Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
MIGA ดึงทุนนอก-หนุนไทยไปต่างแดน             
 


   
search resources

Multilateral Investment Guarantee Agency - MIGA
Investment




มีนักลงทุนไทยจำนวนไม่น้อย ที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่มีหลายประเทศ ที่มีความไม่แน่นอนในนโยบาย และเสถียรภาพทางการเมือง ดังนั้น การประกันความเสี่ยงทางการเมืองแก่โครงการลงทุนถือเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ

การลงทุนทางตรงเป็นความผูกพันธ์ระยะยาว ความเชื่อมั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ประเทศ ที่ต้องการดึงดูดการลงทุนจะต้องมีบรรยากาศการลงทุนมั่นคง มีเสถียรภาพ และความเสี่ยงต่ำ

ความเสี่ยงในเชิงพาณิชย์เป็นเรื่อง ที่นักลงทุนสามารถควบคุมได้ แต่ความเสี่ยง ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะความเสี่ยงทางด้านการเมือง (political risk)

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน ที่เข้ามาทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุน ที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งการรับประกันความเสี่ยงทางด้านการเมือง (political risk insurance or guarantees) เป็นการเข้ามาเสริมให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในบรรยากาศการลงทุนของประเทศมากขึ้น

สถาบันประกันการลงทุนพหุภาคี หรือ MIGA (Multilateral Investment Guarantee Agency) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้ธนาคารโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 จะเข้ามาทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงทางด้านการเมืองให้กับประเทศ ที่เป็นสมาชิกของ MIGA และประเทศไทยก็เข้าร่วมเป็นมาชิกเมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา โดยกระทรวงการคลังเข้าไปถือหุ้นด้วยการจ่ายเงินเป็นค่าสมาชิกรายปี

"โปรแกรมรับประกันความเสี่ยงของ MIGA จะช่วยบรรเทาความเป็นห่วงของนักลงทุนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพวกเขา และเรายังสนับสนุนการลงทุนโตยตรงของนักลงทุนในการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การลดความยากจน และปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชน" โมโตมิชิ อิกาวา กรรมการรองประธานของ MIGA กล่าว และว่า "สิ่งที่พวกเราทำ คือ การรับประกันความเสี่ยงทางด้านการเมืองให้กับนักลงทุน และเจ้าหนี้"

ผลิตภัณฑ์ของ MIGA อยู่ภายใต้โปรแกรมการรับประกันความเสี่ยงด้านการเมืองให้กับนักลงทุน โดยการรับประกันจะครอบคลุมนับตั้งแต่การปกป้องการเคลื่อนย้ายเงินทุน ที่ผิดกฎหมาย การเวนคืน สงคราม และความสงบในประเทศนั้น ๆ รวมไปถึงการผิดสัญญาของการลงทุน

"ในกรณีเกิดการพิพาท นักลงทุน ที่ไปลงทุนในประเทศ ที่มีความเสี่ยงทางการเมืองจะไม่ต้องเป็นคู่กรณีกับรัฐบาลของประะเทศนั้น เพราะ MIGA จะเป็นคู่กรณีแทนให้ และนักลงทุนสามารถเอาประกันกับทาง MIGA ได้หากโครงการได้รับผลกระทบทางการเมือง ซึ่งครอบคุลมถึงการไม่ดำเนินการตามสัญญาของรัฐบาล ที่โครงการลงทุนตั้งอยู่ด้วย" สมพงษ์ วนาภา ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อธิบาย

หลังจาก ที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก MIGA อิกาวาพร้อมกับทีมงานก็ได้เดินทางมาโปรโมตให้กับนักลงทุนไทยได้รู้จัก การเดินทางมายังภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลา ที่เหมาะสมเช่นนี้ ก็ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่ยังกังวลใจอยู่กับการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างโอกาสให้กับธุรกิจใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้

จากนี้ไปนักลงทุนไทยมีสิทธิ์ใช้การบริการจาก MIGA ด้านการรับประกันความเสี่ยงทางด้านการเมือง ที่จะไปลงทุนต่างประเทศ เช่นเดียวกันกับนักลงทุนต่างประเทศ ที่ประเทศตนเองเป็นสมาชิก MIGA ก็จะได้การรับประกันความเสี่ยงด้านการเมืองเมื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

"จริงๆ แล้ว เป้าหมายของเรา เรียกว่า การลงทุนแบบ south-south เป็นการลงทุนระหว่างประเทศ ที่กำลังพัฒนาด้วยกัน เช่น จีน ไทย เกาหลี และมาเลเซีย" อิกาวาบอก

