าว ถือเป็นความพยายาม ในขั้นต้น ๆ ของคริสเตียนี ที่หวังจะเข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นี้ แม้ว่าจะติดขัดในปัญหาต่าง ๆ มาก ซึ่งจะได้กล่าวถือต่อไป

ส่วนโครงการอื่นที่ประกาศตัวในเวลาใกล้เคียงกันคือ ซีเอ็น เพลส ดำเนินการโดยบริษัท ซีเอ็นเพลส ซึ่งจะพัฒนาพื้นที่บนถนนสีลม ในอาณาบริเวณ 3 ไร่ ถัดจากนั้น ก็จะมาถึงบริษัท สยามไชยศรี ซึ่งคริสเตียนีฯ เข้าไปถือหุ้น 99.99% ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการว่าจะพัฒนาพื้นที่ใด นอกจากนั้น แล้วล่าสุด คริสเเตียนีฯ ก็ได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ไทยซีเอ็น เทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จัดเพื่อเป็น โฮลดิ้ง คัมปะนี ในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทยซีเอ็นฯ นี้คือการเข้าไปลงทุนในโครงการไทยพาณิชย์พาร์คพลาซ่า ของบริษัททเอสซีบี โฮลดิ้ง ในเครือไทยพาณิชย์

ในส่วนของงานวิศวกรรม ซึ่งเป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่คริสเตียนีฯ หวังจะใช้เป็นทัพหลังที่คอยสนับสนุนงานก่อสร้างในไทยนั้น นับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา คริสเตียนีฯ ได้เข้าร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำทางด้านนี้หลายรายด้วยกัน นับแต่การร่วมทุนกับกลุ่ม เมเมค (พาวเวอร์) จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นำที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในวงการวิศวกรรมโลก โดยการร่วมลงทุนครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่งานก่อสร้างโรงงานผลิตสถานีไฟฟ้าแรงสูง และระบบส่งกำลังไฟฟ้าเป็นสำคัญ ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นงานใหม่ที่คริสเตียนีจะเข้ามาจับเพื่อให้ฐานทางธุรกิจครบวงจร แต่คริสเตียนีฯ ก็ให้ความสำคัญกับบริษัทคริสเตียนี เมเมค เอเชีย แห่งนี้เป็นอย่างมาก โดยได้ตั้งเป้าในปีแรกของการดำเนินการไว้ประมาณ 30-40 ล้านบาท และคาดหวังว่า ภายในอนาคตอันใกล้ เป้าน่าจะไปถึงระดับ พันล้านบาทได้โดยไม่ยาก

นอกจากนั้น การเข้าถือหุ้นในบริษัทยูนิมิต แฮร์ และการเปลี่ยนชื่อเป็นซีเอ็น ยูนิมิต แฮร์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขยายบทบาทตัวเองเข้าไปในอุตสาหกรรมโครงสร้างเหล็ก ซึ่งถือได้ว่าโรงงานแห่งใหม่ที่เข้าไปร่วมทุนนี้มีระบบการผลิตที่ทันสมัยทีสุดในประเทศไทย โดยในขณะนี้มีกำลังผลิตประมาณ 15,000 ตันต่อปี คริสเตียนีฯ หวังเป็นอย่างมาก การเข้าไปสู่ธุรกิจนี้ จะช่วยทำให้ตัวเองมีข้อได้เปรียบในการเข่งขันเพื่อรับงานอาคารสุงที่ใช้โครงสร้างเหล็กซึ่งกำลังใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การเข้าไปขยายข่ายงานวิศวกรรมของคริสเตียนีฯ ในไทย ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะยังมีบริษัทอีกหลายแห่งบที่คริสเตียนีฯ เตรียมที่จะเข้าไปลงทุน โดยล่าสุด หลังจากได้มีการดึงบริษัทอินเตอร์เทค ซึ่กอ่กำเนิดจากบริษัทแม่ ที่รับงานด้านวิศวกรรมและระบบเป็นสำคัญในหลายภูมิภาคของโลก เช่นแถบสแกนดิเนเวีย และอัฟริกา ให้เข้ามาเปิดสาขาในไทย รวมถึงการเปิดบริษัทลิงค์ เวลล์อินเตอร์ เนชั่นแนล และบริษัทแคนลิฟท์ เพื่อรองรับงานอุปกรณ์อำนวยการความสะดวกในงานก่อสร้าง นับแต่ทาวเวอร์เครน ลิฟท์ขนส่ง ปั้นจั่น ก็ได้มีการจัดตั้งบริษัท c-con ขึ้น ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของคริสเตียนีฯ กับกลุ่มแลนด์แอนด์เฮาส์ และบริษัทพีซีเอ็ม จำกัด เพื่อก่อตั้งโรงงานอิฐบล็อกมวลเบา ที่บางปะอิน อยุธยา

