Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
Fleet View ถึงรถจะเก่าแต่เทคโนโลยีล้ำยุค             
โดย สุชาติ สวัสดิยานนท์
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

   
search resources

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เรียลไทม์
วีระ ริ้วพิทักษ์
Transportation




เหตุที่ขสมก.ต้องแบกรับภาระขาดทุนอันหนักอึ้งในทุนวันนี้นั้น นอกจากการบริหารงานที่ไร้ทิศทางแน่นอน การขาดวิธีควบคุมเม็ดเงินที่รั่วไหลขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การขาดแนวทางควบคุมการเดินรถให้ใช้รถได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ก็เป็นข้อสำคัญที่ทำให้ขสมก.ต้องมีสภาพเช่นนี้ ด้วยตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว ในสมัยของผอ.ขสมก.คนปัจจุบันจึงได้มีความพยายามแสวงหาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาอุดข้อบกพร่องในส่วนนี้

ระบบสื่อสารระหว่างศูนย์ควบคุมกับรถโดยสารขององค์กรที่เรียกว่า "Fleet View" ที่เป็นนวัตกรรมชิ้นสำคัญจากการรังสรรค์ของบริษัทเรียลไทม์ จำกัด ในเครือของยูคอมกรุ๊ป สร้างความพิศมัยให้กับขสมก.เป็นอย่างมาก จนกระทั่งได้มีการตกลงจะนำมาทดลองใช้กับรถโดยสารขององค์กรในเร็ววันนี้

Fleet View เป็นระบบ Automatic Vehicle System (AVLS) เป็นระบบควบคุมการขนส่งรูปแบบใหม่ ที่ได้มีการนำเอาอุปกรณ์การสื่อสารและเทคโนโลยีชั้นสูงมาผนวกกัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางการขนส่ง โดยสามารถทราบความเคลื่อนไหวของยานพาหนะที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ต่างๆ บนแผนที่ทางจอภาพคอมพิวเตอร์ และมีการนำเทคโนโลยีของดาวเทียมที่เรียกว่า Global Positioning System (GPS) มาเป็นตัวบอกพิกัดว่ายานพาหนะอยู่ในตำแหน่งใด มีการติดตั้ง Base Station ให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ แต่ในระยะแรกจะเน้นเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อนเป็นประเดิมแล้วจึงจะขยายออกไปให้ทั่วราชอาณาจักรในอนาคตอันใกล้

ดร.วีระ ริ้วพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ของเรียลไทม์ ผู้คลุกคลีกับการรังสรรค์ Fleet View มาตั้งแต่ต้น อรรถาธิบายถึงคุณลักษณ์สำคัญของเครื่องมือควบคุมไฮเทคนี้ว่า ด้วยความสามารถของเครื่องมือนี้ที่ใช้ได้ทั้งการติดต่อทางเดียว สองทาง จึงทำให้ทางศูนย์ควบคุมสามารถส่งคำถามและรับคำตอบจากผู้ขับขี่รถโดยสารได้ ทั้งในกรณีของการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการขนส่ง หรือเกิดกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ระบบนี้ยังช่วยให้ทราบถึงตำแหน่งระยะเวลาที่รถจอด การควบคุมความเร็วของรถโดยสารเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุ และโปรแกรมติดต่ออื่นที่พร้อมจะใส่เพิ่มเติมในอนาคต แล้วแต่ความจำเป็นของอุตสาหกรรมขนส่งแต่ละประเภท

สำหรับขสมก.นั้น หลังจากได้มีการศึกษาร่วมกันกับทางเรียลไทม์แล้ว ในขณะนี้ได้มีการตกลงในระดับหนึ่งที่จะให้มีการทดลอง Fleet View กับรถเมล์ขององค์การแล้ว เพื่อหาข้อสรุปถึงความเป็นไปได้ที่จะนำระบบนี้มาใช้กับทางขสมก. ซึ่งดร.วีระกล่าวว่า แม้ระบบนี้จะสามารถช่วยให้การปล่อยรถออกจากท่า หรือควบคุมการเดินรถของคนขับเป็นไปได้อย่างดีก็ตาม แต่หากขสมก.ไม่สามารถหามืออาชีพเข้ามาจัดการศูนย์ควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว เครื่องมือนี้ก็จะไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย

"ที่เราสามารถช่วย ขสมก.ได้ก็คือการสนับสนุนด้านเครื่องและอุปกรณ์ เราไม่มีความสามารถไปช่วยควบคุมได้อย่างแน่นอน เพราะข้อมูลและการคลุกคลีด้านนี้ อยู่ที่ขสมก.ทั้งสิ้น"

