แบงก์ไทยพาณิชย์ จัดเป้นแบงก์ขนาดใหญ่ อันดับสี่ของประเทศ รองจาก แบงกืกรุงเทพ
กรุงไทย และกสิกรไทย เป้นเวลาสองปีเต็มที่โอฬาร ไชยประวัติ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ไทยพาณิชย์
กำไรสุทธิของแบงก์ปีที่แล้ว ต่ำที่สุดในกลุ่มยักษ์ใหญ่ นโยบายและการปรับโครงสร้างปรากฏในรูปของกิจการใหม่
ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยแยกส่วนธุกริจที่ไม่เกี่ยวกับแบงก์ออกไป และใช้กลยุทธ์ตั้งบริษัทใหม่ร่วมกับสี่พันธมิตรหลักที่มีความชำนาญในด้านที่แบงก์ไม่มีเช่น
แลนด์แอนด์เฮาส์ คริสเตียนีฯ จีเอฟ หรือ ซีพี ขยายเครือข่ายธุรกิจให้กับการเปลี่ยนแปลงใหม่
ๆ ที่เกิดขึ้นจาการเปิดเสรีทางการเงิน
แดดอ่อน ๆ ยามเย็นที่หาดตะวันรอน หรืออริยาบท ผ่อนคลายของโอฬาร ไชยประวัติ
หลังจากจบรายการแบงก์ไทยพาณิชย์เสวนา ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของนายธนาคารสำคัญคนหนึ่งของไทยต่อเศรษฐกิจในปีหน้า
2538 เป็นภาพสบาย ๆ เป็นกันเองในหมู่สื่อมวลชน
ธนาคารแบงก์ไทยพาณิชย์ ยุคโอฬาร มีหลายเรื่องทีได้ทำไปแล้วแต่ก็มีหลายเรื่องที่ยังไม่ได้กระทำ
ทั้ง
ๆ ที่แบงก์ไทยพาณิชย์ ได้ชื่อว่า เป็นองค์กรที่มีพลวัตมาก ๆ แห่งหนึ่ง
ปีแรกภายใต้การนนำของโอฬาร ปรากฏว่าตัวเลข กำไรสุทธิปีที่แล้ว ของแบงก์ไทยพาณิชย์เพิ่มขึ้นเพียง
16% ซึ่งต่ำที่สุดในทอปโฟร์ซึ่งได้แก่ แบงก์กรุงเทพ กสิกรไทย กรุงไทย และไทยพาณิชย์
ทั้งนี้เกิดจากการขยายตัวของสินเชื่อเพียง 16% ในปี 2536 ขณะที่เงินฝากกลับโตมาก
ๆ ถึง 21 % ทำให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเพียง 5.13% เท่านั้น
จุดอ่อนของแบงก์ไทยพาณิชย์อยู่ที่นโยบายที่จะรักษาสัดส่วนสินเชื่อมต่อเงินฝาก
ในระดับที่ต่ำกว่า 100% จากตัวเลขสินเชื่อต่อเงินฝาก ร สิ้นเดือนตุลาคม 2537
อยู่ที่ 99.32 เหตุนี้จึงทำให้บางครั้ง แบงก์ไทยพาณิชย์ เสียโอกาสในการสร้างรายได้สูงสุด
ขณะที่ ภาวะส่วนต่างของดอกเบี้ยรับ-จ่าย ยังอยุ่ในเกณฑ์สูง เหมือนที่เกิดขึ้นในปี
2536
"เผอิญของแบงก์ไทยพาณิชย์มันสูงอยู่แล้ว จะขึ้นเป็นร้อยเปอร์เซนต์เหมือนในอดีตคงเป็นไปไม่ได้
เพราะเราสุงมาตลอด 10-20 ปีแล้ว แต่ถ้าวัดโดยผลตอบแทนต่อเงินกองทุนก็ประมาณ
25% ไม่ต่ำเท่าไร หรือเกือบจะสูงที่สุดในระบบ" กรรมการผุ้จัดการใหญ่
เล่าให้ฟัง
อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนโยบายปล่อยเสรีด้านการเงินของแบงก์ชาติ ย่อมทวีความเข้มข้นและรุนแรงอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งของแบงก์ต่างประเทศ ทั้งหน้าเก่า 14 ราย และหน้าใหม่
อีก 20 ราย ที่เป็นสำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศที่เปิดดำเนินการวิเทศธนกิจ
( BIBF)
ผลกระทบจากการเปิดเสรีในช่วงสองปีนี้ ได้เปลี่ยนโครงสร้างการเงินการธนาคารและวิธีหากินของแบงก์ไปมหาศาล
ลูกค้ารายใหญ่ไม่ง้อแบงก์ ไประดมทุนเองด้วยการออกหุ้นกู้แบบแลนด์แอนด์เฮ้าส์
ทำหรือไปกู้บีไอบีเอฟ ทำให้แบงก์ต้องเสริมการหารายได้หลักด้วยการขยายฐานประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และไปลงทุนเพิ่มในกิจการอื่นเกิน
10% ได้ เพราะแบงก์ชาติอนุมัติ