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก อัตราการเติบโตของงานวิศวกรรมยังอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 5 % ของรายได้รวม แต่ในระยะยาวแล้ว อัตราการเติบโตน่าจะกระเถิบขึ้นไปในช่วง 10-15% ดังนั้นในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า จะได้มีการการลงทุนในกิจการด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10-15% เช่นเดียวกัน

ที่กล่าวมาเป็นการลงทุนของคริสเตียนเฉพาะในไทยทั้ง 3 ด้าน สำหรับการลงทุนในประเทศภูมิภาค เอเชีย แฟซิฟิค ได้มีการก่อตั้งบริษัทคริสเตียนีฯ ทั้งในจีน ฮ่องกง และมาเลเซีย ก่อนหน้านี้ ได้เป็นการตอกย้ำท่าทีของคริสเตียนีฯ ในเรื่องนี้ โดยในประเทศจีน นั้น คริสเตียนนีฯ ได้พุ่งเป้าพุงเป้าไปเจาะลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ใน 3 เมือง สำคัญคือ เสิ่นหยาง กวางสี และกวางเจา

ข้อน่าสังเกตของการเข้าไปลงทุนในจีนของคริสเตียนีคือ ความสามารถที่จะเข้ากับค่ายใหญ่อย่างกลบุ่มซีพี ที่ไปสร้างฐานไว้เป็นเวลานานในประเทศ จีน กับ กลุ่มสยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรม ( บริษัทร่วมทุนระหว่างสำนักงานทรัพย์สิน,คริสเตียนีฯ และแลนด์แอนด์เฮาส์ ก่อสร้างศูนย์พาณิชย์กลางเมืองขนาดพื้นที่ 500,000 ตารางเมตร ที่เมืองเสิ่นหยาง โดยใช้ชื่อว่า เสิ่นหยางซิตี้เซ็นเตอร์ ที่เมืองกวางสี คริสเตียนีฯ เข้ารับงานบริษัทที่ปรึกษาก็เตรียมจะผลักดันให้เกิดโครงการใหญ่ในอนาคต

ที่เวียดนาม ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่คริสเตียนีฯ กำลังจับตามองเป็นสำคัญ การจัดตั้งตัวแทนที่กรุงโฮจิมินห์ซิตี้ และได้เข้าร่วมทุนแพ็คเวสต์ บริษัทอินโดไช่า พาร์ทเนอร์ จำกัด จากนิวยอร์ค เพื่อตั้งบริษัทฮาร์โมนี่ พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป จำกัด เพื่อดำเนินการด้านอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม โครงการแรกที่จะทำร่วมกันคือ "ไซ่ง่อนไดมอนด์ ทาวเวอร์" ซึ่งร่วมมือกับบริษัทท้องถิ่นของเวียดนาม ที่ชื่อ " ไซง่อน จิวเวลรี่" จำกัด คริสเตียนนีตั้งเป้ามหมายว่าจะเข้าไปลงทุนด้านอสังหาริมทพรัย์ในเวียดนามช่วงแรกไม่ต่ำกว่า 20โครงการ

กัมพูชา ลาว เป็นอีก 2 ประเทศ ี่คริสเตียนี กำลังส่ง " แมวมอง" เข้าไปสำรวจทำเลว่าจะมีโอกาสพัฒนาทางด้านอสังหารมิทรัพย์ ได้มากน้อยเพียงใด แต่เนื่องด้วยข้อตอดขัดทางกฎหมายและยังขาดความมันอกมั่นใจ ด้านการลงทุน และสถานการณ์ทั่วไปโดยเฉพาะในกัมพูชา จึงทำให้คริสเตียนีฯ จะต้องชะลอการลงทุนใน 2 ประเทศนี้ไว้ก่อน