การพิจารณาการรับประกันความเสี่ยงของ MIGA จะคิดคำนวณกับนักลงทุนโดยจะประเมินความเสี่ยงสอง อย่าง คือ ความเสี่ยงระดับประเทศ (cuontry risk) และความเสี่ยงระดับโครงการ และมีระยะประกันอยู่ในระหว่าง 15-20 ปี

"การเอาประกันนั้น จะให้ครอบคลุมมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของประเทศ และของโครงการ โดย MIGA จะประเมินเป็นรายๆ ไป จะมีไม่คิดคำนวนแบบคง ที่" สมพงษ์กล่าว

ปัจจุบัน ยังไม่มีนักลงทุนไทยเข้าไปใช้บริการการรับประกันความเสี่ยงกับ MIGA แต่ ที่ผ่านมาถือได้ว่า MIGA ได้ให้บริการในระดับ ที่มีความน่าเชื่อสูงในเรื่องความปลอดภัย ล่าสุดในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา MIGA จ่ายเงินจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐให้

Enron Java Power Co. ที่เข้าไปร่วมลงทุนกับ P.T. East Java Power Corporation ในอินโดนีเซีย ซึ่ง Enron Java Power ได้รับความเสียหายเกิดจากความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในอินโดนีเซียเมื่อช่วงปลายปี 1997 รวมไปถึงประเด็นทางด้านวิกฤติเศรษฐกิจ

กรณีดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 100 กรณีในเกิดขึ้นในเอเชีย และแปซิฟิก ที่ MIGA ต้องรับผิดชอบนับตั้งแต่ปี 1988 และมีกรณีแบบเดียวกันนี้ ที่ MIGA ตัองจ่ายเงินให้กับนักลงทุนตั้งแต่ 5.4 แสนดอลลาร์สหรัฐในกรณี Chinese copper production ไปจนถึงขนาดระดับ 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กรณีโครงการธนาคารในฟิลิปินส์ แต่การรับประกันจะไม่เกินวงเงิน 620 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อประเทศ

สำหรับข้อผูกพัน ที่ MIGA จะต้องจ่ายประกันให้กับนักลงทุน ที่ทำสัญญา MIGA สามารถยกเลิกสัญญาได้กรณี ที่นักลงทุนฝ่าฝืนข้อผูกพันกับผู้ร่วมลงทุนในประเทศ ที่ตนเองเข้าไปลงทุน

"นอกจากนี้ การยกเลิกสัญญาจะต้องหลังจากใช้บริการของเรา3 ปีขึ้นไป และองค์กรเรารับประกันความเสี่ยงเฉพาะทางด้านการเมือง จะไม่รับประกันความเสี่ยงด้านการเงิน" อิกาวาบอก

MIGA ให้การสนับสนุนการปรับประกันความเสี่ยงในทุกอุตสาหกรรมครอบคลุมทุกภูมิภาค ตั้งแต่อุตสาหกรรมธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมพื้นฐาน เหมืองแร่ น้ำมัน และก๊าซ และธุรกิจบริการทางการเงิน

"MIGA อยู่ในสถานะการเข้าไปสนับสนุนลูกค้า และบรรเทาความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์" อิกาวากล่าว และว่า "เจ้าหน้าที่ของเราสนใจอย่างมากสำหรับการทำงานในธุรกิจขนาดย่อม และกลางในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก"

หลายปีที่ผ่านมา MIGA ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการให้บริการแก่สมาชิกในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งการทำงาน ในภูมิภาคนี้อยู่ภายใต้โครงการมิยาซาวา ที่ได้อนุญาตให้ MIGA ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปโปรโมตการลงทุนในอินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เพื่อช่วยเหลือ ออกแบบ และจัดหาเครื่องมือในด้านกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศรายใหม่ๆ เข้ามาลงทุน

ปัจจุบัน MIGA ได้เข้ามาทำกิจกรรมในเอเชียมากขึ้น และได้ขยายวงกว้างออกไปด้วยการเพิ่มตัวแทนในโตเกียว โดยให้เจ้าหน้าที่เข้าไปร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น ECICS Credit Insurance ของสิงคโปร์ และ Malasia Export Credit Insurance Berhad ในการช่วยเหลือกิจกรรมทางการตลาด

"พวกเราจะทำงานให้ดี เพื่อความก้าวหน้าแต่การวางแผนในอนาคตจะต้องมี partnerships ในภูมิภาคนี้" อิกาวาพูด "การร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตัวแทนประกันเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลยุทธ์เรา"

เนื่องจาก MIGA เป็นองค์กร ที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่มุ่ง ที่จะช่วยให้มีการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันให้สูงขึ้น ดังนั้น ประเทศไหน ที่เป็นสมาชิกจะได้รับประโยชน์ด้านการคุ้มครองการลงทุน การประเมินความเสี่ยงด้านการลงทุน