เพื่อช่วงชิงโอกาสในอนาคตการปรับตัวองค์กรให้อิสระและคล่องตัวจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างเร็ว
ในองค์กรที่มีพลวัต ฉะนั้นแบงก์ ไทยพาณิชย์จึงได้เข้าสู่ยุคแห่งการจัดระเบียบใหม่ของพนักงานระดับสูงแบบน่าตื่นตาตื่นใจที่สุด
ในยุคโอฬาร!! หลังจากที่ปรับมาเรื่อย ๆ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยยึดตลาดและฐานลูกค้าเป็นหลัก
ผิดกับยุคเก่าที่แบ่งตามฟังก์ชันงานที่แยกเป็นสินเชื่อ เงินฝาก บัญชี
คนเหล่านี้ ถูกเรียกว่า " มืออาชีพ" นับตั้งแต่ รองผู้จัดการใหญ่สามคน
คือประกิต ประทีปะเสน ชฏา วัฒนศิริธรรม และบรรณวิทย์ บุญญรัตน์ พรั่งพร้อมด้วยผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อีก
10 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผู้ช่วยฯ อาวุโส 7 คน ได้แก่ สมโภชน์ อินทรานุกูล ชัชวาล
พรรณลาภ เกรียง เกียรติเฟื่องฟู สภาพร ชนะจิตร ศักดิ์ เกี่ยวการค้า วิชิต
อมรวิรัตนสกุล และวิรัตน์ รัตนาภรณ์ ส่วนที่เหลือได้แก่เพิ่มพุน ไกรฤกษ์
นะเพ็งพาแสง กฎษณามระ และชาลี วรรณวสุ
ประกิต ประทีปะเสน คุมสายงานยเกษตร และพาณชย์ สายงานอุตสาหกรรมและบริการ
และส่ายงานลูกค้าเงินออมซึ่งมีพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ วิรัติ์รัตนาภรณ์ และสมโภชน์นุกูล
เป็นผู้ช่วย
จะเห็นได้ว่า นโยบายไทยพาณิชย์ปล่อยเงินกู้ 20% ของทั้งหมดเป็นสินเชื่อสู่ชนบท
และธุรกิจเกษตรพืชผลส่งออกสูงติดต่อกันมาสองปีแล้ว เพราะตัวเลขส่งออกรวมของไทยรุ่งโรจน์ถึงหนึ่งแสนล้านบาทในปีนี้
ขณะที่สินเชื่ออุตสาหกรรมและบริการแบงก์ได้ " ชะลอ" การให้ธุรกิจโรงแรม
คอนโดมิเนียม ห้างสรพพสินค้า เพราะผลิตเกินความต้องการ แต่ธุรกิจที่แบงก์
" ยกเลิก" การให้สินเชื่อ คือ สนามกอล์ฟ และธุกริจมันสำปะหลัง
ซึงอิ่มตัวแล้ว ปีที่แล้วแบงก์จึงเรียกเก็บหนี้เก่าค้างชำระเท่านั้น
ด้านนโยบายขยายฐานเงินฝากของลูกค้าในโครงการ " เมืองไทยธนกิจ"
ซึ่งมีลูกค้าเมื่อสิ้นปี 2535 อยู่จำนวน 244 ราย โดยแต่ละรายมีเงินฝากตั้งแต่
10 ล้านขึ้นไป แบงก์ก็ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพราะนี่คือลูกค้ารายใหญ่ที่มีจำนวนเงินฝากถึง
9,000 ล้านบาท
ส่วนบรรณวิทย์ บุญญรัตน์ คุมสายลูกค้าบุคคล ซึ่งดูแลโดยผู้ช่วยฯ ที่ชื่อไม่เหมือนใคร"
นะเพ็งพาแสง" ( ซึ่งเกิดจากชื่อบรรพบุรุษของตระกูลกฤาณามระ) สายงานทรัพยากรบุคคล
ของ ศักดิ์ เกี่ยวกับการค้า และสายงานเทคโนโลยี ของผู้ช่วยวิชิต อมรรัตนสกุล
ไทยพาณิชย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกระบบการจ่ายเงินเอทีเอ็มแห่งแรก และระบบเทเลแบงกิ้ง
จ่ายเงินเอทีเอ็ม แห่งแรก และระบบเทเลแบงก์กิ้งอินโฟแบงก์ ซึ่งได้พัฒนาระบบบริการข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์
จากเดิมที่บริการผรีแล้วเริ่มเก็บปีละ 1,000-2,000 เพื่อลดต้นทุน และริเริ่มบริการ
videotext ระบบภาพและเสียงผ่านดาวเทียมแก่ลูกค้าด้วย
วิชิต เป็นคีย์แมนคนสำคัญคนหนึ่งที่ส่วนสร้างผลงานชิ้นเอก " ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ"
มูลค่า 1,300 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของการบริหารยุคใหม่!!
