|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
นายพรเทพ พรประภา ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางกอกมอเตอร์เวอคส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนัก และสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้แบรนด์ "โคมัตสุ" ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มสยามกลการ เปิดเผยว่า แม้ตลาดรถขุดในประเทศจะมีการชะลอตัวลง แต่ภาพรวมธุรกิจกลุ่มเครื่องจักรกลหนัก และสินค้าอุตสาหกรรมของกลุ่มโคมัตสุในไทย ซึ่งมีทั้งหมด 5 บริษัท มีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากการปรับธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น
"คาดว่าปีนี้กลุ่มโคมัตสุรวมทั้ง 5 บริษัท จะมีผลประกอบการไม่ต่ำกว่า 1.13 หมื่นล้านบาท มากกว่าปีที่แล้วที่ทำได้กว่า 9.9 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตเพื่อส่งออกจากไทยไปยัง 27 ประเทศทั่วโลก และเชื่อมั่นว่ากลุ่มโคมัตสุในไทย จะยังคงมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกของโคมัตสุ ซึ่งล่าสุดได้ลงทุนกว่า 1.25 พันล้านบาท เพื่อรองรับแผนดังกล่าว"
ทั้งนี้ ในการลงทุนของกลุ่มโคมัตสุในไทยกว่า 1.25 พันล้านบาท แบ่งเป็นลงทุนในส่วนของบริษัท บางกอกโคมัตสุ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกรถขุดโคมัตสุ 650 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตสูงสุดจาก 3,000 คัน เป็นประมาณ 6,000 คันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงไตรมาส 3 ของปี 2550 และลงทุนในบริษัท บางกอกโคมัตสุ อินดัสตรีส์ จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเหล็กหล่อชิ้นส่วนรถยกโคมัตสุ จำนวน 450 ล้านบาท แล้วเสร็จประมาณกลางปีหน้า ส่วนที่เหลืออีกกว่า 150 ล้านบาท ลงทุนในการปรับปรุงและขยายสาขาจำหน่ายรถโคมัตสุ
นายพรเทพกล่าวว่า จากการยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางผลิตและส่งออกของกลุ่มโคมัตสุ ทำให้สัดส่วนการผลิตจากเดิม 80% รองรับตลาดในประเทศ ปรับเปลี่ยนเป็นเพื่อส่งออก 80% และทำตลาดในประเทศเพียง 20% ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงของตลาด ที่ปัจจุบันตลาดรถขุดในไทยเหลือเพียงเดือนละไม่ถึง 100 คัน ขณะที่ช่วงขยายตัวสูงสุดในปี 1995 มียอดขายถึงเดือนละกว่า 200 คัน
"ในปีนี้คาดว่าตลาดรถขุดในประเทศไทย น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,700-1,800 คัน เทียบกับปีที่แล้วลดลงถึง 17% แต่ในส่วนของรถขุดโคมัตสุถึงสิ้นปีนี้ น่าจะมียอดขายอยู่ที่ 525 คัน หรือคิดเป็นมูลค่า 2,000 ล้านบาท ลดลงเพียง 5% ซึ่งหากเทียบกับตลาดโดยรวมแล้ว ถือว่าน่าพอใจเพราะลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่สำคัญสัดส่วนทางการตลาดยังเป็นอันดับ 1 โดยมีแชร์เพิ่มเป็น 32% "
ส่วนทิศทางของตลาดในปี 2550 จะเติบโตหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของรัฐบาลใหม่ แต่คาดว่าตลาดจะไม่แตกต่างจากปีนี้เท่าไหร่ ขณะที่ตลาดรถยก (Forklift) ยังคงมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องทุกปี เพราะในโรงงานยังมีความต้องการสูงอยู่ ประกอบกับนโยบายสิ่งแวดล้อมของโรงงาน ทำให้มีความต้องการรถยกที่ใช้แบตเตอรี่มากขึ้น โดยปีนี้รถยกโคมัตสุน่าจะทำได้ 650 คัน มีส่วนแบ่งทางการตลาด 21% เป็นอันดับสองของตลาด และปีหน้าตั้งเป้าเติบโต 20%
สำหรับการส่งออกของโคมัตสุ หลังจากได้รับการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกของโคมัตสุ เชื่อมั่นจะเติบโตสูงต่อเนื่องทุกปี เพราะตลาดต่างประเทศหลายแห่ง ยังมีศักยภาพในการส่งออกสูง ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกกลาง หรือแม้แต่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน อย่างประเทศเวียดนาม พม่า และลาว รวมถึงประเทศใหม่ๆ ที่จะขยายการส่งออกเพิ่ม นอกจากจะมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นจึงจะทำให้สะดุดได้
ดังนั้นเพื่อรองรับตลาดภายในประเทศและส่งออก บริษัทฯ เตรียมจะแนะนำสินค้าใหม่สู่ตลาด เป็นรถขุดโคมัตสุ รุ่น PC200-8 เครื่องยนต์ 6 สูบ ซึ่งเป็นรถขุดคอมมอนเรลรายแรกในประเทศไทย มีราคาจำหน่าย 3.65 ล้านบาท เพื่อทำตลาดคู่กับ PC200-7 รุ่นเครื่องยนต์ธรรมดาในปัจจุบัน
อนึ่งกลุ่มโคมัตสุในประเทศไทย มีทั้งหมด 5 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทในกลุ่มสยามกลการ 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท บางกอกมอเตอร์เวอคส์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถขุดและรถยกโคมัตสุในไทย บริษัท บางกอกโคมัตสุ อินดัสตรีส์ จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเหล็กหล่อชิ้นส่วนรถยกโคมัตสุ บริษัท บางกอกโคมัตสุ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกรถขุดโคมัตสุ และบริษัท โคมัตสุ บางกอกลิสซิ่ง จำกัด ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อ และจัดทำลิสซิ่ง ส่วนบริษัทที่เหลือ โคมัตสุ อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้แทนจำหน่ายเครื่องปั๊มโลหะชิ้นส่วนโคมัตสุ ถือหุ้นเต็มโดย โคมัตสุ ประเทศญี่ปุ่น
|
|
 |
|
|