ทีนี้ ก็มาถึงการเข้าไปลงทุนในบริษัทแม่ " คริสเตียนี แอนด์ นีสเส็น เอ/เอส" ที่เดนมาร์ก ด้วยเงินลงทุนที่เข้าไปเทคโอเวอร์ บริษัทแม่ ถึงเกือบ 100% ทำให้คริสเตียนีฯ ไทยค่อนข้างจะมีบทบาทสูงสุดในการชี้เป็นชี้ตาย องค์กรธุรกิจจก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่มาในอดีต ด้วยเครือข่ายของบริษัทแม่ที่สร้างในอดีต อย่างเช่น คริสเตียนีแอนด์นีลเส็น จีเอ็มบีเอช ที่เยอรมันนี อังกฤษ คริสเตียนีเมอรอสัน ที่สก็อตแลนด์ม และในอียิปต์

งานของคริสเตียนีฯ ที่เดนมาร์ก ที่เพิ่งรับล่าสุดและแสดงให้เห็นถึงนโยบายในการเข้าไปรับงานมในเครือข่ายได้อย่างดีก็อย่างเช่น การ่วมทุนระหว่างคริสเตียนี ที่อังกฤา กับบริษัท technical company of general ในการออกแบบและกอ่สร้างอุโมงค์ค์ใต้น้ำพร้อมถนน 2 เลนยาว 1 กม. ลอดช่องแคบซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉพียงเหนือของกรีก ซึ่งคาดว่จะใช่งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,230 ล้านบาท

และอีกงานที่ถือว่าเป็นงานใหญ่พอสมควรและเครือข่ายคริสเตียนีฯ ทางแถบยุโรป นั่นคือการให้คริสเตียนีฯ เยอรมันี ได้เข้าไปถือหุ้นในโนเบิลเคลีย จีเอ็มบีเอช ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเป็นบริษัทที่ดำเนินโครงการ konics wuster hausen อันเป็นโครงการพัฒนานอกเมืองแบบรวมเข้าด้วยกันที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน บนเนื้อที่ 870 ไร่ และจะต้องใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย เพื่อผลักดันโครงการนี้

ที่กล่าวมาเป็นการวาดภาพให้เห็นถึงรายละเอียดล่าสุดของการสยายปีกเข้าไปแต่ละภูมภาคทั่วโลก ซึ่งด้วยจำนวนของบริษัทที่มีอยู่มากมายเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ขององค์กรอสังหาริมทรัพย์ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

เพราะการที่จะบริหารให้แต่ละบริษัทในเครือข่ายไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ น่าจะเป็นความยิ่งใหญ่ยิ่งกว่า

" เราจะมุ่งขยายเครอข่ายในแต่ละสาขาคือการก่อสร้าง วิศวกรรม และพัฒนาที่ดินไปโดยการเปิดบริษัทใหม่เพิ่มไม่ต่ำกว่า 2-3 บริษัทต่อปี และในปีนี้ เราได้ตั้งเป้ายอดการดำเนินการทั้งปี ของคริสเตียนีทั้งในประเทศและเครือข่ายทั่วโลกไว้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทเป็นอย่างน้อย โดยเราตั้งเป้าไว้ว่า สำหรับคริสเตียนในไทยนั้น จะต้องทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาทเป็นอย่างน้อย แต่เพียงช่วงครึ่งปีแรก ก็สามารถสร้างรายได้มากถึง 2 พันกว่าล้านแล้ว"

จากคำกล่าวขั้นต้นของจอห์น ริชาร์ด มิลลาร์ด ประธานกรรมการบริหารและคณะกรรมการผู้จัดการของกลุ่มคริสเตียนีฯ คงจะแสดงให้เห็นถึงจุดยืนและความเชื่อมั่นขององค์กรนี้ได้มากพอสมควร ซึ่งในคำพูดดังกล่าวนั้นมี " นัยสำคัญ" ที่พอจะวิเคราะห์ออกมาได้ว่า คริสเตียนีฯ จะสามารถไปถึงฟากฝั่งฝันดังที่ตั้งไว้ได้หรือไม่