มิติใหม่ของการบุกเบิกตลาดด้านธุกริจไฮเทค เป็นวิสัยทัศน์ทีโอฬารเห็นว่า
จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย จุดนี้ได้ก่อให้เกิดธุรกิจสารสนเทศเกิดขึ้นในพอร์ตลงทุนของไทยพาณิชย์
ถึง 4 บริษัท ได้แก่ " บริษัทสยาม คอมเมอร์เชียล ลิงค์ " ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนของอุตสาหกรรมไฮเทคต่างชาติ
รวมทั้งหาแหล่งเงินทุน คู่ค้าทางธุรกิจและหาผู้บริหารให้ด้วย ขณะที่ "
บริษัทเอสซีบี เทคโนโลยี ดีเวลลอปเม้นท์" ให้คำปรึกษาด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีชีวภาพกับลูกค้า"
นอกจากนี้ ธุรกิจไอทีก็เป็นอีกสายหนึ่ง " บริษัทสยามเทคโนโลยีและบริษัทสยามสารสนเทศประมวลผล"
ซึ่งทั้งสองบริษัทจะเป็นตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมระบบเงินฝากและเอทีเอ็มด้วย
โดยมีลูกค้าเช่น แบงก์สหธนาคาร นครหลวงไทย และซิตี้แบงก์ เป็นต้น
ปีที่ผ่านมา ไทยพาณิชย์ จัดสรรงบ 700 ล้านบาทพัฒนาระบบงานสารสนเทศสู่ระบบธนาคารรุ่นที่
5 ทำให้สาขากว่า 350 แห่ง ได้รับข้อมูลด้านลูกค้าและการให้บริการที่รวดเร็วขึ้น
ในการดูแลบัญชีกว่า 4 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นกลยุทธ์การบริการที่จะเสริมการทำธุรกิจแบงก์ให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
และเป็นหารปรับฐานเทคโนโลยีครั้งใหญ่ในการวางระบบ BETAS แทนของเก่าที่เรียกว่า
SEF1 ที่ แบงก์ใช้มานานกว่า 12 ปีแล้ว
ขณะที่บรรณวิทย์ทำงานใหญ่เงียบ ๆ อยุ่ข้างหลัง ชฏา วัฒนศิริระรม ก็เป็นนายแบงก์หญิง
ที่ชอบเก็บตัว ชีวิตการทำงานของชฏาหลังออกจากแบงก์ชาติ เริ่มต้นที่งานวิจัยวางแผน
และในอดีตเคยทำหน้าที่กึ่ง ๆ เลขาประจิตร ยศสุนทร ซึ่งรับเป็นกรรมการมากมายในยุคแรก
วันนี้ชฏาต้องแบกรับการกิจสร้างรายได้หลักให้กับแบงก์โดยการะจายบริหารสามฝ่าย
- สายงานธุกริจขนาดใหญ่ 1 ที่มีระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อย่าง ชาลี วรรณวสุ
ดูแล
- สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 2 กับมืออาชีพอย่างเกรียง เกียรติเฟื่องฟู
- สายงานตลาดเงินตลาดทุนที่มืออาชีพอย่างชัชวาล พรรณลาภ ควบคุมอยู่
ลักษณะการแบ่ง corporate Lending ในสายงานธุกริจขนาดใหญ่ที่แบ่งเป็น 4 พื้นที่
ประเภทลูกค้า ศิลปชัย คฤหรัตน์ ดูแล ลูกค้ากลุ่มประเทศเอเชียทั้งหมด ไม่ว่าลุกค้าญี่ปุ่น
ไต้หวัน เกาหลี หรืออินเดีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ที่เข้ามาลงทุนในระยะ 8 ปี ที่ผ่านมา
ขณะที่การลงทุนจากไทยไปยังประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียไม่ปรากฏ
" เมือ่ปี 2531 เราส่งออกไปอเมริกาเยอะถึง 20% ยุโรป 21% ญี่ปุ่น
16% อาเซียนและอินโดจีน 12% ล่าสุดเดือนนี้เองสัดส่วนของอาเซียนและอินโดจีน
เพิ่มเป้น 22% สุงกว่าอเมริกาเสียอีก !! มันเป็นการก้าวกระโดดที่มีแนวโน้มว่าอีก
3 ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น 25%" นี่คือ วิสัยทัศน์ที่โอฬารวิเคราะห์จากงานวิจัยของบริษัท
ศูนย์วิจัยไทนพาณิชย์ซึ่งเป็ยบริษัทน้องใหม่
ส่วนชัยณรงค์ สมบัติศิริ ดูแลฝ่ายธุกริจ 2 เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เช่นสหพัฒนกรุ๊ป
สหยูเนี่ยนกรุ๊ป หรอืกลุ่มอื่น ๆ ที่พัฒนาสู่การแข่งขันระดับสากลฃได้
ขณะที่ สมฤดี อมาตยกุล ดูแลฝ่ายธุรกิจ 3 กลุ่มลูกค้าแถมอเมริกาและยุโรป
ที่ไม่ใช่กลุ่มเอเชียโดยจะแบ่งตามโซนธุรกิจ นอกจากสมฤดี ยังเป็นกรรมการบริษัท
Designee for BECL ซึ่งเป็นบริษัทที่เจ้าหนี้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นรองรับความเสี่ยง
ในกรณีโครงการสัมปทานขนาดใหญ่นั้น สะดุดปัญหาจนดำเนินงานต่อไปไม่ได้ทำให้ทุกโครงการเงินกู้ขนาดใหญ่หมื่น
ๆ ล้านต้องมีบริษัท Designee เช่นโครงการเทเลคอม เอเชีย ก็มีบริษัท WTA
แต่วิกฤตการณ์แตกหักระหว่างกุมาไกกูมิ กับการทางพิเศษฯ ทำให้เจ้าหนี้หนาว
ๆ ร้อน ๆ และวิ่งวุ่นในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์โครงการทางด่วนพิเศษขั้นที่สอง
ให้ลงตัว ในเวลาอันจำกัด สมฤดีกล่าวว่า เป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยลืม
