Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
อเมริกันในวงล้อมญี่ปุ่น             
โดย สันทิฎฐ์ สมานฉันท์
 


   
search resources

Auto Dealers




ตลาดรถยนต์เมืองไทยในยุคนี้ ดูมีสีสันอย่างมาก เมื่อรถยนต์จากทุกมุมโลก แห่เข้ามาให้คนไทยได้สัมผัส

ยิ่งในอีกปีสองปีข้างหน้าด้วยแล้ว ยังไม่รู้ว่าสภาพจะออกมาอย่างไร

ญี่ปุ่น จะทนแรงเสียดทานและยึดครองตลาดส่วนใหญ่ได้อีกต่อไปหรือไม่ เป็นเรื่องน่าคิด

และยิ่งบิ๊กทรีจากสหรัฐอเมริกา เดินเครื่องเต็มที่ด้วยแล้ว น่าเป็นห่วงแทนไม่น้อย

พูดถึงบิ๊กทรี ในปัจจุบันล้วนเข้าสู่เมืองไทยอย่างเต็มตัวและเต็มที่ทุกราย มิหนำซ้ำยังประกาศกร้าวถึงความต้องการ ที่จะได้ใหญ่ในเมืองไทย และมุ่งใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก นั่นย่อมหมายถึงการยึดตลาดในปริมาณที่มากต้องเกิดขึ้นตามไปด้วย

บิ๊กทรีจากสหรัฐอเมริกานี้ ไม่อาจจะกล่าวสรุปได้ว่า ใครมีอนาคตกว่าใครในระยะยาว

แต่ ณ ขณะนี้ มองได้ว่า ทั้งฟอร์ดและไครสเลอร์ เดินหน้าไปมาก โดยเฉพาะไครสเลอร์ เพราะผลงานที่เป็นรูปธรรมได้ออกมาโดดเด่นในตลาดแล้ว

สำหรับจีเอ็มนั้น ความชัดเจน ความโดดเด่น และความคืบหน้ายังไม่มีให้เห็นมากนัก แม้โอเปิลจะเปิดตัวและได้รับความสนใจในระดับที่นักลงทุนท้องถิ่นอย่างค่ายพระนครยนตรการจะพอใจก็ตาม

แผนการรุกคืบของพระนครยนตรการ ที่มีจีเอ็มเป็นผู้เกื้อหนุนอยู่ข้างหลังนั้น ดูจะเนิ่นนานและล่าช้ามาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งรถยนต์นั่ง หรือปิกอัพ รุ่นต่างๆ ที่จีเอ็มมีอยู่มากมายเข้ามาทำตลาดเมืองไทย

กว่า 4 ปีมาแล้วที่ข่าวการรุกเข้าตลาดเมืองไทย โดยการร่วมมือกับค่ายพระนครยนตรการของจีเอ็ม เปิดเผยออกมา

จนวันนี้ ทุกอย่างก็ยังไม่เป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่กลุ่มทุนท้องถิ่นแห่งนี้ มีพร้อมเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการตลาด โรงงาน และความชำนาญ แต่ดูเหมือนจะขาดไปบางอย่างเท่านั้น

การตัดสินใจที่เฉียบคมและกล้าลงทุน

สำหรับฟอร์ด สถานการณ์ที่ไม่คืบหน้าในเรื่องประสานความร่วมมือระหว่างตัวแทนจำหน่ายหลักในไทย ทั้งสองแห่งคือ นิวเอร่า ไซเคิล แอนด์ แคเรจ และกลุ่มยนตรกิจ ทำให้ต้องตัดสินใจเข้ามาอย่างเต็มตัวทางด้านการตลาด หลังจากประกาศแผนการร่วมทุนของบริษัทกับมาสด้า มอเตอร์ เพื่อก่อตั้งโรงงานประกอบปิกอัพในไทยด้วยงบประมาณ 12,500 ล้านบาท

