Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
คิวพีไอ keeping you ahead?             
 


   
search resources

โค้ตพาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล - คิวพีไอ
ยูนิเทค (เอเชีย)
เท็ด ซิส
Investment




เกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ และโบรกเกอร์หลังจากค่าธรรมเนียม (คอมมิชชั่น) ถูกปล่อยเสรี พวกเขาจะสามารถอยู่รอดได้อย่างไร

หลังจากนโยบายทางการปล่อยเสรีค่าธรรมเนียมถึงฟลอร์ ที่ศูนย์เปอร์เซ็นต์ ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยหลายโบกเกอร์ได้มีการลดค่าคอมมิชชั่นลง เพื่อแย่งชิงลูกค้า นักวิเคาะห์หลายแห่งทำนายว่า มีเพียงโบรกเกอร์ไม่กี่รายเท่านั้น ที่จะอยู่รอดตามทฤษฎีของดาวิน คือ ผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้น จึงจะอยู่รอด

เพื่อความอยู่รอด และเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน สิ่งจำเป็นที่สุด คือ การให้บริการที่มีประสิทธิภาพในราคา ที่ประหยัด ดังนั้น เทคโนโลยี และการค้าอิเลคทรอนิกส์จึงเป็นทางออก ที่เหมาะสม

เมื่อการค้าแบบอิเลคทรอนิกส์ เป็นแนวโน้มของการลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งในสภาพ ที่โบรกเกอร์ไม่มีค่าธรรมเนียมนั้น จะทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น อินเทอร์เน็ต เทรดดิ้งจะเป็นตัวช่วยในอนาคต

ดังนั้น บรรดาบริษัทหลักทรัพย์ต่างก็ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ด้านข้อมูลข่าวสาร ที่รวมกันเป็นโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์ ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จะได้รับประโยชน์เมื่อใช้ระบบการซื้อขายออนไลน์ รวมไปถึงข้อมูลทางการตลาด

บริษัทโค้ตพาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (คิวพีไอ) จึงเกิดขึ้น เพื่อสนองตอบลูกค้าทางด้านระบบ และข้อมูลข่าวสารด้านการซื้อขายหลักทรัพย์แบบอิเลคทรอนิกส์ให้กับกลุ่มบริษัทการเงิน และหลักทรัพย์ในแถบเอเชีย

คิวพีไอให้บริการเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจการเงิน และหลักทรัพย์ ซึ่งช่วยเหลือให้รักษาความสามารถในการแข่งขันในโลกธุรกิจปัจจุบันด้วยแพลตฟอร์มการซื้อขายทางอิเลคทรอนิกส์ เครือข่ายระหว่างโบรกเกอร์ (inter-broker) ธนาคาร (inter-bank) และตลาด (cross-market-inter-bank) รวมถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์

"ธุรกิจของเรา ให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ และข้อมูลข่าวสารด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งรวมโซลูชั่นครบวงจรสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์ในตลาดต่างๆ นับจากการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ การควบคุม และการจัดการความเสี่ยง ระบบบริหารงานส่วนหลังสำหรับตลาดในหลากหลายประเทศ (muti-market)" เท็ด ซิส ประธานเจ้าหนี้ ที่บริหารคิวพีไอกล่าว

สำหรับในประเทศไทย คิวพีไอประกาศว่าเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่น ที่ครบวงจรสำหรับตลาดการเงิน และธุรกิจหลักทรัพย์ โดยให้บริการกับทั้งโบรกเกอร์ และนักลงทุนในประเทศ ตั้งแต่อินเทอร์เน็ต เทรดดิ้ง การเสนอราคาแบบเรียลไทม์ อินเทอร์เน็ต เว็บ รวมไปถึงการเรียกดูหุ้นเรียลไทม์ ที่เรียกว่า QuotePower STB และการรายงานราคาหุ้น ข้อมูลด้านเครดิต และการซื้อขายหุ้นผ่านระบบเสียงของโทรศัพท์แบบอินเทอร์แอคทีฟ ที่เรียกว่า Interactive Voice Response System (IVRS)

ปัจจุบัน นักลงทุนรายย่อยในประเทศไทยกว่า 60% ไม่ชอบใช้คอมพิวเตอร์บุคคล (PC) หรือไม่มีความถนัด รวมถึงความไม่พร้อมหรือลังเลในการที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งยังใช้วิธีซื้อขายแบบเดิมๆ อยู่

เมื่อเทียบกับนักลงทุนในฮ่องกง 99% จะใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวกำลังจะเข้าได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนในประเทศไทย

"เรามองเห็นอนาคต จึงได้พัฒนา QuotePower STB และ IVRS ซึ่งเป็นระบบการซื้อขายหุ้นเรียลไทม์ ซึ่งง่ายต่อการใช้งานสำหรับนักลงทุน ที่ไม่ชอบใช้ PC" อัล เบียน กรรมการผู้จัดการคิวพีไอ (ประเทศไทย) บอก

