Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
ซอฟท์แบงก์จะหาทางออกจากภาวะหนี้ท่วมอย่างไร?             
 

   
related stories

"ซอฟท์แบงก์" - บนเวทีแห่งการตั้งรับของผู้นำโลกอินเทอร์เน็ต
มาซาโยชิ ซัน - เขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ
NCB - ความหวังในการระดมทุนของซอฟท์แบงก์
กรณีศึกษา "Yahoo! Japan" รางวัลแห่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง

   
search resources

Softbank Corp.
Networking and Internet




ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ เน้น ที่การพึ่งเงินจากนักลงทุน เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจความเสี่ยงสูง ซอฟท์แบงก์กลับเน้น ที่การระดมเงินด้วยการกู้ยืม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร

ในฐานะธุรกิจยักษ์ใหญ่แห่งอินเทอร์เน็ต ซอฟท์แบงก์กลับระดมทุนด้วยการกู้ มากกว่าจะระดมทุนผ่านตลาดทุนเช่นกิจการอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ในภาวะเช่นปัจจุบัน บริษัทอินเทอร์เน็ตทั่วไปมักจะเน้นขายหุ้นของตนเอง และขายธุรกิจ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป เพื่อความอยู่รอด

ซอฟท์แบงก์ได้เคยกำหนดกลยุทธ์การลงทุนทั่วโลกโดยเน้นตลาดทุนมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ประสบผล บริษัทฯ จึงต้องมุ่ง ที่การออกหุ้นกู้ เพื่อระดมเงินแทน แต่ในภาวะ ที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตมีความเสี่ยงสูงมากเช่นนี้ พวกนักลงทุนจึงเริ่มหวั่นวิตก

ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ซอฟท์แบงก์มีหนี้ระยะกลาง และระยะสั้นรวมกันทั้งสิ้นราว 2,800 ล้านดอลลาร์ หนี้ส่วนใหญ่ถึงกำหนดชำระคืนในอีก 4 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้ มีหนี้มูลค่าราว 1,900 ล้านเหรียญ ที่อยู่ในรูปของหุ้นกู้ถือครองโดยนักลงทุน บริษัทฯ เคยให้สัญญานับจาก ที่เริ่มออกหุ้นกู้เมื่อปี 1995 ว่า จะปฏิบัติต่อหุ้นกู้เหล่านี้เสมือนเป็นเจ้าหนี้ระดับต้น ๆ โดยให้ความสำคัญสูงกว่าเงินกู้ ที่กู้มาจากธนาคารเสียอีก ทั้งนี้สถาบันการเงินหลัก ที่ปล่อยกู้ให้แก่ซอฟท์แบงก์ก็คือ บริษัทประกันชีวิต อันได้แก่ ได-อิชิ ไลฟ์ และไดโด ไลฟ์

ซอฟท์แบงก์อาจใช้วิธีออกหุ้นเพิ่ม เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนหนี้สินเหล่านี้ แต่ในภาวะปัจจุบัน ที่ตลาดหุ้นซบเซา การจะทำเช่นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และอาจทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของมาซาโยชิ ซัน ผู้ก่อตั้งซอฟท์แบงก์ ต้องลดลงจากปัจจุบัน ที่ 38%

ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก็ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1997 จนเหลือแค่ 79 ล้านเหรียญในปีการเงิน ที่สิ้นสุดเมื่อ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา กำไรส่วนใหญ่มาจากการบริหารกองทุน, การขายซอฟท์แวร์ และจากบริษัทแม่อีก 2-3 แห่ง ซึ่งยังไม่ได้รวมยอดเข้ากับธุรกิจของซอฟท์แบงก์ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผลขาดทุน ที่คาดว่าจะสูงลิ่วของนิปปอน เครดิต แบงก์ ที่ซอฟท์แบงก์เข้าครอง

อันที่จริงซอฟท์แบงก์ยังสามารถจ่ายคืนหนี้สิน และระดมทุนก้อนใหม่มาได้โดยการกำจัดธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป เมื่อเดือนตุลาคม บริษัทขายหุ้นบางส่วนของ"เอสเควาย เพอร์เฟคท์ คอมมิวนิเคชั่น" กิจการดาวเทียมของญี่ปุ่นออกไป และได้กำไรก่อนภาษีมา 136 ล้านเหรียญ แต่สภาพตลาดทุน ที่เงียบเหงา ก็อาจทำให้การขายธุรกิจเป็นเรื่องยาก ยิ่งกว่านั้น ถ้าเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ภาวะตลาดซบเซาย่อมทำให้บริษัทมองไม่เห็นผลกำไรเมื่อพิจารณา ที่ราคาหน้าตั๋ว เนื่องจากเมื่อซอฟท์แบงก์ ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทำการขายหุ้น ย่อมทำให้เกิดกระแสการขายหุ้นตามมาอย่างไม่มีทางเลี่ยง

ส่วนราคาหุ้นของ Yahoo! และ Yahoo! Japan ก็ต่ำจนยาก ที่จะคิดระดมเงินจากกิจการทั้งสองได้

ยิ่งไปกว่านั้น ซอฟท์แบงก์ยังต้องเผชิญปัญหาภาษีซ้ำซ้อน อันเนี่องมาจากนโยบายตอบโต้การค้าของสหรัฐฯ ที่มีต่อญี่ปุ่น นี่ย่อมลดทอนผลกำไรของบริษัทฯ ลงโดยตรง แต่อาจจะส่งผลโดยอ้อมต่อมูลค่าหุ้นของซอฟท์แบงก์เอง เนื่องจากนักลงทุนอาจจะนำยอดนี้ไปหักออกจากมูลค่าตลาดของหุ้นจดทะเบียนอื่น ๆ ของตน

ขณะเดียวกัน ส่วนของธุรกิจ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด ก็เป็นการยาก ที่ซอฟท์แบงก์จะนำเข้าตลาดในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจเหล่านั้น ล้วนประสบภาวะขาดทุน

เมื่อหมดหนทาง ซอฟท์แบงก์จึงต้องกู้หนี้ยืมสินต่อไปเรื่อย ๆ แทน ที่จะพยายามปลดหนี้ โดยส่วนใหญ่บริษัทฯ ก็ใช้วิธีออกหุ้นกู้ แต่เมื่อกลางเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา บริษัทฯ ใช้วิธีขอเปิดวงเงินสินเชื่อมูลค่า 150,000 ล้านเยน (1,400 ล้านเหรียญ) จากธนาคารญี่ปุ่น 10 แห่งแทน

แน่นอนว่า ซอฟท์แบงก์น่าจะหาทางจ่ายคืนหนี้สินเหล่านี้ได้ในที่สุด เพราะบริษัทมีเงินสดในมือถึง 2,000 ล้านเหรียญ และเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา มูดี้ส์ บริษัทจัดอันดับรายใหญ่ ก็ยกระดับหุ้นกู้ระยะยาวของซอฟท์แบงก์ขึ้นจาก B1 (ภาวะน่าเป็นห่วง) เป็น Ba3 ทว่าการตัดสินใจของมูดี้ส์นั้น เกิดขึ้นก่อน ที่ราคาหุ้นของกิจการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะตกต่ำลง งานนี้เห็นทีซอฟท์แบงก์จะกำลังเจอกับศึกใหม่เสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us