ฟอร์ดได้ตัดสินใจที่จะตั้งบริษัทเพื่อเป็นศูนย์การประสานงานด้านการผลิต และการตลาดขึ้นในไทย โดยจะใช้ชื่อว่า ฟอร์ดไทยแลนด์

ฟอร์ด ไทยแลนด์ จะมีส่วนเข้าไปดูแลบริษัทร่วมทุนกับมาสด้า คือ ออโต แอลแลนซ์ ไทยแลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ประกอบรถในไทย และอีกด้านหนึ่งก็คือ การดูแลการจัดจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ดทั้งหมดในไทย รวมทั้งการให้นโยบายต่อตัวแทนจำหน่ายหลักทั้ง 2 ราย

ในส่วนของการผลิตรถยนต์นั่ง ฟอร์ดวางแผนว่าจะเกิดขึ้นหลังจากที่โรงงานปิกอัพเริ่มก่อสร้างในปี 2539 และเริ่มเดินเครื่องผลิตในกลางปี 2541 โดยสายการผลิตรถยนต์นั่งอาจเกิดขึ้นในอีก 1-2 ปีต่อมา

เกณฑ์การตัดสินใจหลักในการขึ้นไลน์การประกอบรถยนต์นั่งในไทย ซึ่งจะใช้ร่วมกับโรงงานประกอบปิกอัพก็คือ คุณภาพ หากคุณภาพการประกอบปิกอัพดี ไลน์การผลิตรถยนต์นั่งก็จะเกิดขึ้นตามมา โดยฟอร์ดเองก็มีความตั้งใจที่จะเน้นด้านคุณภาพและการถ่ายโอนเทคโนโลยีมายังไทยอยู่แล้ว

ฟอร์ดยังได้คาดคะเนความเป็นไปได้ของตนเองว่า สำหรับไทยนั้น อาจจะต้องใช้ระยะเวลาถึง 10 ปี เพื่อสร้างส่วนครองตลาดให้ได้ถึง 10% ของตลาดรถยนต์รวมของไทย เพราะรถญี่ปุ่นมีส่วนครองตลาดอยู่ถึง 90%

แต่ฟอร์ดก็พยายามหาแนวทางลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด โดยยึดหลักการรุกตลาดด้วยคุณภาพ ราคา และภาพพจน์ เพื่อสร้างความคุ้มค่าให้กับตลาด ด้วยความหวังที่ว่า

แม้ จีเอ็ม โตโยต้า ฮอนด้า จะมีรถจำหน่ายอยู่ทุกมุมโลก แต่ก็ไม่เชื่อว่าคนที่ใช้รถโตโยต้าจะใช้รถโตโยต้าไปตลอด

ในส่วน ไครสเลอร์ หลังจากเข้ามาร่วมทุนกับ บริษัท สวีเดนมอเตอร์ส จำกัด (มหาชน) เมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากิจกรรม จะออกมาตามแผนงานเป็นระยะ แม้จะล่าช้าในบางเรื่อง แต่ก็ถือว่า ยังไม่ถึงกับล้มเหลว

และเมื่อมองถึงศักยภาพของนักลงทุนท้องถิ่น อย่าง สวีเดนมอเตอร์ส ที่มีความพร้อมและความชำนาญรอบด้านด้วยแล้ว นับว่าไครสเลอร์ ดูมีแนวโน้มที่ดีไม่ด้อยไปกว่าฟอร์ดแม้แต่น้อย

บิ๊กทรีในไทย ณ วันนี้ คงมีเพียง ฟอร์ด และไครสเลอร์เท่านั้นที่เจิดจรัสขึ้นมา ส่วนจีเอ็มยังคงเก็บตัวเงียบอยู่มาก

แต่กระนั้นก็ตาม เส้นทางเดินของบิ๊กทรีในเมืองไทยยุคโลกไร้พรมแดนเช่นนี้

ญี่ปุ่นคงต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us