Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
คอมพิวเตอร์ แห่งศตวรรษที่ 21             
 


   
search resources

Computer




เมื่อยอดนักสืบจากโลกที่มีประชากรอยู่กันอย่างแออัด ได้รับการมอบหมายให้ไปสืบสวนคดีฆาตกรรมบนดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง ซึ่งมีชาวโลกจำนวนน้อยนิดอาศัยอยู่ในพื้นที่อันกว้างใหญ่ และสร้างสังคมที่มั่งคั่งด้วยวิทยาการ และใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าในชีวิตประจำวัน เขาก็พบว่า ทุกคนบนดาวดวงนั้น ล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งเพลิดเพลินกับงานของตัวเองโดยไม่มีสาเหตุที่ให้ต้องครุ่นคิด นอกเหนือไปจากการสร้างความก้าวหน้าในวิทยาการสาขาที่ตนสนใจฝักใฝ่อยู่ ทุกคนได้รับสิ่งที่ตัวเองจำเป็นต้องใช้สำหรับงานและการดำรงชีพอย่างสุขสบาย ซึ่งรวมทั้งสิ่งที่จะบำรุงจิตใจอย่างเช่น ศิลปะและดนตรีอย่างที่ต้องการตามรสนิยมของแต่ละคน

การสื่อสารติดต่อกันระหว่างผู้คนบนดาวดวงนั้น ใช้เทคโนโลยีในลักษณะการสร้างสภาพเหมือนจริง บวกกับประชุมทางไกลผ่านจอภาพ คนสอง-สามคนหรือกว่านั้น สามารถสมาคมกันโดยผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร การจอกกิ้งอยู่ในทุ่งหลังบ้านของตัวเองของคนสองสามคนในเวลาเดียวกัน สามารถทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับได้วิ่งออกกำลังกายอยู่ในสถานที่เดียวกันได้ การรับประทานอาหารหรือกระทั่งเล่นไพ่ ก็อาจทำได้ด้วยลักษณาการเดียวกัน

ที่กล่าวมานั้น เป็นจินตนาการของนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ไอแซ้ค อาซิมอฟ ผู้ล่วงลับเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว อาซิมอฟกับนักเขียนแนวเดียวกับเขามีจินตนาการถึงเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย ทว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดูจะมีความเป็นไปได้สูง แม้ปัจจุบันก็ดูเหมือนว่า สภาพสังคมบางส่วนมีลักษณะใกล้จะคล้ายคลึงกับในนิยายขึ้นมาบ้างแล้ว

ปัจจุบันนี้ มีบริษัทซอฟต์แวร์ที่โฆษณาสินค้าของตนด้วยคำถามว่า "วันนี้คุณอยากจะไปที่ไหน?" แผ่นซีดี-รอมกับคอมพิวเตอร์ประจำบ้าน สามารถพาสมาชิกในบ้านเดินทางไปได้ตามใจปรารถนาได้มากแห่งขึ้น นับตั้งแต่โบราณสถานที่น่าสนใจในนานาประเทศ พิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงก้องโลก ห้องแสดงภาพเขียนของจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ ดินแดนใต้น้ำลึกบนดวงจันทร์ ดาวอังคาร หรือแม้แต่ในห้วงจักรวาลไกลไปจากสุริยมณฑลอีกหลายพันปีแสง รวมทั้งดินแดนในอดีตสมัยไดโนเสาร์ครองโลก ความว่างเปล่าก่อนกำเนิดเอกภพด้วยการระเบิดใหญ่ หรือกระทั่งโลกแห่งอนาคต

แม้ว่าเทคโนโลยีสร้างสภาพเหมือนจริง ยังจะต้องมีการปรับปรุงให้สมบูรณ์ แต่มันก็เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้วและจับจ้องได้

เมื่อต้นเดือนธันวาคม ระหว่างที่เดินสายประชาสัมพันธ์หนังสือเล่มใหม่ของเขาเรื่อง "หนทางข้างหน้า" (The Road Ahead) ที่ลอนดอน วิลเลี่ยม เกตส์ ประธานบริษัทไมโครซอฟ ได้ย้ำในทำนองเดียวกับนักธุรกิจในแวดวงคอมพิวเตอร์ทั่วไปว่า เพียงในอนาคตอันใกล้เพียง 4-5 ปีข้างหน้านี้ คอมพิวเตอร์พีซีที่ใช้กันทั่วไป รวมทั้งในครัวเรือน จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก โดยจะมีราคาถูกลงมาก ในระดับราคาเพียง 500-900 ดอลลาร์ (12,500-22,500 บาท) เท่านั้น