ด้วยการให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเลคทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ด้านข่าวสาร ซึ่งประกอบไปด้วยโซลูชั่น ที่รวมการทำงานของระบบต่างๆ (cross border) แพลตฟอร์ม ที่หลากหลาย (multu-platform) และโซลูชั่นด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์

ลูกค้าของคิวพีไอจะได้รับความหยืดหยุ่นในการเลือกใช้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์ ทั้งในส่วนข้อมูลการตลาดแบบเรียลไทม์ทุกมุมโลกไปจนถึงการจัดการความเสี่ยงในตลาดรวม (multi-market risk management) คิวพีไอจึงพยายามเหลือเกิน ที่จะยืนอยู่แถวหน้าของธุรกิจตนเอง

"เราต้องการเป็นอันดับหนึ่งของผู้ให้บริการเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับตลาดการเงิน และหลักทรัพย์ การสร้างเครือข่ายระหว่างธนาคาร และโบรกเกอร์ และการให้ข่าวสารด้านการเงินแบบเรียลไทม์" ซิสบอก

เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาคิวพีไอ (ประเทศไทย) ได้เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีกับบล.เอกธำรง เคจีไอ และบล.ทิสโก้ นอกจากนี้ยังมีลูกค้ามากกว่า 3,000 รายทั่วประเทศ

ความจริงแล้วการดำเนินธุรกิจของคิวพีไอในประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นชื่อใหม่ของวงการ แต่การทำธุรกิจแล้วถือว่ามีประสบการณ์นานพอสมควร เมื่อได้รวมกิจการกับบริษัทยูนิเทค (เอเชีย) ด้วยการแลกหุ้นมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2535

สำหรับคิวพีไอ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 โดยเท็ด ซิส ร่วมกับทีมงาน เพื่อสร้างสรรค์แพลตฟอร์มด้านซื้อขายหลักทรัพย์อิเลคทรอนิกส์ให้กับกลุ่มบริษัทการเงิน และหลักทรัพย์ในเอเชีย

ปลายปี 2541 Applied Research Fund (ARF) ของรัฐบาลฮ่องกงได้เข้ามาลงทุนด้วยเม็ดเงิน 8 พันล้านเหรียญฮ่องกงในบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นหลัก ต่อมาได้รวมกิจการกับบริษัท ABC Communications (ABC) ด้วยมูลค่ากว่า 22 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันคิวพีไอมีฐานลูกค้าหลักอยู่ในฮ่องกง และได้ขยายการดำเนินธุรกิจไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงญี่ปุ่น และอเมริกาด้วย ซึ่งในอนาคตจะขยายธุรกิจเข้าไปในจีน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย โดยกลยุทธ์ในการขยายฐานธุรกิจผ่านการเปิดสาขา ควบกิจการรวมไปถึงการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทท้องถิ่น

ถึงแม้ว่าธุรกิจของคิวพีไอจะเป็นธุรกิจ ที่มีอนาคต เนื่องจากกระแสของเทคโนโลยีกำลังได้รับความนิยมจากสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตามมีกี่ประเทศ ที่เกาะกระแสไปตามเทคโนโลยีดังกล่าว

หากสังเกตประเทศ ที่คิวพีไอเข้าไปขยายฐานลูกค้ามีไม่กี่ประเทศ ที่กระตือรือร้น ที่จะทำธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ขณะที่ญี่ปุ่น และอเมริกาถึงแม้ว่าคิวพีไอจะเข้าไปรุกตลาดแต่ท่มกลางการแข่งขัน ที่รุนประกอบกับความเป็นหน้าใหม่ของวงการย่อมต้องใช้เวลาในการสร้างฐานพอสมควร

นับตั้งแต่ปี 2540 จนถึงเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา คิวพีไอขาดทุนสุทธิในตัวเลขประมาณ 7 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยมีสินทรัพย์ทั้งหมดใกล้เคียงกับตัวเลขผลขาดทุน และมีหนี้สินประมาณ 2 ล้านเหรียญฮ่องกง

จากเดือนมีนาคม 2542 จนถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกัน คิวพีไอขาดทุนสุทธิประมาณ 8.8 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 6.1 ล้านเหรียญฮ่องกง และหนี้สินประมาณ 2.2 ล้านเหรียญฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม นโยบายการดำเนินธุรกิจของคิวพีไอจะยังคงขยายไปยังภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่องจนถึงปีหน้า ซึ่งผู้บริหารเชื่อมั่นว่าบริษัทจะมีสร้างกำไรได้ในปี 2545

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us