ปัจจัยที่น่าจับตามองซึ่งจะทำให้เป้าประสงค์ของคริสเตียนี บรรลุหรือไม่นั้น น่าจะเริ่มจากการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ในการบริหารบริษัทในเครือข่ายทั้งหมดจะพบว่า ข้อได้เปรียบของคริสเตียนีฯ ที่บังเอิญได้ส้มหล่นโดยสามารถเข้าไปซื้อกิจการบริษัทแม่ในราคาค่อนข้างถูก โดยเป็นเงินกู้จากธนาคารในเดนมาร์ก 1,500 และเป็นเงินสดอีก 500 ล้านบาท รวมแล้วเป็น 2,000 ล้านบาทเท่านั้น จากจุดนี้เอง ช่วยสร้างความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากต่อกลุ่มคริสเตียนีฯ ในเมืองไทย

ทังนี้นอกจากคริสเตียนีฯ จะได้รับการถ่ายทอดเทคดนดลยีฯ และความเชี่ยวชาญหลาย ๆ ส่วนรวมถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ในยุโรปมาให้ที่ไทยแล่ว เครดิตในการรับงานของคริสเตียนีฯ ในไทย ก็พลอยดีตามไปด้วย โดยสังเกตได้จากงานในปัจจุบัน ที่คิรสเตียนีฯ ( ไทย) รับอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ถึง 32 โครงการ ซึ่งถึงว่าจะเป็นงานขนาดเล็ก หรือกลางเป็นส่วนใหญ่ จะมีงานใหญ่ก้อย่างเช่น โครงการไทยพาณิชย์พาร์คพลาซ่า แฟชั่นไอร์แลนดื แต่การที่คริสเตียนีฯ จะมีความสุขอยูกับเครดิตที่สั่งสมไว้ก่อนหน้า โดยไม่มองไปทิศทางของงานก่อสร้างอนาคตไว้ให้ดี แล้ว ย่อมจะประสบปัญหาในการรับงานอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน ที่งานก่อสร้างอาคารสูง ขนาดใหญ่หรือคอมเพล็กซ์ แม้ว่าจะมีเกิดขึ้นบ้าง แต่ ด้วยอุณหภูมิการแข่งขันเพื่อรับงานในช่องทางนี้นับวันจะสูงขึ้น ทั้งในกลุ่มของผู้รับเหมาก่อสร้างไทย หรือต่างชาติ รายอื่น เช่นญี่ปุ่น แม้แต่ผู้รับเหมาที่มาแรงเช่น ฟิลิปปินส์ ฮอสส์แมนน์ ซึ่งเคยเป็น " ฺ BUDDY" กันมาก่อน กับคริสเตียนีฯ ก็ขึ้นขั้นมาเป็นผู้รับเหมาที่มีงานมากที่สุดรายหนึ่งในขณะนี้ และด้วยกระแสแข่งขันมนช่องทางนี้ นับวันจะรุนแรง ฟิลิปปินส์ ฮอสส์แมนน์ ก้ได้เริ่มหาแนวทางที่จะปรับทิศทางของตน เข้าไปรับงานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เช่นรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว

จึงเป็นคำถามว่า คริสเตียนีฯ มีแนวความคิดที่จะปรับทิศทางของตนเข้าไปรับงานสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เช่นรถไฟฟ้า ใต้ดินแล้ว

จึงเป็นคำถามว่า คริสเตียนีฯ มีแนวความคิดที่จะปรับทิศทางเข้าไปหาส่วนแบ่งตลาดในช่องทางอื่นกับเขาด้วยหรือไม่

" อันที่จริง แล้วทางเรามีความสนใจจะเข้าไปประมูลงานภาครัฐในอนาคตเหมือนกัน แต่ในระยะที่ผ่านมา เรามีงานภาคเอกชนค่อนข้างมาก ต้องอย่าลืมว่าว่า คริสตียนีฯ เกิดขึ้นมาจากการรับงานโครงสร้างพื้นฐาน เช่นท่าเรือคลองเตย ถนนสายสำคัญหลายสาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อไปเราจะเริ่มหันมาจับงานสาธารณูปโภคมากขึ้น โดยเริ่มจากงานเล็ก ๆ ที่มีมูลค่างานไม่สูงมากนัก" จอห์น ประธานบริหารของคริสเตีนนีฯ ยังกล่าวยอมรับด้วยว่า ต่อไปงานภาครัฐด้านสาธารณูปโภคจะเป็นตลาดใหญ่ ในการับงานของผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ทุกค่ายเพราะจะมีงานรออยุ่ข้างหน้า ด้วยมูลค่าที่ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท

แต่จนถึงขณะนี้ มีปฏิกิริยาอะไรจากคริสเตียนีฯ ที่ส่อแสดงให้เห็นว่ามีความตระหนักดีต่อช่องทางงานใหม่ที่จะข้องขวนขวายรับเข้ามา

จะพบว่าแม่คริสเตียนีฯ จะมีการขยายอาณาจักรของตนเองอออกไปในข่ายงานเช่น วิศวกรรมก็ตามที แต่ก็เป็นการขยายข่ายงานออกไปผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อสร้างสาธารณปโภคขนาดใหญ่ หรือทางคริสเตียนีฯ ก้ยังไม่มีท่าทีแต่ประการใด ขนถึงขณะนี้ว่า จะร่วมปรึกษากับค่ายก่อสร้างรายใหญ่ทีมีความสมารถด้านสาธารณูปโภคที่จะชักจูงให้เข้ามาร่วมทำงานในไทยแต่อย่างใด

แหล่งข่าวนักวิเคราะห์ด้านหลักทรัพย์ให้ความคิดเพิ่มเติมว่า ทางคริสเตียนีฯ ก็คงยอมรับโดยดุษฏีมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ตัวเองนั้น เป็นผู้รับเหมา งานก่อสร้างภาคเอกชนขนานแท้ เพราะที่ผ่านมา งานภาครัฐที่คริสเตียนรับอยู่นั้นมีอยุ่เพียง 2 % เท่านั้น ซึ่งหากเปรียบเทียบกับค่ายรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เช่นอิตาเลียนไทย ชิโนไทย สยามซินเท็ค ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วยกัน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ละค่ายก็ได้จับมือกับค่ายรับเหมาจากต่างชาติในรูปของ consortium เพื่อร่วมกันประมูลงานโครงการเช่นอิตาเลี่ยนไทยในโครงการรถไฟฟ้าธนายง, โรงบำบัดน้ำเสีย ชิโนไทยในโครงการบำบัดน้ำเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 รายก็ยังมีการผูกกับคู่ขาด้านงานก่อสร้างรายอื่นที่พร้อมจะดึงเข้ามารับงานสาธารณูปโภคอื่น ๆ ในช่วงต่อไป

" อันที่จริง ถ้าคริสเตียนีฯ มีความตั้งใจจริงที่จะเข้ามาธุรกิจสาธารณูปโภคแล้ว เขาจะต้องเริ่มออกชักชวนสมัครพรรคพวกที่รู้จักทางด้านงานสาธารณูปโภคได้แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้ระยะเวลาเนิ่นนานออกมาเช่นนี้เพระาหากเขามาเริ่มต้นตอนนี้ ก็เท่ากับว่า เขาช้ากว่าคู่แข่งไปแล้วอย่างน้อย 5 ปี"

อย่างไรก็ตาม จอห์น มิลลาร์ด ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่หันมาเน้นรับงานโครงสร้างพื้นฐานนั้น จะต้องมีทีมงานบางส่วนขึ้นมา พร้อมทั้งแบ่งงานตามชำนาญ ความถนัดในขณะนี้คริสเตียนีมีบุคลากรระดับคุมงานประมาณ 800 คน โดยเป็นระดับพนักงานทั่งไปอีก 10,000 คน ซึ่งหากงานประเภทใดที่ใช้เทคโนโลยีสูง และเมืองไทยขาดผุ้เชี่ยวชาญ ก็จำเป็นต้องขอผู้เชี่ยวชาญจากยุโรปเข้ามาช่วยด้วย

" ในแง่ของการปรับองค์กรเพือ่ประสิทธิภาพในการดำเนินการ ได้มีการทำมาในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา และจะดำเนินต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เพือ่ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงยิ่งขึ้น"

สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงในเรื่องของทิศทางของคริสเตียนีในช่วงต่อไป ก็คือในขณะที่งานก่อสร้างในเครือข่ายที่เดนมาร์ก และส่วนอื่นที่คริสเตียนีได้เข้าไปถือหุ้นอยู่ ยงเติบโตไม่ได้มากนัก ตามภาวะงานก่อสร้างในภูมภาคแถบนั้นที่ยังไม่กระเตื้องแต่ประการใด การที่คริสเตียนียังคงมุ่งหวังที่จะหวังรายได้เป็นกอบเป็นกำจากคริสเตียนีที่ไทย และคิรสเตียนีแห่งอื่นในภูมิภาคนี้เช่นจีน ฮ่องกง มาเลเซีย เพราะอุณหภูมิด้านพัฒนาอสังหาริมรัพย์ยังคงร้อนแรงอยู่นั้น ไม่ผิดแต่ประการใด