" เหนื่อยมาก ทำงานวันละ 20 ช.ม. 7 วัน นานถึง 6 เดือน เรามีระยะเวลาสั้นมาก
แต่มีปัญหามากจากทุกกลุ่ม เหนื่อยสุดแต่คุ้มค่า" นี่คือผู้จัดการสตรีเหล็กที่ชื่อสมฤดี
ผู้จัดการฝ่ายฯ อีกคนที่ดูแลประเภทลูกค้าโครงการขนาดใหญ่คือ " ศรันทร์
ชุติมา" เป็นม้ามืดที่เข้ามาดูฝ่ายธุรกิจ 4 เช่นบริษัทน้ำมัน ปิโตรเคมีและธุรกิจไทยดั้งเดิม
เช่นบุญรอด บริวเวอรี่ ปูนซีเมนต์ไทย
" ที่ผ่านมาปล่อยกู้ให้โครงการนิคมอุตสาหกรรม เช่น บางประกง ปิโตรเคมี
โครงการใหญ่เหล่านี้ต้องทำต่อเนื่องตามสัญญา เราไม่ค่อยร่วมทุนจะมีน้อยมากในปีหน้าโครงการใหม่
ๆ มองเห็นด้านสาธารณูปโภค เช่นไฟฟ้า น้ำประปา การขจัดมลพิษ " ชฏา รองผู้จัดการใหญ่กล่าว
สายงานต่างประเทศในความรับผิดชอบของสถาพร ชินะจิตร ได้ทวีบทบาทสำคัญ ในการขยายออกไปยังต่างประเทศ
หรือเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจบีไอบีเอฟ และการหารายได้จากต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตลาดเงินที่ไหนของราคาถูก พอขายก็ได้กำไรมาก
ปัจจุบันไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศ 7 สาขา ได้แก่ ลอนดอน ลอสแอลเจลีส
กรุงนิวยอร์ค ชิคาโก ฮ่องกง เวียงจันทร์ และสิงคโปร์ ทีเปิดไปแล้วอย่างไม่เป็น
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ทีผ่านมา กับอีกบริษัทร่วมทุนคือธนาคารกัมพูชาพาณิชย์
ล่าสุดที่เพิ่งเปิดสาขากำปงโสม
" เราต้องการเปิดให้ครอบคลุมพื้นที่สี่ทิศ และจุดสำคัญๆ ในกัมพูชา
เช่นนครวัด เสียมราฐ เป็นเมืองท่องเที่ยว พระตะบอง เป็นเมืองสำคัญ แต่กำปงโสมเป็นเมืองท่าติดอ่าวไทยมีสินค้าเข้า-ออกเมืองนี้มาก
เหมาะทำธุรกิจแบงก์" สถาพร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโสเล่าให้ฟัง
แผนงานนโยบายปีหน้า 2538 ไทยพาณิชย์มีเป้าหมายเปิดสำนักงานตัวแทนที่เมืองหนานหนิง
มณฑลกวางสี ประเทศจีน แม้ว่าจะไปช้ากว่ากสิกรไทย เพราะไทยพาณิชย์ไม่ใหญ่ติดอันดับ1-200
ต้องรอคิวก็ตาม แต่มัวรออีกไม่ได้แล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายแบงก์ชาติที่ให้แบงก์ไทยไปปักธงขยายฐาน
ระหว่างที่รอ ไทยพาณิชย์ก็ร่วมลงทุนกับบริษัทน้ำตาลมิตรผล ที่โรงงานน้ำตาล
ขณะเดียวก็ใช้บริษัทเอสซีบีโอลิดิ้ง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการเป็นตัวหาข้อมุลลู่ทางลงทุนและพันธมิตรอื่น
ๆ
ในปีหน้า ธนาคารกาฐมัณทุ เนปาลซึ่งแบงก์ไทยพาณิชย์ถือหุ้น 30% ก็จะเปิดบริการคนไทยที่ไปลงทุนที่นั่น
ตอนนี้อยู่ระหว่างหาสสถานที่ เช่นเดียวกับที่อินเดียคาดว่าต้น ๆ ปี จะเปิดสาขาเต็มรูปแบบ
ขณะที่เวียดนามยังรอใบอนุญาตอยู่
ดังนั้นทิศทางการแข่งขันธุรกิจไอบีเอฟ ในอนาคต ไทยพาณิชย์จึงจำเป็นต้องมีแขนขาช่วยระดมทุนที่นั่น
ตอนนี้อยู่ระหว่างหาสถานที่ เช่นเดียวกับที่อินเดีย คาดว่าต้น ๆ ปี จะเปิดสาขาเต็มรุปแบบขณะที่เวียดนาม
ยังรอใบอนุญาตยอยู่
ดังนั้นทิศทางแข่งขัน ธุรกิจบีไอบีเอฟ ในอนาคต ไทยพาณิชย์จึงจำเป็นต้องมีแขนขาช่วยระดมทุนเงินตราจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ต่อ
โดยเม็ดเงินที่มีอยู่ในตลาดเงินของโลก เช่นสาขานิวยอร์ค ลอนดอน ฮ่องกง และสิงคโปร์
จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่มีความเสี่ยงยามผันผวน
สังเกตได้ว่า เมื่อก่อนกิจการวิเทศธนกิจ ไม่มีเมื่อปี 2530 แบงก์ต่างประเทศในไทยมีตัวเลขแหล่งเงินฝาก
80% และแหล่งเงินกู้ 20% แต่ปีล่าสุดนี้ ตัวเลขพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินหลังจากมีบีไอบีเอฟ
แหล่งเงินฝากในแบงก์ต่างประเทศเหลือเพียง 21% แต่แหล่งเงินกู้เพิ่มเป็น 73%
โดยเงินที่ปล่อยสินเชื่อเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่แหล่งที่มาของเงินทุนแบงก์ไทย ทั้ง 15 แห่ง ก็เปลี่ยนไป สถิติจากปี
2530 แหล่งเงินฝาก 86% ขณะที่เงินกู้แค่ 8% แต่ปีนนี้ ตัวเลขเงินฝากลดลงเหลือ
80%
ดังนั้นการมี บีไอบีเอฟ ก็เปรียบเหมือนเมนูอาหารสากลที่หลากหลายให้เลือกมากขึ้น
โดยไม่ต้องถูกแบงก์ชาติบังคับให้ต้องกินข้าวอย่างเดียว แต่สามารถเลือกไปกินสเต็กได้
