Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 พฤศจิกายน 2549
เวิล์ดแบงก์ประเมินภาพศก.ปีหน้าลดน้ำหนักส่งออกหันพึ่งการลงทุน             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Economics




"หม่อมอุ๋ย"เผยเศรษฐกิจปี 50 จะขยายตัว 4.5-5% ขณะที่การส่งออกโตแค่ 11.2% สอดคล้อง"เวิล์ดแบงก์" คาดจีดีพโต 4.6% ขณะที่การส่งออกขยับเพิ่ม 11%และจะไม่ใช่ตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หันพึ่งการลงทุนภาครัฐ-เอกชนเป็นหัวจักรต่อ แนะภาครัฐบาลผ่อนคลายข้อจำกัดของการทำธุรกิจทางด้านกฎระเบียบ ทักษะฝีมือแรงงาน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดแคลนอยู่ หวั่นผู้ประกอบการมองเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ถึงกรณีที่ธนาคารโลกประเมินว่าการส่งออกของไทยในปีหน้าจะขยายตัวลดลงว่า ทุกวันนี้นักลงทุนมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น และดัชนีตลาดหุ้นก็ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งการส่งออกในปีหน้า ที่ธปท.คาดว่าจะอยู่ที่ 11.2% ในอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.5-5.5% นั้นคิดว่าสามารถทำได้อย่างแน่นอน

ด้านนางกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารโลก กล่าวคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีประเทศไทยปีหน้า ว่า จะเติบโตร้อยละ 4.6 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2549 โดยมีแรงผลักดันจากการลงทุนของภาครัฐที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตกว่าปีนี้ เพราะมีการเบิกจ่ายทั้งปี เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายภาครัฐล่าช้าในไตรมาส 4 ประกอบกับภาคเอกชนก็จะมีการลงทุน แต่ยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ซึ่งธนาคารโลกคาดว่าจะอยู่ในระดับที่ลดลงจากปี 2549 ที่มีราคาเฉลี่ย 65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2549 ลดลงเหลือ 60 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 แต่ราคาในไทยจะไม่ลดลงมากนัก และความไม่มั่นใจนโยบายของภาครัฐ ส่วนภาคการส่งออกปีหน้าจะไม่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยเหมือนกับปี 2549 ที่การส่งออกโตร้อยละ 16

“ปีหน้าเศรษฐกิจน่าจะโตได้ 4.6% โดยภาคการส่งออกไม่น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนอย่างปีนี้ แต่แรงผลักดันในปีหน้าน่าจะมาจากการลงทุนของภาครัฐและเอกชนมากกว่า” นางกิริฎา กล่าว

ทั้งนี้ในปีหน้าธนาคารโลกประเมินว่าการส่งออกจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 11 แม้ว่าการลดลงของอัตราเงินเฟ้อ จะช่วยทำให้การบริโภคภาคครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น และการลงทุนของภาครัฐมีการเบิกจ่ายเป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็ตาม แต่ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สูงขึ้น การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และความไม่แน่นอนของนโยบาย ล้วนไม่สนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน อีกทั้งในปี 2550 ตลาดโลกจะเกิดการชะลอตัวของอุปสงค์ลง ในขณะที่สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของไทย (จีเอสพี) ที่เคยได้รับจากสหรัฐจะหมดลง ก็จะทำให้สินค้าของไทยมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 1-3 ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นล้วนส่งผลกระทบต่อการส่งออกจนทำให้ภาคการส่งออกไม่ได้ช่วยพยุงเศรษฐกิจได้อีก ขณะเดียวกันเชื่อว่าในปีหน้าดุลการค้าของไทยจะขาดดุลประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่ในปีนี้ไทยขาดดุลการค้าประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในปีหน้า คาดว่าจะขยายตัวไม่มากไปกว่าอัตราการขยายตัวในปี 2549 เนื่องจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ผู้ประกอบการยังคงต้องปรับตัว เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น และอีกสิ่งที่เป็นอุปสรรคของนักลงทุนในขณะนี้คือ การควบคุมราคาสินค้าโดยกระทรวงพาณิชย์ ส่งผลกระทบทำให้ผู้ประกอบการมีกำไรลดลง และจากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจครั้งล่าสุดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังพบว่าผู้ประกอบการระบุว่า การไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ เป็นหนึ่งในสามข้อจำกัดที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ และการควบคุมราคา ยังส่งผลกระทบต่อผลิตภาพของบริษัทธุรกิจให้ลดลง

ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่า จะเร่งตัวขึ้น แต่การเบิกจ่ายจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่อาจล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากจะมีการเบิกจ่ายตลอดทั้งปี โดยปีงบประมาณ 2550 งบประมาณการลงทุนภาครัฐจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 และรัฐวิสาหกิจจะอนุมัติงบประมาณการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ด้านการลงทุนภาคเอกชนในปีหน้า คาดว่าจะไม่ขยายตัวมากไปกว่าอัตราการขยายตัวในปี 2549 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการแข็งค่าขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง

นางกิริฎา กล่าวต่อว่า หากมองแนวโน้มไปข้างหน้าจะพบว่า ภาคธุรกิจยังคงต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวจากราคาน้ำมันที่สูง ซึ่งเป็นปัจจัยใหม่ระยะปานกลางที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและทำให้กำไรส่วนเพิ่มของบริษัทลดลง ประกอบกับยังต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านการส่งออกที่รุนแรงขึ้น ทั้งสินค้าที่ใช้แรงงาน และสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีจากประเทศจีนและประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางอื่น ๆ ซึ่งมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาในระดับผู้ประกอบการและมหาวิทยาลัยอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดทางด้านอุปทานที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตได้กลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว ฉะนั้นการจะทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องเร่งแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่

“รัฐบาลควรต้องผ่อนคลายข้อจำกัดของการทำธุรกิจทางด้านกฎระเบียบ ทักษะฝีมือแรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดแคลนอยู่ ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการลงทุน และการเพิ่มผลิตภาพ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องนำนวัตกรรมและความรู้มาใช้ เพราะเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพการผลิต นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพในภาคบริการ เพราะภาคบริการมีขนาดใหญ่ถึงร้อยละ 45 ของจีดีพีของไทย ซึ่งภาคบริการประกอบด้วย ภาคการเงิน การสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ โลจิสติกส์ และบริการธุรกิจ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยลดต้นทุนการประกอบการของบริษัท และช่วยเพิ่มอุปสงค์ต่อสินค้าไทยได้” นางกิริฎา กล่าว

อย่างไรก็ตามในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยจะเติบโตร้อยละ 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกที่ขยายตัวค่อนข้างมาก ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงอย่างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยรวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นลดลง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐในปี 2549 ชะลอตัวลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us