เพียง 25 ปีที่ผ่านมานี้ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ดีขึ้นถึง 25,000 เท่า พัฒนาการของมันสืบเนื่องมาจากสิ่งที่เรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ที่อยู่ในรูปของชิป (chip) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ชิปต้นฉบับรุ่นแรกที่มีชื่อว่า อินเทล 4004 ถือกำเนิดขึ้นเพียงเมื่อปี ค.ศ. 1971 ที่ผ่านมานี้เอง

ก่อนที่ไมโครโพรเซสเซอร์หรือชิปจะลุกขึ้นมาปฏิวัตินั้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อาศัยเพียงโพรเซสเซอร์กับหน่วยความจำที่สามารถเก็บได้ทั้งข้อมูลและโปรแกรม แม้ว่าจะมีข้อดีตรงที่สามารถเอาโปรแกรมที่เก็บไว้ มาแลกเปลี่ยนกันได้

เมื่อทรานซิสเตอร์ ได้รับพัฒนาขึ้นมาจากหลอดสูญญากาศที่นำมาใช้ทำวงจรไฟฟ้าในทศวรรษที่ 1940 เมื่อแบบอย่างของโปรแกรมที่เก็บไว้ ได้ถูกนำมารวมเข้ากับทรานซิสเตอร์ เมื่ออีก 10 ปีให้หลัง เกิดเป็นโพรเซสเซอร์ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วพอที่จะนำไปรวมกันอยู่บนชิปที่ทำด้วยซิลิคอนขนาดเท่ากับปลายนิ้วก้อยได้ ต้นทุนการผลิตโพรเซสเซอร์ก็ถูกลงพร้อมๆ กับเกิดมีสมรรถนะในการผลิตได้คราวละมากๆ คอมพิวเตอร์ซึ่งอาศัยโพรเซสเซอร์เป็นหลักในการทำงานก็มีราคาถูกลงไปด้วย

โพรเซสเซอร์ขนาเล็กนี้ ถูกเรียกขานว่าไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อย้ำถึงความเล็กของมัน

การผลิตชิป ทำได้คราวละเป็นแผงๆ แผงชิปแผงหนึ่งๆ รวมเรียกว่า เวเฟอร์(wafer) เหมือนชื่อขนม การผลิตเวเฟอร์เปรีบเสมือนการผลิตพิซซ่า ซึ่งมีแป้งพิซซ่าทำด้วยซิลิคอน และส่วนที่เปรียบได้กับหน้าพิซซ่า คือสารเคมีที่จะนำไปผ่านกระบวนการ (หรืออบ) สัก 20 ครั้ง ทำให้มันกลายเป็นทรานซิสเตอร์, คอนดักเตอร์ และอินซูเลเตอร์ จากนั้นก็ตัดเวเฟอร์ออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นคือชิป 1 ตัว

พัฒนาการของชิปก่อนจะมาถึงขั้นเพาเวอร์ชิปที่ล้ำเลิศของยุคปัจจุบันนี้ ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว มีอัตราการปรับปรุงปีละ 35 เปอร์เซ็นต์ โดยเร่งความเร็วขึ้นมาอยู่ในราว 55 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หรือ 4 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนตั้งแต่เมื่อราว 10 ปีก่อน ทั้งนี้นับว่าเร็วผิดความคาดหมาย ผลก็คือ
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ทำงานได้รวดเร็วมากกว่าที่ได้เคยพยากรณ์เอาไว้เมื่อสมัยต้นทศวรรษที่ 1980 อยู่ 3 เท่า หรือพูดอย่างรวบรัดได้ว่า ขณะนี้ เรากำลังใช้คอมพิวเตอร์ของปี ค.ศ. 2000 อยู่

สิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นเช่นนี้ มีองค์ประกอบหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีซิลิคอน ความก้าวหน้าในการผลิตและการออกแบบชิปให้ปฏิบัติงานตามลำดับขั้นได้เร็วขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้มันสามารถปฏิบัติงานรวบยอดคราวละหลายลำดับขั้นพร้อมๆ กัน โดยใช้โพเซสเซอร์หลายๆ ตัวที่บรรจุอยู่ภายในเครื่องเดียวกัน

การพัฒนาชิปยังคงดำเนินอยู่ และคอมพิวเตอร์ก็ยังมีช่องทางให้พัฒนากันได้อีกมากมายหลายแบบหลายทิศ ในครรลองที่ได้มาจากพื้นฐานดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อาทิ การรวมเอาโพรเซสเซอร์กับเมมโมรี่ เข้ามารวมกันอยู่บนชิปตัวเดียวกัน เหมือนกับที่ไมโครโพรเซสเซอร์เคยนำเอาองค์ประกอบต่างๆ ของโพรเซสเซอร์ตัวหนึ่งๆ เข้ามารวมอยู่บนชิปๆ เดียว

ผลสรุปที่ได้จากพัฒนาการในแนวทางนี้ คือสิ่งที่เดวิด เอ. แพ็ตเทอร์สัน ผู้ที่สอนคอมพิวเตอร์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์มาตั้งแต่สมัยปีค.ศ.1977 และเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า คลุกคลีอยู่กับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์มาโดยตลอด เรียกขานว่า ไอแรม (IRAM) หรือที่ย่อมาจาก Intelligent random-access memory โดยที่ทรานซิสเตอร์ส่วนใหญ่บนชิปแบบใหม่นี้ จะทำหน้าที่ในฟากของเมมโมรี่

ชิปแบบใหม่ในความคิดของแพ็ตเทอร์สัน จะมีราคายิ่งถูก และขนาดยิ่งเล็กจนอาจะได้ชื่อใหม่ที่เล็กกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นไพโคโพเซสเซอร์ (picoprocessor) เป้าหมายระยะไกลกว่านั้น ก็คือการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้ทำเป็นโพเซสเซอร์หลายๆ ตัว โดยนำมารวมกันอยู่บนชิปตัวเดียว ผลลัพธ์ของมันก็จะออกมาเป็นไมโครมัลติโพรเซสเซอร์ (micromulti-processor)

เมื่อจินตนาการมาถึงตรงนี้ ก็จะมองเห็นขีดจำกัดของชิปได้อยู่ลางๆ ว่า ความเล็กนั้นก็เช่นเดียวกับความใหญ่ คือมีขีดจำกัดของมัน การพัฒนาชิป ดำเนินเรื่อยมาเป็นลำดับ จนถึงขั้นของเพาเวอร์ชิป (power chip) ในค่ายของไอบีเอ็ม แอบเปิ้ลและโมโตโรล่า กับพี 6 (P6) ของอินเทล บริษัทผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งกำลังจะได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่น้อยทั้งหลายทั่วไปหมด หากว่าเราไม่คิดวิธีการผลิตชิปในแบบใหม่ด้วยหลักการใหม่ ด้วยพื้นฐานใหม่ ความก้าวหน้าที่เคยมีเรื่อยมาหลายสิบปี ก็จะต้องหยุดชะงักลง

ปัจจุบันนี้ การถ่ายแบบโครงสร้างของวงจรไฟฟ้าจากสิ่งที่เรียกว่า มาร์สค์ (mask) หรือหน้ากาก ลงบนชิปซิลิคอน ใช้วิธีการที่เรียกว่า โฟโตลิโธกราฟี (photolithography) นั่นก็คือการใช้แสงในการถ่ายทอดลวดลายหรือผังของวงจร แต่แสงมีข้อจำกัดตรงที่ขนาดของคลื่นของมัน ซึ่งมีขอบเขตตามธรรมชาติ อีกสัก 25 ปีคลื่นแสงจะมีขนาดกว้างเกินกว่าจะนำมาปรับปรุงชิปได้อีก

ระหว่างนี้ ก็เริ่มมีการคิดหาสิ่งที่จะนำมาใช้แทนแสงได้แล้ว อาทิการใช้รังสีเอ็กซ์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าคลื่นแสง ทว่าหนทางในการผลิตอย่างเป็นอุตสาหกรรม ยังทำไม่ได้

อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ลำแสงอิเล็กตรอนเพื่อสร้างมาร์สค์สำหรับจัดทำลวดลายของเวเฟอร์ซิลิคอน โดยที่มันจะลอกสำเนาเส้นแต่ละเส้นบนผังวงจรถ่ายลงบนชิป เทคนิคนี้ดูจะลู่ทางเป็นไปได้อยู่ ทว่าเป็นกระบวนการที่เชื่องช้าเกินกว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์ได้ เพราะมันจะทำให้ต้นทุนสูงมาก หากจะเปรียบกับวิธีการทำพิมพ์ด้วยแสงแบบเก่า การวาดเส้นโดยใช้แท่งอิเล็กตรอนก็เหมือนกับการเขียนด้วยมือลงบนกระดาษทั้งหน้าเต็มๆ ในขณะที่การใช้แสง ใช้เวลาเท่ากับการทำสำเนาซีร็อกซ์

อีกวิธีการหนึ่งที่กำลังคิดอ่านกันอยู่ คือการใช้โมเลกุลของสารอินทรีย์แทนการใช้ซิลิคอน ตัวอย่างในกรณีที่วิจัยในเรื่องนี้ก็คือ โรเบิร์ต แอล. เบิร์ก แห่งมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ ซึ่งกำลังพิจารณาถึงศักยภาพในการนำเอาโมเลกุลที่สัมพันธ์กับเม็ดสีที่มีชื่อว่า แบ็คทีริโอโรด็อบซิน (bacteriorhodopsin) ซึ่งจะเปลี่ยนรูปเมื่อถูกแสงโมเลกุลเช่นนี้ สามารถจะนำเอามาใช้ในคอมพิวเตอร์ระบบอ็อบติคัลได้ ซึ่งกระแสโฟตอนจะเข้าแทนที่อิเล็กตรอน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของโมเลกุลพวกนี้ อยู่ที่การผลิต ซึ่งอาศัยให้จุลชีพสังเคราะห์ขึ้นได้โดยไม่ต้องไปผลิตในโรงงาน มีผู้ประเมินว่า ชีวโมเลกุลที่ได้รับการกระตุ้นด้วยโฟตอนพวกนี้ สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบความจำสามมิติที่จะมีสมรรถนะมากกว่าซีดี-รอมชนิดที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 300 เท่า

คอมพิวเตอร์แห่งอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น เราอาจพยากรณ์ได้เพียงระยะเวลา 25 ปีต่อจากนี้ คือถึงปี ค.ศ.2020 เท่านั้น หากว่าพิจารณาจากความเป็นมาของคอมพิวเตอร์และสภาวะที่เป็นอยู่ได้ในขณะนี้ ถัดไปจากนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยรากฐานอย่างใหม่ ในการวิวัฒนาการขึ้นไปจากคอมพิวเตอร์พันธุ์เก่า

คอมพิวเตอร์ได้ชื่อว่าเคยผ่านการปฏิวัติมาแล้วหลายครั้งหลายหน กว่าจะก้าวมาถึงปัจจุบัน ตัวมันเองก็ได้ชื่อว่าได้ปฏิวัติสังคมมาแล้ว โดยจะส่งผลในเชิงปฏิวัติต่อไปอีก…ทั่วโลก ในความเห็นของเดวิด แพ็ตเทอร์สัน เขาคิดว่าอนาคตของมันจะเป็นไปในทางวิวัฒน์ ซึ่งสังคมโลกของเรา ก็อาจจะดำเนินไปในแนวทางเดียวกัน ทว่าจะวิวัฒน์ไปเป็นอย่างไรนั้น สุดที่จะหยั่งถึงได้

จินตนาการถึงเทคโนโลยีและสภาพสังคมย่อมจะเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ดังกรณีของสังคมมนุษย์บนดาวเคราะห์ที่เกิดความรุนแรงครั้งแรก และต้องอาศัยนักสืบจากดาวโลก ในนิยายของไอแช็ค อาซิมอฟ ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้น ทว่าชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงนั้นไม่ใช่ยูโทเพีย (เพราะมีความรุนแรงเกิดขึ้นจนได้) และจะว่าไปแล้ว ยูโทเพียเองก็จะต้องมีวิวัฒนาการเช่นเดียวกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us