แต่บ่าที่ต้องแบกเอาภาระของบริษัทเครือข่ายในยุโรปที่ยังทำรายได้ได้ไม่มากนัก จะส่งผลประการสำคัญที่ทำให้คริสเตียนีฯ บริษัทแม่ที่เมืองไทย อาจจำเป็นต้องปันเงินส่วนหนึ่งเพื่อไปจุนเจือบริษัทททาง

ด้านนั้น ซึ่งจะส่งผลถึงความมั่นคงทางการเงินของคริสเตียนีฯ ในอนาคตได้

แหล่งข่าวนักวิเคราะห์รายเดิมให้ทัศนะว่าสิ่งที่คริสเตียนีฯ นอย่างยิ่งก็คือ การอัดฉีดความช่วยเหลือด้านบุคลากรด้านการตลาดเข้าไปเสริมเพื่อให้ บริษัทเครือข่ายในยุโรปมีศักยภาพที่จะเจาะเข้างานได้เข้มแข็งกว่านี้ และหากจำเป็นก็คงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบการรับงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้นด้วย

การกำหนดบทบาท ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของคริสเตียนีฯ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองกันใหม่ เพราะที่ผ่านมาโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของคริสเตียนีฯ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองกันใหม่ เพราะที่ผ่านมาโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของคริสเตียนีฯ ทั้ง 3 โครงการ ซึ่งเริ่มต้นเกือบจะพร้อมกัน คือโครงการออกซฟอร์ดพลาซ่า ดำเนินการโดยบริษัท สยามจตุจักร จำกัด โครงการซีเอ็นเพลส ดำเนินการโดยบริษัทซีเอ็นเพลส จำกัด รวมถึงโครงการบ้านและทาวเฮ้าส์ในซอยลาซาล จนมาถึงในขณะนี้ แม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบ 2 ปี แล้วก็ตาม โครงการดังกล่าวก็ยังติดปัญหาจนยังไม่สามารถขึ้นโครงการได้จนถึงขณะนี้

ความไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวเส้นของทางด่วนและรถไฟฟ้า ดูจะเป็นเหตุผลสำคัญของโครงการทั้ง 2 โดยในส่วนของออกซ์ฟอร์ดพลาซ่านั้น เนื่องจากเส้นทางจะเป็นเช่นไร และเมื่อแนวเส้นทางได้มีความชัดเจนขึ้นมา โครงการนี้ก็ได้เริ่มงานก่อสร้างแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแนวความคิดของโครงการไปบ้าง จากการมุ่งเน้นที่จะเป็นศูนย์รวมของสถาบันการศึกษาต่างประเทศก็จะออกมาในรูปของศูนย์การค้า และที่จอดรถแทน

" ส่วนโครงการหมู่บ้านที่ซอยลาซาลนั้น เราไม่ได้ทำ เพราะไม่สามารถซื้อที่ดินในราคาที่เหมาะสมได้ โครงการใหม่ของเราที่ดูอยู่ตอนนี้จะเป็นซอยหลังสวน เรามีที่ไว้แล้ว 2 แหลง แปลงละ 1 ไร่ ตามแนวความคิดขณะนี้เราทำเป็นคอนโดมีเนียมสูง 28 ชั้น จะก่อสร้างให้เสร็จภายใน 3 ปี" มิลลาร์ด กล่าว

นอกจากความไม่แน่นอนของคอนเซ็ปในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กิจการด้านนี้ของคริสเตียนีฯ ยังมีปัญหาอื่นเข้ามาข้องแวะ นับแต่เริ่มต้นแผนกนี้ขึ้นมาใหม่ ปัญหาของบุคลากรที่จะหาผู้เชี่ยวชาญมาควบคุมได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนั้น ดูจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้สม่ำเสมอของแผนกนี้ นับแต่การลาออกของสเวน อี เอ็นเอดร์เซ่นส์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาอสังหารมิทรัพย์ เมื่อประมาณ เดือนกันยายน 2535 ด้วยความเป็นผู้บุกเบิกงานนี้มาตั้งแต่ต้น และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ที่จะหาคนอื่นในคริสเตียนีฯ เทียบเคียงได้ยาก ทำให้การดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนั้น ติดขัดเป็นอย่างมาก

