Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กุมภาพันธ์ 2546
บอย.จับมือกสิกรฯค้ำประกันเงินกู้             
 


   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)




บสย.จับมือธนาคารกสิกรไทย พัฒนาศักยภาพธุรกิจเอสเอ็มอีไทย จัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อมูลค่า 1 พันล้านบาท ขณะที่ บสย. เตรียมพิจารณาลดค่าธรรมเนียมจากร้อยละ 1.75 เหลือร้อยละ 1 พร้อมตั้งเป้าค้ำประกันสินเชี่อปีนี้ 5 พันล้านบาท

วานนี้ (6 ก.พ.) นายชินสุข วีรวรรณ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.) และนายเดวิท ลี เฮนเดร็ก รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการจัดสรรวงเงิน ค้ำประกันลูกค้าสินเชื่อเอสเอ็มอี ในวงเงิน 1,000 ล้านบาท

นายเดวิท ลี เฮนเดร็ก รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บสย.ได้จัดสรรวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของธนาคารกสิกร ในปี 2546 วงเงิน 1,000 ล้านบาท โดยบสย.จะค้ำประกันวงเงินสินเชื่อในส่วนที่ลูกค้ามีหลักประกันไม่พอ ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถ ปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีความต้องการเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ แต่มีหลักทรัพย์จำกัด ก็สามารถได้รับวงเงินสินเชื่อที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในการ ขยายธุรกิจต่อไป

"ลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารให้ความสนใจเข้าร่วม โครงการนี้เป็นจำนวนมาก โดยในปี 2545 ที่ผ่านมา บสย. ได้เข้ามาค้ำประกันเงินสินเชื่อลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารได้ทะลุเป้าหมายที่ 1,000 ล้านบาท ขณะนี้มีลูกค้าของธนาคารเข้าร่วมโครงการรวม 798 ราย คิดเป็นวงเงินค้ำประกันประมาณ 2,076 ล้านบาท" นายเฮนเดร็ก กล่าวเพิ่มเติมว่า การปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่มียอดขายไม่เกินปีละ 50 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดสินเชื่อรวม 152,000 ล้านบาท และในปี 2546 ธนาคาร ตั้งเป้าจะปล่อยกู้เพิ่มให้กับลูกค้ากลุ่มหนี้อีก 15,750 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 10%

ทั้งนี้ ธนาคารได้ตั้งทีมขายตรงสำหรับลูกค้ากลุ่ม ที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบวิชาชีพอิสระทั่วประเทศจำนวน 75 ทีม หรือประมาณ 500 คน ซึ่งเป็นทีมขายที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบวิชาชีพอิสระโดยตรง เพื่อที่จะสามารถให้คำปรึกษาและเสนอบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ด้านนายชินสุข วีรวรรณ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า บสย.เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีนโยบายสนับสนุนกิจการเอสเอ็มอี ด้วยการเข้ามาค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อแก่กิจการเอสเอ็มอีมาก ขึ้น โดยบสย.จะได้รับค่าธรรมเนียมในการค้ำประกัน 1.75% ของวงเงินค้ำประกัน

"ธนาคารกสิกรไทยเป็นแบงก์พาณิชย์แห่งแรกที่เข้ามาร่วมโครงการ และดำเนินการต่อเนื่องมา 4 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าของแบงก์กสิกรไทย จัดเป็นลูกค้าที่มีคุณภาพ โดยการพิจารณาอนุมัติการค้ำประกันจะอิงตามคำอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร ในวงเงินค้ำประกันไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อราย หรือไม่เกินครึ่งหนึ่งของสินเชื่อรวม"

นายชินสุข กล่าวถึง แผนการดำเนินงานของบสย. ในปี 2546 นี้ ว่า บสย.ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีประมาณ 5,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ที่ผ่านมาที่มีการค้ำประกันสินเชื่อจำนวน 4,100 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อตั้งแต่ปี 2529-2545 อยู่ที่ 10,283 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขการค้ำประกันสินเชื่อที่มีภาระผูกพันคงเหลือ ณ สิ้นปี 2545 จำนวน 7,000 พันล้านบาท

"บสย.ยังมีความสามารถอีกมากในการค้ำประกัน ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะตามนโยบายสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้ถึง 5 เท่า ของเงินกองทุนรวม 4,400 ล้านบาท หรือสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้มากสุดกว่า 20,000 ล้านบาท"

อย่างไรก็ตาม การค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ผ่านมา บสย.ก็ประสบปัญหาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยบสย.ต้องรับภาระค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงิน รวมทั้งสิ้นประมาณ 600 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2545 ค่าประกันชดเชยปีละ 60 ล้านบาท และมีภาระหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในสัดส่วน 11% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีแนวโน้มลดลง เพราะสถาบันการเงิน มีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

สำหรับด้านผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา บสย.จะมีรายได้หลักมาจาก 2 ส่วน คือ รายได้จากค่า ธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในอัตรา 1.75% ของวงเงินสินเชื่อ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการนำเงินกองทุน ไปลงทุน หรือรายได้จากการลงทุน โดยในปี 2544 ที่ผ่านมา บสย.มีกำไรสุทธิประมาณ 20 ล้านบาท แต่ในปี 2545 นี้จะมีผลขาดทุนสุทธิ เนื่องจากบสย.มีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญมูลค่ากว่า 800 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บสย. กำลังพิจารณาปรับลดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี จาก ปัจจุบันที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 1.75% เหลือ ในอัตรา 1.00% เพื่อเป็นการจูงใจลูกค้ามากขึ้น ซึ่งคาดว่า จะสามารถดำเนินการได้เร็วๆ นี้

นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ รองผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ปัจจุบันบสย.ได้ให้ความร่วมมือกับสถาบัน การเงิน รวม 8 แห่ง เพื่อจัดสรรเงินค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาฯ (ธพว.) วงเงินค้ำประกันสินเชื่อรายละ 1,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 2 รายคือ ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ธนาคาร และธนาคารเอเชีย รายละ 500 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us