นอกจากควบคุมการเดินรถแล้ว เครื่อง Fleet View ยังสามารถช่วยควบคุมพฤติกรรมของคนขับ และการรั่วไหลภายในขสมก.ได้อีกด้วย รวมถึงการตรวจจับพฤติกรรมที่คนขับแอบออกนอกเส้นทางเพื่อไปถ่ายน้ำมันออกจากถังไปขาย หรือการคำนวณอัตราใช้บริการของผู้โดยสารในแต่ละวัน เพื่อให้ทราบตัวเลขรายได้แท้จริงนั้น Fleet View สามารถสนองตอบความต้องการในจุดนี้ได้

อย่างไรก็ตาม ในจุดนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ผู้บริหารขสมก. จะต้องหาหนทางนำเครื่องมือไปติดโดยได้การยอมรับของพนังานปฏิบัติงานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งภายในองค์กรตามมา ซึ่งที่ผ่านมาทางเรียลไทม์ก็เคยมีประสบการณ์มาก่อนกับรถขนน้ำมัน หรือรถขนเงินซึ่งเป็นลูกค้าที่ใช้ Fleet View อยู่ด้วย โดยเกิดปฏิกริยาต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานด้วยการรื้อเครื่องมือออกไปเป็นจำนวนมาก

การนำ Fleet View เข้าไปเปิดศักราชให้ขสมก.สามารถควบคุมการเดินรถได้ครั้งนี้ แม้ว่าจะหวังผลไม่ได้มากว่า จะเป็นการลดต้นทุนลงมาได้อย่างฮวบฮาบทันทีก็ตาม แต่ก็เป็นการสร้างความตระหนัก และสร้างวินัยให้พนักงานขสมก.เริ่มปฏิบัติการลดการขาดทุนอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก

สำหรับเครื่อง Fleet View นี้ เป็นการทุ่มเทครั้งสำคัญของกลุ่มยูคอม ที่จะเนรมิตรเครื่องควบคุมการเดินทางของยานพาหนะ ซึ่งยังไม่มีค่ายสื่อสารค่ายใด โดดลงมาผลิตและจำหน่ายสินค้านี้เลย แม้แต่ในย่านอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์ก็ยังไม่มีโครงการที่จะผลิตหรือจำหน่ายสินค้านี้แต่อย่างใด ทางเรียลไทม์ใช้เวลาในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ถึง 1 ปี และเพิ่งจะทำตลาดอย่างจริงจังเมื่อสิงหาคมปีที่แล้ว ใช้งบประมาณในการพัฒนาสินค้านี้ถึง 40 ล้านบาท ในปัจจุบันมีภาคราชการอื่นเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานราชการเอกชนนำไปใช้บ้างแล้ว ได้มีการตั้งเป้าหมายว่า ภายในปีหน้าจะทำยอดขายได้อย่างน้อย 2,400 เครื่อง ซึ่งราคาตกเครื่องละ 4,500 บาท เป็นราคาที่รวมคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการด้วย

"แม้ว่าในช่วงแรกเราจะค่อนข้างเสี่ยงอย่างมาก ในการเข้ามาผลิตและจำหน่ายสินค้าตัวนี้ ทั้งที่เครื่องมือสื่อสารอื่น จะเป็นการซื้อมาขายไปเสียส่วนใหญ่ แต่เราก็สามารถเข้ามาสู่ตลาดสินต้าที่มีช่องว่างอีกมหาศาลให้เราทำอีกมากมาย ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีค่ายอื่นโดดเข้ามาทำตลาดในจุนี้แต่อย่างใด และหากเขาจะโดดเข้ามาในตอนนี้แล้ว เขาจะต้องช้ากว่าเราอย่างน้อย 1 ปีแน่นอน"

ดร.วีระกล่าวถึงทิศทางพัฒนาของ Fleet View ในอนาคตว่า จากแรกเริ่มที่ Fleet View เป็นเพียงเครื่องบอกทิศทางขนาดใหญ่เท่ากับกระเป๋าใส่เสื้อผ้า จนถึงปัจจุบัน ที่มีขนาดเล็กเท่ากับกล่องอุปกรณ์ธรรมดา จึงได้วางโครงการไว้ว่า ด้วยเครือข่ายอุปกรณ์การสื่อสารที่มีอยู่ เช่นโทรศัพท์ไร้สาย โทรศัพท์ติดตามตัวฯ จะเป็นช่องทางที่ Fleet View เข้าไปเพิ่มศักยภาพได้ในอนาคต และมีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ต่อไป Fleet View จะบุกเบิกเข้าไปใช้ในบุคคลทั่วไป จนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นอย่างหนึ่งในอนาคต

คุณสมบัติของ Fleet View ที่จะสามารถเสริมประสิทธิภาพในการเดินรถได้นี้ จะช่วยองค์กรเช่นขสมก.ได้อย่างเต็มที่ เพียงแต่ขสมก.จะต้องมีสำนึกและจะนำเครื่องมือไปใช้งานอย่างจริงจัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us