|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นายวัลลภ พุกกะณะสุต รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีที่ บริษัทแอร์บัส อินดัสตรี้ จำกัด เลื่อนกำหนดส่งมอบเครื่องบิน แอร์บัส A 380-800 ซึ่งการบินไทยทำสัญญาสั่งซื้อไว้ 6 ลำออกไปอย่างน้อย 22-24 เดือน จากกำหนดเดิมที่จะส่งมอบในเดือนพ.ย. 2552 -2553 (2009-2010 ) นั้น กระทบต่อการวางแผนด้านการตลาดของบริษัทโดยทำให้ในปี 2550 บริษัทยังไม่มีแผนในการเปิดจุดบินใหม่ในแผนระยะสั้น เนื่องจากเครื่องบินไม่เพียงพอ แต่จะใช้วิธีเพิ่มเที่ยวบินในจุดบินที่มีกำไร เพราะไม่ต้องลงทุนเพิ่ม และไม่มีความเสี่ยง
ทั้งนี้ ปัญหาการเลื่อนส่งมอบเครื่องบินของแอร์บัสนั้น จะต้องรอนโยบายจากฝ่ายบริหารรวมถึงคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทชุดใหม่ ซึ่งจะมีการแต่งตั้งในการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 ธ.ค. 2549 นี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไร คาดว่าประมาณเดือนก.พ. 2550 น่าจะมีความชัดเจน โดยในระหว่างนี้ มีการศึกษาแผนรองรับไว้ ทั้งกรณีที่ยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือตกลงเลื่อนรับมอบเครื่องบิน พร้อมๆ กับการเจรจากับแอร์บัสถึงความชัดเจนในการส่งมอบและค่าชดเชยความเสียหายที่จะต้องจ่ายให้บริษัท ซึ่งแอร์บัสจะเสนอมาที่บอร์ดการบินไทย
"จนถึงขณะนี้ แอร์บัสยังไม่ยืนยันกำหนดส่งมอบที่แน่นอนได้ว่าเมื่อใด ซึ่งหากชัดเจนนอกจากเรื่องค่าชดเชยแล้วก็ต้องวางแผนร่วมกันใหม่ เพราะแผนเดิมจะนำ A 380 มาบินในเส้นทางไกล ที่มีผู้โดยสารมาก เช่น ลอนดอน แฟรงเฟริสต์ ปารีส ญี่ปุ่น หรือจีน หรือในบางสนามบินที่ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนเที่ยวบินได้ ก็ต้องเลี่ยงไปเพิ่มความจุของเครื่องบินแทน"นายวัลลภกล่าว
***ฟุ้งกำไร 49 เพิ่มเท่าตัว**
นายวัลลภ กล่าวว่า ผลประกอบการในปี 2549 คาดว่าบริษัทมีรายได้เพิ่มจากจากปี2548 และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6.78 พันล้านบาท เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ในขณะที่ Load Factor อยู่ในระดับ 75% ส่วนในเดือนต.ค. 2549 มี Load Factor ประมาณ 77% ซึ่งถือว่าค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 13-14% แต่ทั้งนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพราะมีหลายปัจจัย ทั้งที่เกาหลี อิหร่าน ฯลฯ แม้ว่าปัจจุบันระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับลดลง ซึ่งประมาณเดือนธ.ค.นี้บริษัทจะประกาศปรับลด ค่าธรรมเนียมชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Surcharge) จากผู้โดยสารสำหรับเส้นทางบินระหว่างประเทศลง เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ส่วนเส้นทางไกล การบินไทยเก็บในระดับที่ต่ำกว่าสายการบินอื่นอยู่แล้ว ทั้งนี้หากเทียบราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การบินไทยสามารถ เก็บค่าธรรมเนียมชดเชยได้เพียง 40% ส่วนอีก 60 % ต้องแบกรับไว้เอง
** การบินไทยพร้อมบินสมุย**
นายวัลลภกล่าวว่า ในระยะสั้นคาดว่าจะสามารถเปิดเส้นทางบินเพิ่ม คือ กรุงเทพ-สมุย ซึ่งคาดว่าจะเปิดได้วันละ 2 เที่ยวบินโดยปัญหาเรื่องขีดความสามารถของรันเวย์ กรมการขนส่งทางอากาศ ได้ให้การรับรองแล้วว่า สามารถรองรับเครื่องบิน แอร์บัส 737-400 ได้ รวมถึงมลภาวะทางเสียง ทางสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ยืนยันว่าไม่มีปัญหาเช่นกัน เหลือเพียงการขอเพิ่ม Slot Times ซึ่งตามมาตรฐานรันเวย์เดี่ยว สามารถรับได้ 70-80 เที่ยวบินต่อวัน
โดยบริษัทพร้อมที่จะเปิดบินสมุย เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้โดยสารที่มาจากยุโรปและต้องการเดินทางไปสมุยเดือนละกว่า หมื่นคน นอกจากนี้ การบินไทยยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบไอที เพื่อทำการบินร่วม (โค้ดแชร์) กับบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนมี.ค. 2550
***เปิดดอนเมืองเอื้อประโยชน์โลว์คอสต์**
นายธีรพล โชติชนาภิบาล ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย บริษัทการบินไทยกล่าวว่า กรณีที่จะมีการเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้งนั้น ในส่วนของการบินไทยเห็นว่า จะต้องมีความชัดเจนเรื่องค่าบริการ และค่าใช้จ่าย ต่างๆ และต้องเปิด กว้างให้ทุกสายการบิน เพราะหากกำหนดว่าให้เฉพาะโลว์คอสต์แอร์ไลน์ น่าจะไม่ถูกต้องนัก เพราะสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service) อยู่ที่สุวรรณภูมิ เสียค่าใช้จ่ายเต็มที่ ให้กับทอท. ในขณะที่ทอท. กลับนำรายได้จากสุวรรณภูมิมาสนับสนุนดอนเมืองที่ให้บริการ โลว์คอสต์แอร์ไลน์แล้วขาดทุน
|
|
 |
|
|