Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กุมภาพันธ์ 2546
กำไรแบงก์ไทยปี46ดีขึ้น ใบโพธิ์-วายุภักษ์พุ่งเด่น             
 


   
search resources

Banking




ฟิทช์ เรทติ้งส์ บริษัทจัดอันดับเครดิตจากเมืองผู้ดี คาดความแข็งแกร่งการเงินธนาคาร ในไทยจะดีขึ้นปี 2546 แม้บางธนาคารที่อ่อนแอกว่า จะยังคงมีผล ประกอบการติดลบต่อไป โดยคาด แบงก์ไทยพาณิชย์กำไรพุ่งเด่นสุด ปีนี้ ขณะที่กรุงไทยคาดสินเชื่อเพิ่ม กระฉูดจากการปล่อยกู้รัฐวิสาหกิจ- ปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสนองนโยบายรัฐบาล ส่วนแบงก์กรุงศรีฯ-ทหารไทยอาจมีปัญหาเพิ่มทุน เพราะเงินสำรองต่ำ

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดำเนิน งานธนาคารจะดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นกับการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องเศรษฐกิจไทย และการเพิ่มขึ้นการกู้ยืมเงินบริษัทภาคธุรกิจ รวมถึงผลกระทบสภาพ เศรษฐกิจโลกที่ถดถอย และสภาพ ความไม่มั่นคงการเมืองของโลก

ผลประกอบการปี 2545 ธนาคารในไทยที่แข็งแกร่ง สะท้อน ว่า สภาพการดำเนินงานธนาคารโดยรวมดีขึ้นตามลำดับ แม้ระดับรายได้ธนาคารต่างๆ ยังคงอ่อนแอ รวมถึงปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ และระดับเงินทุน ซึ่งฟิทช์ให้ความระมัดระวัง

ด้วยเหตุนี้ อันดับความแข็ง แกร่งการเงิน (Individual ratings) ธนาคารในไทยจึงยังต่ำ ฟิทช์เพิ่มอันดับเครดิตระดับสากล (international ratings) ระยะยาวธนาคาร ขนาดใหญ่ในไทย 4 แห่ง คือธนาคาร กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ไทย พาณิชย์ เป็นอันดับน่าลงทุน BBB-3 ตุลาคม 2545 อันดับเครดิตนี้ ตั้งบนพื้นฐานว่า ธนาคารขนาดใหญ่ เหล่านี้ สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย น่าจะเป็นไปได้สูง ที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล

ธนาคารกสิกรไทยและดีบีเอส ไทยทนุ ผลประกอบการช่วงปี 2545 อยู่กลุ่มแข็งแกร่งที่สุด เนื่องจากธนาคารทั้ง 2 ระดับเงินสำรองและระดับเงินทุนแข็งแกร่ง และเติบโตของรายได้ที่เป็นดอกเบี้ย รวมถึงรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ย ระดับสูง คาด ว่าจะยังคงเติบโตต่อเนื่องปี 2546

ธนาคารกรุงเทพและกรุงไทย ซึ่งมีรายได้ดอกเบี้ย และผลต่างดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารทั้ง 2 ข้างต้น เนื่องจากฐานลูกค้าส่วนใหญ่ธนาคารทั้ง 2 เป็นบริษัทขนาด ใหญ่ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งธนาคารจะคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยทั่วไป รวม ถึงปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังมี และการลดดอกเบี้ยเพื่อการแข่งขัน เพื่อฐานลูกค้า รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ช่วยให้ธนาคารรายได้สูงขึ้น

โดยเฉพาะธนาคาร 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ ระดับรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยธนาคารเหล่านี้เกิดได้เนื่อง จากความแข็งแกร่งแผนธุรกิจ และ ความพยายามธนาคารที่จะเพิ่มรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยให้สัดส่วน สูงขึ้น

คาดกำไรแบงก์ใบโพธิ์ปีนี้เด่น

ธนาคารไทยพาณิชย์ระดับรายได้ดีขึ้นเห็นชัด และสำรองเพิ่มขึ้นถึง 2.4 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 5% ของสินเชื่อทั้งหมดปี 2545 ซึ่งน่าจะทำให้ผลประกอบการ ปี 2546 ธนาคารไทยพาณิชย์แข็งแกร่งขึ้นมาก ผลประกอบการที่ดีขึ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ พื้นฐานจากการปล่อยกู้เพื่อสินเชื่อรายย่อย ซึ่งส่วนมากจะเป็นสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านประมาณ 25% ของสินเชื่อทั้งหมด เมื่อเทียบธนาคารอื่นๆ ที่ระดับสินเชื่อรายย่อยเฉลี่ยประมาณ 10%

ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์และเอเชีย ได้รับประโยชน์ระดับเงินทุนแข็งแกร่ง และต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากทั้ง 2 ธนาคารไม่ได้ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ควบหุ้นบุริมสิทธิ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ด้วยเหตุนี้ ผลต่างดอกเบี้ยธนาคารทั้ง 2 จึงสูงกว่าธนาคารอื่นๆ น่าจะทำให้ผลต่างดอกเบี้ยธนาคารทั้ง 2 ดีขึ้นต่อเนื่องปี 2546 ไทยพาณิชย์ยังเป็นธนาคารที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่ำสุดในกลุ่มธนาคารในไทยทั้งหมด

