Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กุมภาพันธ์ 2546
"กนก"บริหารแฟมิลี่มาร์ท ผู้ถือหุ้นหยุดเจรจาขายหุ้นให้เจ้าพ่อน้ำเมา             
 


   
search resources

สยามแฟมมิลี่มาร์ท, บจก.
กนก วงษ์ตระหง่าน




"กนก วงษ์ตระหง่าน" เข้าบริหารแฟมิลี่มาร์ท 1 มีนาคมนี้ ด้านผู้ถือหุ้นสยามแฟมิลี่มาร์ทหยุดเจรจาขายให้กลุ่ม "เจริญ สิริวัฒนภักดี" ชั่วคราว ชี้รับเงื่อนไขบางเรื่องไม่ได้ พร้อมปฏิเสธไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน แต่ข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมาสร้างความเสียหายให้แก่แบรนด์ และแฟรนไชซี่เกิดความสับสนเป็นอย่างมาก เตรียมเปิดแถลงข่าวเคลีย์ปัญหาทั้งหมดเร็วๆ นี้

แหล่งข่าวระดับสูงจากเซ็นทรัลกรุ๊ป เปิดเผย"ผู้จัดการรายวัน" ถึงการลาออกของ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน จากการเป็นประธานบริหารสายปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหา ชน) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2546 นี้ เนื่องจากศ.ดร.กนกได้รับการทาบทามจากกลุ่มผู้ถือหุ้นของ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ให้เข้ามาบริหาร งานนานแล้ว และเมื่อศ.ดร.กนก ดำเนิน ภารกิจในโรบินสันแล้วเสร็จ จึงตัดสินใจที่จะร่วมงานในแฟมิลี่มาร์ท เพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันในเชิงยุทธศาสตร์ และท้าทายความสามารถ

ทั้งนี้ แฟมิลี่มาร์ทนับเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวพันธ์กับโรบินสัน ในฐานะที่โรบินสันเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งใน บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ 13.33% ส่วนผู้ถือหุ้นรายอื่นประกอบด้วย แฟมิลี่มาร์ท ญี่ปุ่น 43%, เอส เอฟ เอ็ม โฮลดิ้ง 21%, สหพัฒนพิบูล 8.33% , ไอ.ซี.ซี. 8.33% และอิโตชู 6%

สำหรับความคืบหน้าของบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในการหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามาถือหุ้นนั้น ซึ่งเคยมีข่าวออกมาว่าทางกลุ่มเซเว่นอีเลฟเว่น และกลุ่ม นายเจริญ สิริวัฒนภักดี สนใจที่จะเข้ามาซื้อหุ้นในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด นั้น แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้นในสยามแฟมิลี่มาร์ท กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน"ว่า ข่าวที่เกิดขึ้นสร้างความสับสน เสียหาย ให้แก่แฟมิลี่มาร์ทเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะทางผู้ถือหุ้นฝ่ายญี่ปุ่นรู้สึกงง และไม่พอใจกับข่าวที่ออกมาเป็นอย่างมาก และที่สำคัญทำให้แฟรนไชซี่ หรือนักลงทุนที่ซื้อแฟรนไชส์ของแฟมิลี่มาร์ทไปดำเนินกิจการเกิดความไม่มั่นใจในเสถียรภาพของบริษัท ในขณะที่กลุ่มซัปพลายเออร์ที่ส่งสินค้าให้แฟมิลี่มาร์ทก็เกิดความระส่ำไปด้วยเช่นกัน

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สยามแฟมิลี่มาร์ท ไม่เคยเจรจากับกลุ่มเซเว่นอีเลฟเว่นแต่อย่างใด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เซเว่นฯจะสนใจธุรกิจของแฟมิลี่มาร์ท เนื่องจากแต่ละสาขาของแฟมิลี่มาร์ทจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดี ซึ่งหากซื้อไปก็สามารถ ดำเนินกิจการต่อไปทันที แต่บริษัทก็ยืนยันว่าจะไม่ขายกิจการให้แก่เซเว่นฯอย่างแน่นอน

