Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กุมภาพันธ์ 2546
นายกฯยันพ.ร.ก.มือถือไม่ล้ม             
 


   
search resources

Telecommunications




"ทักษิณ" เดินต่อพ.ร.ก.สรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม หยิบเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ ด้านสรรพสามิตชี้ รายรับของผู้ประกอบการช่วง 28 -31 ม.ค.ที่ผ่านมาจะต้องชำระภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม ภายใน 15 ก.พ.นี้ "สถิตย์" คาดรายได้ภาษีในแต่ละเดือนเกือบ 1,000 ล้านบาท ยันมีกลไกคืนภาษี ผู้ประกอบการหากศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยขัดต่อรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่ฝ่ายค้านยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ในการออกพระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิต นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลนั้นไม่ได้รวบรัดในการออกพระราชกำหนด

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้รวบ รัดในการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม เพราะเป็นเรื่องการจัดระบบระเบียบภาษีซึ่งเชื่อว่าประชาชนไม่เกิดความสับสน แต่ฝ่ายค้านสับสน จึงส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งคำวินิจฉัยออกมาก็เป็นไปตามนั้น แต่เมื่อมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแล้วก็ถือว่ากฎหมาย นี้ใช้ได้ทันที แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างตีความก็ตาม

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียืนยันว่า รัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องพระราชกำหนดต่อไปเพราะเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ

ด้านนายชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้าน ปฏิเสธที่จะตอบโต้กรณีที่นายกรัฐมนตรี ระบุด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เกี่ยวกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยใน การออกพระราชกำหนด การแก้ไข พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต แต่ก็อยากให้รัฐบาลนั้นเข้าใจถึงการเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านที่เป็นหน้าที่ ดูแลรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม

ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ วิปฝ่ายค้านระบุว่า พระราช กำหนดที่ออกสมัยฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล 20 ฉบับทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน และใน 10 ฉบับนั้นเป็นการออกในสมัยพรรคความหวังใหม่เป็นรัฐบาล

ภาษีธุรกิจโทรคมนาคม เดินเครื่องชำระ 15 ก.พ.นี้

ภายหลังที่กรมสรรพสามิตได้เรียกผู้ประกอบการสถานบันเทิงในกรุงเทพมหานครเข้ารับฟังถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา วานนี้ (5) ทางกรมฯได้เรียกผู้ประกอบการและตัวแทน ที่ดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมรับฟังถึงการเสียภาษี สรรพสามิต

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ทางกรมฯได้เรียกผู้ประกอบการ และตัวแทนมารับฟังถึงขั้นตอนการชำระภาษีสรรพสามิตที่เกี่ยวกับการให้บริการกิจการโทรคมนาคม โดยหลังจากประกาศลงในราช-กิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา กลไก การเก็บภาษีถือว่าเริ่มต้นในทันที แต่วิธีการจัดเก็บจะเริ่มในงวดแรกเป็นรายได้ในส่วนของเดือน ม.ค ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบเสียภาษีต่อกรมภายในวันที่ 15 ก.พ .นี้

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.252 7 กำหนดไว้ว่ากิจการโทรคมนามคม กำหนดเพดานการจัดเก็บสูงสุดไว้ไม่เกิน 50% แต่อัตราที่จัดเก็บแท้จริงแบ่งเป็นในส่วนของกิจการโทรศัพท์พื้นฐานอยู่ที่ระดับ 2% อัตราภาษีโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอัตรา 10%

"คาดว่าทางกรมจะมีรายได้จากภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมประมาณ900-1,000 ล้านบาท ต่อเดือน"

ส่วนโอกาสจะมีการปรับภาษีในขณะนี้ยังไม่มีการปรับ เพราะในเบื้องต้นต้องการให้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถแข่งขันได้อย่างปกติ แต่ในอนาคตในส่วนของพิกัดอัตราภาษีสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความพร้อมของภาคเอกชนซึ่งต้องให้ผู้ประกอบการอยู่ได้สงบไม่มีปัญหาโดยจะต้องดูเรื่องของราย รับก่อนและทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การตัดสินใจของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ITC)

สำหรับประเด็นที่สมาชิกพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นหนังสือพร้อมด้วยรายชื่อส.ส.จำนวน 115 คน เพื่อให้ส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินัยฉัยว่าการออกพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.พิกัดอัตรา ภาษีสรรพสามิตและพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตขึ้นโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ นั้น