โดยสถาบันการเงินและธุรกิจไทยกู้มาปล่อยในไทย
เมื่อกู้เงินบาทเงินต่างประเทศต้นทุนต่ำไม่ได้ ตลาดตราสารหนี้ก้แจ้งเกิด
โดยสามารถออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ออกหุ้นสามัญในตลาดได้หลากหลายขึ้น ตราสารหนี้เหล่านี้จะเป็นอาหารหลอดแก้วที่สามารถแทนข้าวหรือสเต็กที่เคยกินกันได้
ดังนั้แหล่งที่มาของเงินก็เปลี่ยนไปเป็น " สากล" แบงก์ สามารถระดมทุนได้เอง
โดยให้สถาบันจัดอันดับความเชื่อถือ แล้วออกตราสารต่าง ๆ เป็นเงินบาท ECD
( Euro Convertible Debenture) หรืออกตราสารหุ้นกู้ต่าง ๆ หรือออกใบรับฝากเงินที่เปลี่ยนมือได้ที่ตลาดเงินโลกที่
นิวยอร์ค ฮ่องกง สิงคโปร์
เมือ่ปีที่แล้ว บอร์ดแบงก์ไทยพาณิชย์อนุมัติแบงก์กู้เงินโดยออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ชนิดแปลงสภาพ ( ECU) เป็นหุ้นสามัญซึ่งอยู่ในวงเงิน 180 ล้านเหรียญสหรัฐ
มีระยะไถ่ถอน 10 ปี ไปขายในต้นปี นี้ ให้ผู้ลงทุนต่างประเทศแล้ว 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือ4,088 ล้านบาท ทั้งนี้ได้สำรองหุ้นสามัญจำนวน 20 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของผู้ถือหุ้นแปลงสภาพด้วย
ในปีนี้ก็เช่นกัน ก็มีมติให้แบงก์กุ้เงินโดยออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ วงเงินไม่เกิน
6,000 ล้านบาท ระยะไถ่ถอนไม่เกิน 10 ปี
" นอกจากได้เงินต้นทุนต่ำ 3.25% ขณะที่กู้ขากตลาดเงินดอกเบี้ย 5-7
% แล้วเรายังใช้เป้นกองทุนขั้นที่สองได้ด้วย ในปีนี้เรากู้จากต่างประเทศมาก
บางครั้งก็กู้ลักษณะซินดิเคทโลน ครั้งละ1,000 ล้านเหรียญ การขยายธุรกิจต้องดูฐานเงินทุนประกอบด้วย
เพราะเอาเงินบาทไปแปลงเป็นสกุลต่างประเทศ" ชฏา วัฒนศิริธรรม เล่าให้ฟัง
เมื่อเอาตัวเลขที่ขายหุ้นกุ้แปลงสภาพทั้งสองครั้งนี้รวมกับการประเมินค่าทรัพย์สินใหม่อีก
จำนวน 3,800 ล้านบาทก็ช่วยขยายเงินทุนขั้นที่ 2 ของแบงก์ไทยพาณิชย์ ทำให้แบงก์ไม่ต้องเพิ่มทุนอีกเป็นเวลานาน
และในส่วนของการตั้งเงินสำรองเผื่อหนี้สูญใหม่ของแบงก์ชาติ เงินสำรองแบงก์กันไว้จำนวน
3,865 ล้านบาท เมือ่วันที่ 31 มีนาคม 2537 สูงกว่า 100% ของหนี้จัดชั้น ซึ่งเป็นเกณ์ที่แบงก์ต้องทำภายในปี
2538 นี้
นี่คือผลพวงของบีไอบีเอฟ ที่แบงก์ไทยพาณิชย์เป็นแบงก์แรกที่เริ่มประกอบการวิเทศธนกิจ
ในปี 2535-2536 ได้มีการย้าย Booking จากสาขาต่างประเทศมาไว้ที่สาขาในไทยประมาณ
500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เม็ดเงินจากแหล่งเงินทุนต่ำเช่นนี้ ได้ถูกนำไปขยายเครือข่าย
ในทิศทางที่จะเป็นจุดแข็งของแบงก์ไทยพาณิชย์
การลงทุนของแบงก์ไทยพาณิชย์ในยุคโอฬารบริหาร ถือว่าเป็น " ยุคการลงทุนเพื่ออนาคต"
เพราะเกิดบริษัทใหม่ ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 บริษัท ในระยะเวลา 2 ปี แทบจะเรียกว่าเปิดบริษัทใหม่
ๆ ทุกเดือนก็ได้ ง่ายยิ่งกว่าเปิดร้านกาแฟเสียอีก
" การแตกหน่อธุรกิจไปยังแขนงอื่น ๆ ของธนาคาร เพื่อสู่เป้าหมายของการเป็นยุนิเวอร์แซล
แบงกิ้ง ตามนโยบาย ของทางการซึ่งอาจจะเป็น 5-10 ปี โดยค่อย ๆ เปิดอนุญาตให้แบงก์ไปทำหลักทรัพย์มากขึ้น
" นี่คือเป้าหมายของโอฬาร
ชัชวาล พรรณลาภ ลูกหม้อที่ทำงานกับแบงก์มานาน ขณะนี้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส
ซึ่งคุมสายงานตลาดเงินตลาดทุนที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการ( Specialist) ที่จะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินไปผูกกับผลิตภัณฑ์ทางหลักทรัพย์นี้
ได้เล่าให้ฟังถึงการแยกงานตลาดเงินตลาดทุนออกจากฝ่ายบริหารการเงินเมือ่ปี
2535 ว่า
" เรามองว่าในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมามันบูมมากเรื่องหลักทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์
คงจะมีมากมายและเป็นตัวที่สร้างรายได้ให้กับแบงก์อย่างดี เราจึงเริ่มฟอร์มงานลักษณะนี้
ประมาณ 6 ปีแล้วในรูปของฝ่ายบริหารการเงิน"
ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2537 แบงก์ไทยพาณิชย์เพิ่งได้รับในบอนุญาตประกอบธุกริจหลักทรัพย์จากก.ล.ต.