สำหรับในประวัติศาสตร์การลงทุนของประเทศไทย ไม่เคยมีโครงการใดถูกยึดกิจการมาเป็นของรัฐ แม้ว่าประเทศไทยจะมีเหตุการณ์ปฏิบัติรัฐประหารหลายครั้ง

ยิ่งไปกว่านั้น ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนก็มีบทบัญญัติให้หลักประกัน และคุ้มครองการลงทุนของภาคเอกชนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น การที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ MIGA นั้น จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยประกันความเสี่ยงทางการเมืองไทย แต่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนหน้าไม่ ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

"นักลงทุนต่างประเทศ ที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ประวัติศาสตร์กว่า 50 ปีที่ผ่านมา เราไม่เคยมีความเสี่ยงทางด้านการเมือง ดังนั้น พวกเขาอาจจะไม่จำเป็นต้องเอาประกันกับ MIGA หากตัดสินใจเข้ามาลงทุน คือ จะเป็น out flow มากกว่า in flow" สมพงษ์บอก

ดังนั้น ผลประโยชน์ ที่นักลงทุนจะได้ก็ต่อเมื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศแล้วทำประกันไว้กับ MIGA ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนั้น จะกระทำ ณ วันที่ตกลงกันระหว่าง MIGA กับนักลงทุน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่มีความแน่นอน ซึ่งหากมองการเมืองในเอเชีย ณ วันนี้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเป็นประเทศ ที่มีเสถียรภาพทางการเมืองไม่ค่อยมั่นคงนัก

นอกจาก MIGA จะมีกรอบว่าด้วยการรับประกันความเสี่ยงด้านการเมืองแล้ว ยังมีโครงการที่พยายามเข้ามาช่วยเหลือประเทศสมาชิก คือ โครงการเสริมความสามารถ (capacity building) ด้วยการเข้าไปฝึกบรมให้ความรู้แก่องค์กรต่างๆ เช่น บีโอไอ

หากพิจารณาถึงกลยุทธ์การลงทุนหน่วยงานของธนาคารโลก อย่าง MIGA พบว่าเป็นองค์กร ที่ไม่สามารถเข้าไปลงทุนโดยตรงได้ แต่องค์กร ที่สามารถเข้าไปลงทุนโดยตรงได้ คือ บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) อย่างไรก็ตามสององค์กรนี้ไม่จำเป็นต้องไปด้วยกัน

"MIGA ดูเหมือนว่าทำหน้าที่คล้ายบริษัทประกันภัย แต่ก็ไม่ใช่เสียทีเดียวเพราะไม่ได้เป็นเอกชน และไม่มุ่งกำไร และเป้าประสงค์ใหญ่ คือ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น" สมพงษ์กล่าว

แม้ว่า MIGA จะมีกรอบการรับประกันการลงทุน แต่การที่จะส่งเสริมให้นักลงทุนไปลงทุนต่างประเทศก็ต้องฟื้นฟูประเทศให้ได้ก่อน อีกทั้งในภูมิภาคอาเซียนก็มีกรอบ เรียกว่า AIA (Asian Investment Area) สำหรับการลงทุนในเขตอาเซียน

กรอบ AIA จะทำหน้าที่ไปพร้อมๆ กับกรอบของ MIGA ได้ในการจะเข้าไปดูแลผลประโยชน์นักลงทุน ที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังมีอีกกรอบหนึ่ง คือ กรอบของหประชาชาติว่าด้วยการค้า และการพัฒนา (UNCTAD) โดยจะดูแลว่าประเทศ ที่ลงทุนกับประเทศ ที่รับการลงทุน การปรับมาตรการ และระเบียบทั้งหลาย ที่จะส่งเสริมให้มีการไหลเวียนระหว่างการลงทุนได้อย่างไร

"เราก็พูดถึงมาตรการของประเทศผู้ที่จะไปลงทุน รัฐบาล และเอกชนมีมาตรการอย่างไร ที่จะไปส่งเสริมให้บริษัทประเทศตัวเองออกไปลงทุนด้วยดี ดังนั้น ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศผู้ลงทุน ไม่ใช่ผู้รับการลงทุนอย่างเดียวอีกต่อไป" สมพงษ์อธิบาย

MIGA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1988 ตามนโยบายของธนาคารโลก เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนในประเทศ ที่กำลังพัฒนาภายใต้การปกป้อง และรับประกันความเสี่ยงทางด้านการเมือง

นับตั้งแต่ MIGA ก่อตั้งขึ้นได้เข้าไปรับประกันให้กับนักลงทุนมากกว่า 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ครอบคลุม 75 ประเทศ ที่กำลังพัฒนา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us