หลังจากนั้นได้มีการแต่งตั้งสยุมพร อนันตเศรษฐ์ ลูกหม้อคริสเตียนีฯ อีกรายหนึ่งทีผู้บริหารระดับสูงมีความไววางใจในเรื่องการพัฒนาที่ดินเป็นอย่างมาก ให้เข้มาดูแลในส่วนนี้ แต่สยุมพร ทนอยู่ในตำนห่งนี้ได้ไม่นาน ก็ต้องชิงลาออกในที่สุด หลังจากนั้น คริสเตียนีฯ ก็ได้มือดีอีกคนหนึ่งจากบริษัทโมแบล็กซ์ จำกัด คือวรวุฒิ วรรณชัยวงศ์ ให้เข้ามากุมบังเหียนในตำแหน่งสิบต่อไป เมื่อต้นที่ผ่านมา นี้เอง แต่ด้วยอาถรรพ์ หรือระบบที่ยังไม่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นแต่อย่างใด ก็ทำให้วรวุฒิต้องระเห็จกลับไปนั่งเป็นผู้อำนวยการทั่วไปของโมเบล็กซ์เหมือนเดิม หลังจากอยู่คริสเตียนีฯ ได้เพียง 10 เดือนเท่านัน

" ไม่ใช่เรื่องอาถรรพ์แต่อย่างใด เป็นเพราะระบบภายในของคริสเตียนีฯ นั่นเอง ที่สร้างความอึดอัดให้เกิดขึ้นกับผุ้บริหารระดับกลาง นับตั้งแต่ คุณเสเวน ดร.สยุมพร หรือแม้แต่คุณวรวุฒิ คนล่าสุด พราะการตัดสินใจดำเนินการแต่ละขั้นตอนนั้น ต้องผ่านหลายด่านที่จะคอยกลั่นกรอง โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ค่อยมีอำนาจตัดสินใจกับผู้บริหารระดับกลางมากนัก" แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับคริสเตียนีฯ รายหนึ่งให้ความเห็น

ด้วยระบบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานมากนักของคริสเตียนีฯ นี้เอง ทำให้ที่ผ่านมาปัญหาบุคลากรไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแผนกพัฒนาอสังหารริมทรัพย์เท่านั้น พนักงานของคริสเตียนีฯ ในส่วนอื่นเช่นวิศวกร ฝ่ายบัญชี เลขานุการ ก็ได้มีการยกพวกออกมาแล้วครั้งหนึ่งในราวปี 2536 ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงหลังกระแสการลาออกของคนในคริสเตียนีฯ ดูจะเบาบางลงไป แต่ก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดทิศทางของคริสเตียนีในช่วงต่อไป พร้อมทั้งผลประกอบการที่น่าพอใจมากกว่านี้ด้วย

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ด้วยยอดดำเนินการในปีนี้ ที่คาดกันว่า ประมาณ 1หมื่น-1.5 หมื่นล้านบาทของคริสเตียนี และเครือข่ายทั้งหมด ตัวเลขดังกล่าวแม้จะดูค่อนข้างมาก แต่กากเปรียบเทียบกับเครือข่ายที่อยู่ทัง 2 ทวีป จะพบว่า ยอดดำเนินการน่าจะสูงได้มากกว่านี้ในช่วงต่อไป หากคริสสเตียนีฯ สามารถกระตุ้นให้เครือข่ายยุโรป และทีอื่นใดซึ่งจะมีการจัดตั้งขึ้นในอนาคต สร้างผลดำเนินงานให้สูงกว่าปัจจุบันแล้ว คริสเตียนีฯ คงจะทราบเป็นอย่างดี แล้วว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจเป็นเพียงการวางรากฐานในระยะเริ่มแรกที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา ในช่วงที่มีการขยายกิจการเป็นอย่างมากนั้น ราคาหุ้นของคริสเตียนีฯ ก็ได้มีการปรับตัวขึ้นไปรับกับข่าวพอสมควร ทำให้อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น ( ค่าP/E Ratio) ปรับตัวขึ้นไปถึง 3 เท่า นับว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่า P/E ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และของตลาดทั้งหมด ในขณะที่ความสามารถทำกำไรของบริษัท ในปี 2536 อยู่ที่ 18.42 เท่า ต่ำกว่าปี 2535 ที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงถึง 32.27 เท่า ส่วนในปีนี้แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เปิดเผยว่า กำไรต่อหุ้นของคริสเตียนีฯ น่าจะตกอยู่ประมาณ 7.15 บาท ต่อหุ้น ในปีหน้า จะโตขึ้นประมาณ 24% ขึ้นไป เป็น 8 บาทต่อหุ้น