ซึ่งช้ากว่าเพื่อจน ๆ ที่นำไปแล้ว 7 แห่ง คือแบงก์กรุงเทพ กสิกรไทย แบงก์ฮ่องกง
และเซี่ยงไฮ้ ดอยซ์แงกื สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ซิตี้แบงกื อินโดสุเอช
" ที่ช้าเพราะการแยกบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไม่สามารถทำได้ทัน วันที่ยื่นรอบสอง
ทำให้เราต้องเร่งดำเนินการให้กรรมการของแบงก์ที่อยู่ในไฟแนนซ์ในเครือลากออก
แต่เราไม่ถือว่า เป็นการก้าวช้ากว่า เพราะตลาดตราสารถือเป็นตลาดใหม่และมีโอกาสขยายตัวได้มากว่าตลาดหลักทรัพย์ถึง
5 เท่าในอนาคต" ชฏา วัฒนศิริธรรม รองผู้จัดการใหญ่ซึ่งถูกโอฬารกระเซ้าว่า
คอนโซบีเดีย ประจำแบงก์แถลง
หลังจากได้รับใบอนุญาตค้าหลักทรัพย์ กลุ่มลูกค้าที่ได้รับจัดอันดับความเชื่อถือก็จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายตลาดเงินตลาดทุนต้องช่วงชิงโดยเน้นบริหารดูแลหลักทรัพย์
( Custodian ทีป่รึกษาโครงการ ( Financial Advisory) รับประกันและจัดจำหน่ายตราสารหนี้
( DEBT INSTRUMENT) เช่นพันธบัตร ตั๋วแลกเงิน หุ้นกุ้ หุ้นกุ้แปลงสภาพ ฯลฯ
" จากการดูแนวโน้มตลาดตราสารอนุพันธ์ ( Derivatives) คงเริ่มจากตลาดซื้อขายล่วงหน้าเช่น
พืชผลเกษตรแต่เราไม่อยากทำเพราะมันเสี่ยง ตอนนี้จึ้งต้องรอตั้งตลาดก่อน จึงจะรู้ว่า
ความต้องการตลาดเป็นอบย่างไร" ชฏาแถลง
ช่วงที่ผ่านมา แบงก์กสิกรไทย ได้งานประมูลพันธบัตร ของการไฟฟ้าระยองมูลค่า
2,500 ล้านบาท แต่ก็ยังมีตลาดใหญ่ที่พันธบัตรของการประปาส่วนภูมิภาค มุลค่า
1,500 ล้านบาท และของการบินไทยอีก จำนวน 5,000 ล้านบาทด้วย งานนี้ใครไม่แน่ก็อด!!
สิ่งที่น่าจับตาภาพลักษณ์ของเพิร์ซันแนลแบงกกิ้ง ได้ปรากฏชัดเจนในยุคโอฬาร
เมื่อพอร์ตสินเชื่อบุคคล บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เครดิตการ์ด ได้เพิ่มขึ้นจาก
6-7% เป็น 20% และเมื่อต้นปีนี้ โอฬารส่งมาลีรัตน์ ปลื้มจิตรชม อดีตพีอาร์คนเก่งไปเป็นกรรมการผู้จัดการบริหารบริษัทใหม่
" บริษัทไทยพาณิชย์ธนพัทธ์" ที่ยกระดับจากหน่วยงานที่ฝังรากอยู่ในแบงก์ยาวนาน
15 ปี มาดำเนินการในรูปบริษัทเลี้ยงตัวเอง
การโหมธุรกิจบริการที่ไทยพาณิชย์ทำได้ดีกว่าคู่แข่ง ในลักษณะการออกบัตรเครดิตหลายประเภท
เช่น บัตรเครดิจเจซีบี และกลยุทธ์พันธมิตรธุกริจ " บัตรเครดิตร่วม"
( Affinity Card) ของไทยพาณิชย์ ธนพัทธ์ ประสบความสำเร็จระดับหนึง ที่สามารถขยายฐานลุกค้าได้ถึง
250,000 คน เพราะร่วมกับบริษัทชั้นนำมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี จิมป์
ทอมสัน ห้างโรบินสัน ห้างอิมพิเรียล ห้างฟินิกซ์ ชินวัตรกรุ๊ป บริษัทสวีดีชมเตอร์
( รถวอลโว่ ) เลนโซ่โฟนการ์ด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ธุรกิจบัณฑิตย์ น้ำมันคาลเท็กซ์
ฯลฯ
เมื่อเปิดพอร์ตการลงทุนของแบงก์ไทยพาณิชย์ พบว่าจุดแข็ง.ของแบงก์ไทยพาณิชย์
จึงอยู่เครือข่าย
บริการการเงินที่ครบเครื่อง !! ในอนาคตไทยพาณิชย์จึงประกอบธุรกิจการเงินอย่างเต็มอัตราศึก
เพราะมีการลงทุนโดยตรงในบริษัทในเครือ ซึ่งเขาเป็นแขนขาทำธุรกิจครบวงจรไม่ต่ำกว่า
16 ราย ได้แก่ ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ เช่นธนสยาม บริษัทประกันภัยเช่นสมัคคีประกันภัย
ประกันชีวิตเช่น เอไอเอ บริษัทลิสซิ่ง เช่นสยามซันวา และบริษัทแฟคตอริ่งเช่นสยามเจเนอรัล