นายสถิตย์ระบุเพียงว่าหากผลทางกฎหมาย เกี่ยวกับความรับผิดชอบไม่มีตรงนี้ทางกรมสรรพสามิตจะต้องคืนเงินที่เรียกเก็บภาษีจากผู้ประกอบการไป ซึ่งในส่วนนี้ทางกรมมีกลไกในการชำระคืนอยู่แล้ว

นางสิรินุช พิศลยบุตร รองอธิบดี กล่าวอย่างชัดเจนว่ารายรับของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมนับตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาให้ถือว่าต้องเสียภาษี โดยภายในวันที่ 15 ก.พ.นี้ รายรับในช่วงวันที่ 28-31ก.พ.ที่ผ่านมาจะต้องชำระภาษีให้กับทางกรมฯส่วนรับของเดือน ก.พ. ให้ยื่นภายในวันที่ 15 มี.ค.

"คิดว่าผู้ประกอบการสามารถยื่นเสียภาษีของเดือนมกราคมได้ทันหลังจากรับฟังคำชี้แจงจากกรมไปแล้ว"

ตรวจผู้ประกอบการผลักภาระให้ประชาชน

ด้านตัวแทนจากกิจการโทรคมนาคม กล่าว ว่าในเรื่องกระบวน การชำระภาษีให้กับกรมสรรพสามิตตรงนี้คิดว่าไม่มีปัญหาเพราะเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินการอยู่แล้ว แต่ยังมีหลายๆประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน อย่างเช่น ทางกรมสรรพสามิตจะเรียกเก็บภาษีจากราคาจริง แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้ประกอบการจะมีบริการการคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายซึ่งหากผู้ประกอบ การไม่ใช่ราคาจริงจะใช้แบบราคาเหมาจ่ายจะได้หรือไม่ หรือแม้แต่การบริการเสริมจะใช้เป็นรายรับได้หรือไม่

นายวรุธ สุวกร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายผลประโยชน์ บริษัท ทศท คอร์เปอเรชั่น จำกัด มหาชน เปิดเผยว่า จากการที่เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงว่า ยังมีข้อสงสัยในหลายเรื่อง ซึ่งคงจะต้องหารือร่วมกับกรมสรรพสามิตอีกครั้ง

ส่วนกรณีที่มีการหักค่าสัมปทานบางส่วนมาเป็นภาษีสรรพสามิตซึ่งทำให้รายได้ของทศท. ลดลงนั้น คิดว่า ในเรื่องนี้ ทศท. และรัฐไม่เสียประโยชน์ เนื่องจากกลไกส่วนแบ่งรายได้จากค่า สัมปทานยังคงมีอยู่ และการแข่งขันในตลาดก็ยังคงเป็นในรูปแบบเดิม จึงขอยืนยันว่า จะไม่มีการผลักภาระไปสู่ประชาชนเป็นอันขาด

นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพ แรงงาน บริษัท ทศทฯ กล่าวว่า โดยปกติการจ่ายสัมปทานจะคิดจากรายได้บริษัทที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งกรมสรรพสามิตจะเรียกเก็บรายได้แค่จากค่าบริการรายเดือน และการใช้งาน ซึ่งเป็น การจัดเก็บที่น้อยลงกว่าค่าสัมปทานที่คำนวณจากรายได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว ก็ปล่อยให้การเมืองว่ากันให้จบไปก่อน

แหล่งข่าวจากกรมสรรพสามิต กล่าวเพิ่มเติมสำหรับประเด็นข้อสงสัยของผู้ประกอบการว่ากรมสรรพสามิตจะใช้เกณฑ์รายได้แบบใดในการจัดเก็บภาษีนั้น ในเรื่องนี้ของอธิบายว่าภาษีสรรพสามิตจะยึดเกณฑ์การจัดเก็บจากฐานรายได้ทั้งหมดในการให้บริการจริงซึ่งเป็นรายได้ที่มีการตกลงในสัญญาสัมปทานเดิมของคู่สัญญาแต่ละราย ส่วนรายได้ที่นอกเหนือจากในสัญญา กรมจะไม่จัดเก็บเพราะถือเป็นรายอื่นๆ

ขณะเดียวกันหากมีภาคเอกชนรายได้ลักลอบผลักภาระให้กับประชาชน กรมก็มีวิธีการตรวจสอบย้อนหลัง ตามวิธีการภาษี ซึ่งมีความรัดกุม จึงยืนยันว่า ผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในครั้งนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us