สินเชื่อกรุงไทยกระฉูด

การเติบโตสินเชื่อรวมกลุ่มธนาคารในไทยยังอ่อนแอ ยกเว้นธนาคารกรุงไทย ที่มีการเติบโต สินเชื่อถึงประมาณ 30% สาเหตุหนึ่ง เนื่องจากปล่อยสินเชื่อให้รัฐวิสาหกิจ และปล่อยสินเชื่อเกี่ยวเนื่องแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล

การเติบโตสินเชื่อธนาคารอื่นๆ ประมาณ 2-3% หลังหักผลกระทบจากการโอนกลับหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ คาดว่าการเติบโตสินเชื่อประมาณ 4-5% น่าจะเป็นไปได้ปี 2546 จนถึงวันนี้ การปรับตัวดีขึ้นรายได้ธนาคารต่างๆ ผลหลักๆ จากการกันสำรองลดลง ภาวะดอกเบี้ยต่ำ และ การลดค่าใช้จ่ายธนาคาร การเติบโตของการกู้ยืมของบริษัท

น่าจะยังคงระดับต่ำช่วงปี 2546 น่าจะส่งผลให้การเติบโตรายได้ของธนาคาร ถูกจำกัดอยู่ โดยรวม แม้ธนาคารที่แข็งแกร่ง แม้การปล่อยสินเชื่อน่าจะเริ่มดีขึ้น เนื่องจากปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของการลงทุน ซึ่งเป็น ผลจากการปรับตัวดีขึ้นสภาพเศรษฐกิจไทย

การปรับเปลี่ยนวิธีแสดงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ส่งผลธนาคารส่วนใหญ่ หนี้ไม่ก่อให้เกิด รายได้ (NPLs) เพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 20% เป็น 25% ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ขายหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ส่วนใหญ่ไปบุคคลที่สามตั้งแต่ปี 2543 และมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปัจจุบันเหลือประมาณ 9% เนื่องจากการโอนกลับของทั้งเงินต้นและเงินสำรอง

สัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ธนาคารในไทยส่วนใหญ่ จึงอยู่ในระดับดีขึ้น หรือคงที่ ธนาคารที่มีสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่สูง มีธนาคาร ดีบีเอสไทยทนุ กรุงเทพ ไทยพาณิชย์ เอเชีย กสิกรไทย และกรุงไทย สัดส่วนประมาณ 60% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

สัดส่วนระดับนี้ จำนวนเงินสำรองน่าจะเพียงพอ แต่ความเสี่ยงก็ยังคงมี ยิ่งเมื่อพิจารณา ว่า ธนาคารส่วนใหญ่ มีระดับทุนค่อนข้างต่ำ และสัดส่วนหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้ และได้รับการจัดชั้นใหม่แล้ว อยู่ในระดับสูง ซึ่งหนี้ส่วนนี้สัดส่วนเงินสำรองต่ำ

ความกังวลของฟิทช์เรื่องเงินสำรองและระดับเงินทุน เห็นชัดขึ้นเมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หลังหักเงินสำรองต่อทุน (Net NPL/Equity) ที่อยู่ระดับสูง สัดส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หลังหักเงินสำรองต่อทุน สำหรับธนาคารที่แข็งแกร่ง ควรจะไม่เกิน 20%

ขณะที่อัตราส่วนนี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ประมาณ 100% ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ สัดส่วน หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้หลังหักเงินสำรองต่อทุนแข็งแกร่งที่สุด ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและทหารไทย สัดส่วนอ่อนแอกว่าธนาคารอื่นๆ

ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และดีบีเอสไทยทนุ น่าจะเรียกหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิคืนปี 2547 ถ้าสภาพรวมการดำเนินงานธนาคารนั้น ๆ ดีขึ้นต่อเนื่อง

กระทบแผนเพิ่มทุนกรุงศรี-ทหารไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและทหารไทย ศึกษา และแสดงเจตนารมณ์จะเพิ่มทุน เพื่อชำระคืนตราสารกึ่งทุนนี้ด้วย แม้ธนาคารทั้ง 2 แห่งผลประกอบการดีขึ้นปี 2545 แต่ระดับเงินสำรองธนาคารทั้ง 2 ยังคงต่ำ คือประมาณครึ่งหนึ่งของธนาคารอื่นๆ ระดับรายได้ ยังอ่อนแอ ซึ่งน่าจะส่งผลแง่ลบต่อแผนเพิ่มทุนธนาคารทั้ง 2

ธนาคารกสิกรไทยอาจมีความสามารถจะสร้างรายได้เพียงพอจะชำระคืนตราสาร ที่นับเป็น เงินกองทุนระดับหนึ่ง 2 หมื่นล้านที่มีอยู่ได้ แม้การชำระคืนหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิดังกล่าว โดยไม่เพิ่มทุน อาจทำให้ความสามารถ การขยายธุรกิจธนาคารถูกจำกัด

เมื่อมองภาพรวม ถ้าธนาคารใดเลือกจะเรียกชำระหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ ธนาคารนั้น อาจต้องเพิ่มทุนก่อนเรียกชำระคืน ซึ่งอาจเป็นไปได้ช่วงปีนี้ จนถึงครึ่งแรกปี 2547 น่าจะทำให้ธนาคารนั้น ๆ แข็งแกร่งขึ้น เงินทุนเพียงพอต่อการเติบโต และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยบางส่วน จะส่งผลให้ธนาคารนั้น ๆ ผลประกอบการดีขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us