นี่คือแนวทางธุรกิจที่ไทยพาณิชย์ได้กระจายธุรกิจและการลงทุนไปในทางที่ถูกต้อง
เพราะอนาคตสงครามรบมิได้จำกัดแค่ประกอบธุรกิจแบงก์ แต่สงครามได้แผ่ไปสู่ธุรกิจบริการการเงินอื่น
ๆ เช่นลิสซิ่ง และแฟคเตอริ่ง ที่แบกง์ต่างชาติจะเข้ามาช่วงชิง
การลงทุนเพื่ออนาคต เช่นนี้เป็น " โอกาส" ที่แบงก์ไทยพาณิชย์
สามารถขยายขอบเขตของตนเองเข้าไปในธุรกิจแขนงต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อขยายฐานลุกค้าได้กว้างขึ้น
และที่สำคัญได้ประโยชน์ในแง่การสร้างรายได้ดอกเบี้ยและที่มิใช่ดอกเบี้ย รวมถึงการทำกำไรขากการขายเงินลงทุนในอนาคตด้วย
ปัจจุบันแบงก์ไทยพาณิชย์มีไฟแนนซ์ที่พร้อมจะยกฐานะเป็นแบงก์พาณิชย์ได้
แล้วเช่น บงล. ธนสยาม ซึ่งสะสมทุนจนแข็งแกร่งทั้งด้านสินทรัพย์และทีมผู้บริหาร
พร้อมที่จะเป็นไปตาม เส้นทางของตัวเอง ในปีนี้ธนสยามได้รุกหนักธุรกิจหลักทรัพย์โดยความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทแบริ่ง
สิงคโปร์ ซึ่งเสริมธุรกิจของธนสยามให้ขึ้นสู่อันดับหนึ่ง
" หากเขาพร้อมจะยกฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์ใหม่แล้ว เราก็จะขายหุ้นที่ถืออยุ่ทั้งหมดให้กับคนอื่นเพราะตามกฎเกณท์ใหม่
จะต้องไม่มีธนาคารพาณิชย์รายใดถือหุ้นในบริษัทเงินทุนที่ยื่นขอใบอนุญาต และในอนาคตเราจำเป็นต้องสร้างแขนขาขึ้น
มาใหม่" โอฬาร ไชยประวัติ พูดด้วยเสียงอันดังฟังชัด
การกระขจุดตัวของกลุ่มพันธมิตร ของแบงก์ไทยพาณิชย์ เช่นสำนักงานทรัพย์สิน
แลนด์แอนด์เฮาส์ คริสเตียนี และนีลเส็น กลุ่มจีเอฟ ซันวาแบงก์ กล่มสหวิริยาที่ตางเกื้อกูลกันบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกันในต่างวาระ
มีคอนเซปท์ของการร่วมทุนของไทยพาณิชย์ที่คำนึงถึงหลักการ
กรณีการตั้งธนาคารวีนาสยาม ( Vina Siam Bank) ในกรุงฮานอย ไทยพาณิชย์เล็งเห็นศักยภาพการทำธุกริจแบงก์กิ้ง
จึงได้ร่วมถือหุ้นผูกกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์คนละ35% และทีเหลือ 34% เป็นของ
Vietnam bank for agriculture( V.S.A)
การแสวงหาพันธมิตรที่มีความชำนาญพิเศษที่ไทยพาณิชย์ไม่มี ดังเช่น การจับมือกับบริษัทแลนด์แอนดฺ์เฮาส์
นับว่าเป็นคู่ที่ต่างก็เอื้อประโยชน์ต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่ตระกูลอัศวโภคิน
ที่ใช้แบงก์ไทยพาณิชย์เป็นผู้สนับสนุนการเงิน จนกระทั่งสะสมทุนมากพอที่จะเป็นเพื่อนมากกว่าลุกค้า
" ความสัมพันธ์กับแบงก์ไทยพาณิชย์มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยคุณประจิตร
ยศสุนทร และคุณธารินทร์ จนถึงคุณโอฬาร ตอนนี้ก็เป็นยุคที่สามแล้ว" พยนต์
ศักดิ์เดชยนต์ ผู้บริหารชั้นนำของแลนด์แอนด์เฮาส์ ระลึกถึงความหลัง
ปัจจุบันโครงการนอร์ธปาร์ค เป็นตัวอย่างที่ดีของการ Synergy อย่างมีคุณภาพ
ระหว่างแลนด์แอนด์เฮ้าส์ -คริสเตียนี และนีลเส็น-ไทยพาณิชย์-แบงก์เอเชีย
และกสิกรไทย โดยให้แลนด์แลนด์แอนด์เฮาส์ ใช้ความเป็นมืออาชีพบริหารคอนเซ้ปท์เมืองธุรกิจอันงดงามบนที่ดินแปลงใหญ่ที่หาได้ยากยิ่งอย่างยิ่งบนถนนวิภาวดีรังสิต
ขณะที่บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่อย่างคริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) เป็นผุ้รับเหมา
และแบงก์ก็สามารถลดความเสี่ยงได้โดยเข้าไปดุแลในฐานะผู้ถือหุ้นด้วย
"กรณีนี้ไทยพาณิชย์มีโครงการร่วมกับเรา และเราก็ถือหุ้นในคริสเตียนี