"หลังจากที่มีข่าวออกมาว่าเซเว่นฯจะซื้อแฟมิลี่มาร์ทนั้น ทางผู้บริหารของแฟมิลี่มาร์ทก็ได้ต่อว่าทางเซเว่นฯไปแล้ว ซึ่งทางผู้บริหารของเซเว่นฯชี้แจงว่า เพียงแต่พูดว่าสนใจเท่านั้น ไม่คิดว่าจะทำให้เกิดเรื่องใหญ่โต"

สำหรับการเจรจากับกลุ่ม นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกลุ่มสุราแสงโสมนั้น ได้เคยเจรจาตั้งแต่แต่ปีที่ผ่านมา เนื่องเพราะทางกลุ่ม นายเจริญสนใจธุรกิจร้านแฟมิลี่มาร์ท แต่ขณะนี้ทางสยามแฟมิลี่มาร์ทขอหยุดการเจรจาลงชั่วคราว เนื่องจากการเจรจาที่ผ่านมายังไม่สามารถหาจุดที่ลงตัวได้ เช่น เรื่องของบุคลากรที่จะเข้ามาบริหารงานและขอเงื่อนไขอื่นๆอีกหลาย เรื่อง ซึ่งสยามแฟมิลี่มาร์ทยังรับข้อเสนอเหล่านั้นไม่ได้

อย่างไรก็ตาม การหยุดเจรจาระหว่างสยาม แฟมิลี่มาร์ท กับกลุ่มนายเจริญในครั้งนี้ มิใช่ปิด ประตูตายเสียทีเดียว ซึ่งแหล่งข่าวบอกว่าเพียงแค่หยุดเจรจาเท่านั้น ซึ่งในอนาคตหากทั้งสองกลุ่มกลับไปทำการบ้านกันใหม่อีกครั้ง อาจจะนัดกลับมาเจรจากันใหม่อีกครั้งหนึ่งก็ได้

สำหรับกรณีของข่าวที่ออกมาว่าสยามแฟมิลี่มาร์ทขาดเงินทุนในการขยายธุรกิจนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะสยามแฟมิลี่มาร์ทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสามารถเจรจากู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆมาขยายสาขาได้อย่างไม่มีปัญหา

ส่วนทิศทางของสยามแฟมิลี่มาร์ทในอนาคตนั้น คงต้องเน้นการขยายสาขาให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่มีสาขาทั้งหมด มีจำนวนสาขาเพียง 246 สาขา ซึ่งยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเชนร้านสะดวกซื้อรายอื่นที่มีจำนวนสาขามากกว่า 2,000 สาขาแล้ว

"ในเร็วๆนี้สยามแฟมิลี่มาร์ทจะออกมาแถลงข่าว ชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้เรื่องราวทุกอย่างคลี่คลาย และไม่เป็นที่เข้าใจผิดของคนทั่วไปอีกต่อไป" ผู้ถือหุ้นในสยามแฟมิลี่มาร์ท กล่าว แต่เมื่อผู้จัดการสอบถามกลับไปว่าจะแถลงข่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานด้วยหรือไม่ แหล่งข่าวกล่าวว่ายังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการค้าปลีก ให้ความเห็นว่า การเข้ามาบริหารงานของ ศ.ดร. กนก ในสยามแฟมิลี่มาร์ท น่าจะเป็นผลดี เพราะจะทำให้การบริหารงานสามารถเข้าใจพนักงานและกลุ่มผู้บริโภคได้ดีมากขึ้น เนื่องจากมีผลงานในการแก้วิกฤตของโรบินสันจนกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้งหนึ่งแล้ว

ในขณะที่ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงของสยามแฟมิลี่มาร์ทเป็นคนญี่ปุ่น จึงอาจไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรของไทย และหากพิจารณาถึงธุรกิจค้าปลีกของญี่ปุ่นที่เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยและบริหารงานโดยคนญี่ปุ่น ก็พบว่าม้วนเสื่อกลับบ้านไปแล้วหลายราย ดังนั้นการตัดสินใจดึงผู้บริหารคนไทยเข้ามาบริหารในครั้งนี้เชื่อว่ากลุ่มสยามแฟมิลี่มาร์ทยังต้องการขยายธุรกิจในประเทศไทยต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us