อีกหนึ่งปัญหาที่คริสเตียนีฯ จะต้องประสบในแง่ผลดำเนินการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ต้นทุนทางด้านการก่อสร้าง งานวิศวกรรมที่คริสเตียนฯ หันมาเปิดกิจการเหล่านี้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้คริสเตียนีฯ จำเป็นต้องแบกต้นทุนที่จะต้องผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้ไปตลอดรอดฝั่ง ซึ่งโดยธรรมชาติของบริษัทที่รับงานเกี่ยวกับระบบวิศวกรรมนั้น จะมีระยะเวลาไปถึงจุดคุ้มทุน ( Break event point) มากกว่ากิจการประเภทอื่นที่อยู่ในหมวดอสังหาริมทรัพย์ด้วยกัน นอกจากนั้นด้วยสภาวะปัจจุบันที่การแข่งขันเพื่อรับงานก่อสร้างมีสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยปฏิภาคโดยตรงกับความก้าวหน้าของธุรกิจด้านนี้ของคริสเตียนีฯ

นั่นหมายถึงว่า ธุรกิจด้านนี้มีความเสี่ยงพอสมควรในตัวของมันเอง หากคริสเตียนีฯ พยายามไปเน้นให้น้ำหนักกับงานด้านก่อสร้างหรืออสังหาริมทรัพย์ มากเกินไปแล้ว ก็จะมีผลทำให้ธุรกิจประเภทนี้มีความเสนี่ยงมากขึ้นอีก

สถานะทางการเงินที่จะมีจุดเอื้อทำให้คริสเตียนีสามารถระดมเงินจากแหล่งเงินทุนหลากหลายแห่ง เพ่อให้เกิดสภาพคล่องในการทำโครงการอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าจับตามอง ว่า ด้วยอสังหาริมทรัพย์ หลากลหลายโครงการทั้งในจีน มาเลเซีย ฮ่องกง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการค่อนข้างใหญ่ จำนวนเงินทุนที่ลงไปพลอยมหาศาลตามไปด้วย ที่คริสเตียนีฯ กล่าวไว้ว่า นอกจากากรระดมทุนทางด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วจะมีวิธีการอื่นที่เตรียมไว้แล้วในการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนแห่งอื่นอีกหรือไม่

นักวิเคราะหืหลักทรัพย์รายเดิมให้ความเห็นว่าคริสเตียนี แอนด์ นีลเส็น ที่เดนมาร์ก จะเป็นสะพานสำคัญที่สร้างช่องทางสำคัญในการระดมทุนจากทางยุโรป เข้ามาช่วยเหลือโครงการต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตได้ เป็นอย่างมาก .ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการออกหุ้นกู้ หรือวิธีการอื่น

" นอกจากนั้นด้วยสายสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจอื่น อย่างเช่น เครือเจิรญโภคภัณฑ์ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายสำคัญอย่างเช่นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จะเป็นหลักประกันสำคัญของการระดมทุนเจข้ามาใช้ในในโครงการได้เป็นอย่างดี"

ด้วยข้อได้เปรียบที่มีผู้ถือหุ้นเป็นองค์กรธุรกิจใหญ่ของไทย

ด้วยข้อเด่นที่มีนดยบายสยายปักองค์กรอกไปให้กว้างไกล

และด้วยข้อด้อยด้านระบบภายใน ด้านบุคลากร การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การจำกัดตัวเองไว้แต่ในงานเอกชน เหล่านี้ จะผสมผสานกันออกมาเป็นสูตรสำเร็จที่จะบอกได้ว่า คริสเตียนี และนีลเส็น ( ไทย ) จะก้าวขึ้นแป้นบริษัทแนวหน้าในวงการ สมกับที่ใช้เวลาเข้ามาบุกเบิกงานในไทยถึง 64 ปี ได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us