ฯ เมื่อสองปีมาแล้ว เราถือว่าเป็นกลยุทธพันธมิตรธุรกิจและลดความเสี่ยงอย่างหนึ่ง
เพราะกิจการทุกอย่างต้องกระจายความเสี่ยงไปหลาย ๆ ธุรกิจที่เกียวข้อง ทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ร่วมกัน"
พยนต์ เล่าให้ฟังในฐานะกรรมการผู้จัดการของนอร์ธปาร์คกรุ๊ป
ลักษณะของการเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น ในไทยพาณิชย์ แลนด์แอนด์เฮาส์
และคริสเตียนี และนีลเส็น ( ไทย) ได้ขยายขอบเขตการทำธุกริจข้ามพรมแดนไปสุ่ประเทศจีน
ในนาม " เอสซีบีโอลดิ้ง" ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการให้กับลูกค้าและจับคู่ธุรกิจระหว่างทุนต่างชาติกับทุนท้องถิ่นด้วย
เช่นโครงการผลิตรถจักรยานยนต์ โรงเบียร์ หรือสร้างสาธารณุปโภค พื้นฐาน อย่างถนน
เป็นต้น
แต่ในขณะเดียวกัน หุ้นกู้แปลงสภาพวงเงิน 1,512 ล้านบาท อายุ 10 ปี ซึ่งออกไปขายในต่างประเทศ
พยนต์ล่าให้ฟังว่า ไม่ได้ใช้บริการของแบงก์ไทยพาณิชย์ เพราะลนด์แอนด์เฮ้าส์
น่าเชื่อถือและประวัติบริษัทดีประกอบกับการที่ไม่ต้องมีแบงก์มาการันตี ทำให้ต้นทุนถุกลง
" แต่ถ้ามีความผันผวนทางอัตรแลกเปลี่ยนมาก กรณีกู้แบบนี้จะเสี่ยง"
ยุทธศาสตร์องค์กรและกลยุทธ์รักษาคนในยุคโอฬาร ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนในบริษัทใหม่
ๆ ทียกระดับจากธุรกิจบริการที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับแบงก์ขึ้นเป็นบริษัทต่างๆ
เช่น ฝ่ายกฎหมาย แยกไปเป็นบริษัทสำนักงานกฎหมาย สยามนิติ ฝ่ายบัตรเครดิตก็มีความสุขกับบริษัทไทยพาณิชย์
และบริษัท ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์เป็นบริษัทใหม่ล่าสุด
ภายในปี 2538 อาคารไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ที่สุงตระหง่านเสียดฟ้า คือรังใหม่ที่ดูยิ่งใหญ่กว่าเดิม
เบื้องหลังการพัฒนาที่ดินแหลงงามกว่า 50 ไร่ บนถนนรัชดาภิเษก เป็นผลพวงของสุเทพ
พรรณสมบูรณ์ ผู้บริหารบริษัทมหิศร
มหิศร เป็นบริษัทพัฒนาที่ดินแห่งแรกของไทยพาณิชย์ เนื่องจากสมัยก่อนแบงก์มีลูกหนี้ที่มีปัญหามากก็มีการยึดทรัพย์ประเภทที่ดินผืนเล็กผืนใหญ่มาเข้าแลนด์แบงก์
แม้จะพยายามขายออกไปบ้าง แต่ธุรกิจล่มสลายในปี 2528 หลังพิษร้ายลดค่าเงินบาทและจำกัดสินเชื่อ
18% ก็ทำให้ไทยพาณิชย์เกิดแนวความคิดตั้งบริษัทบริหารแลนด์แบงก์เหล่านี้
ผลงานที่ทำคือ อาคารคาร์เปท
อินเตอร์ บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ สำนักงานสาขาแบงก์ที่ลาดพร้าวซอย10 ถูกบังคับซื่อยกเหมา
5-6 ไร่ จึงปันส่วนหนึ่งมาสร้างตึกแถวขายและล่าสุดโครงการไทยพาณิชย์พาณิชย์ปาร์คพลาซ่า
" เราซื้อที่ดินผืนนี้ตั้งแต่ปี 2530 เราซื้อยกแปลง 50 ไร่กว่า เพราะเจ้าของไม่ยอมแบ่งขาย
ความคิดพัฒนาที่ดินเป็นไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่านั้น เราได้สร้าง พร.สุเทพ พรรณสมบูรณ์
ที่มีประสบการณ์สูงมาบริหารโครงการนี้ เมื่อสร้างเสร็จก็มีแผนย้ายเข้าไปสิงหาคมปีหน้า"
ปี 2538 กำลังจะเปิดประตูแห่งโอกาสในยุคโลกานุวัตร ท้าท้ายผู้นำด้านการเงินและการธนาคารอย่างโอฬาร
ไชยประวัติ ว่าสามารถนำทีมฝ่าอุปสรรคเข้าไปก่อนและทะลุทะลวงขุมประโยชน์แห่งใหม่
แบบเห็นผลเร็วที่สุดหรือไม่ หลังจากปี 2537 ถึงต้องชูธงปลุกใจด้วยคำขวัญ
ปี 2537 ว่า "ปีแห่งความท้าทายสู่ความสำเร็จ"