Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
จรรย์จารี ธรรมา ขายขนมสนุกกว่าขายผ้าอ้อม             
 


   
search resources

เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย, บจก.
จรรย์จารี ธรรมา
Snack and Bakery




ในที่สุดอภิรักษ์ โกษะโยธิน กรรมการผู้จัดการบริษัท เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทยก็ประกาศความพร้อมที่จะชิงความเป็น 1 ในตลาดสเน็กประเภทมันฝรั่งทอดกรอบในปี 2539 อย่างแน่นอน

หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของบริษัท เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ ประเทศไทย จำกัด เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา

ด้วยเป้าหมายตัวเลขมาร์เกตแชร์ถึงประมาณ 40% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับผู้นำตลาดอย่างมันมัน ของ บริษัท ฟู้ดโพรเซสซิ่ง จำกัด

พร้อม ๆ กับการเปิดตัวสินค้ามันฝรั่งทอดกรอบเลย์รสชาติใหม่คือรสซาวครีมและหัวหอม ซึ่งเป็นผลผลิตจากโรงงานแห่งแรกที่จังหวัดลำพูนซึ่งอภิรักษ์กล่าวว่าได้ทุ่มเงินไปถึง 200 ล้านบาทในการปรับปรุงระบบผลิตภายในโรงงานแห่งนี้

ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ได้เริ่มดำเนินการผลิตเลย์ทั้ง 3 รส คือรสมันฝรั่งแท้ รสเท็กซัสบาร์บีคิว และล่าสุดคือซาวครีมและหัวหอม

การประกาศชิงความเป็นหนึ่งในตลาดมันฝรั่งทอดกรอบนับเป็นการรุกก้าวที่ 3 ของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนลและนับเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดในการพิสูจน์ฝีมือของผู้บริหารเป๊ปซี่โค ฟูดส์ประเทศไทยในการชิงชัยกับคู่แข่ง

หลังจากก้าวแรกเปิดเกมด้วยการตั้งสำนักงานสาขาเป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย ขึ้นอย่างเป็นทางการ และก้าวที่ 2 คือการทุ่มเงิน 100 ล้านบาท ซื้อผลิตภัณฑ์และชื่อสินค้า รวมถึงกรรมวิธีและเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบตราชิพปี้ชิพและไมค์ พร้อมโรงงานที่จังหวัดลำพูน จากบริษัท ยูไนเต็ด ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เพื่ออาศัยเป็นฐานการผลิตหลังขายหุ้นในบริษัท สยามสแน็กจำนวน 49% คืนให้กับเบอร์ลี่ฯ

"จากความพร้อมและข้อได้เปรียบตรงที่เราเป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งมีฐานด้านสินค้าจำนวนมาก ทำให้เชื่อมั่นว่ามาร์เกตแชร์ในส่วนมันฝรั่งอดกรอบเลย์จะก้าวขึ้นมาใกล้เคียงกับผู้นำในตลาด" จรรย์จารี ธรรมา ผู้อวยการฝ่ายการตลาดเป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

จรรย์จารี นับเป็นน้องใหม่ในระดับบริหารที่เพิ่มเข้ามาร่วมงานกับเป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา โดยเธอได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านตลาดทั้งหมด ซึ่งในปีนี้เธอจะต้องรับบทหนักเพื่อนำเลย์ก้าวขึ้นสู่อันดับ 1

เบื้องหลังของการทาบทามจรรย์จารีเข้ามาร่วมงาน เนื่องจากเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา รัชฎา ศิระอาภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดลาออกโดยย้ายไปทำงานที่บริษัทลีเวอร์ บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดว่างลงเกือบ 4 เดือน ซึ่งในช่วงนั้นเป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทยได้มีการปรับโครงสร้างบริหารภายใน ท้ายสุดจึงมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

ก่อนหน้าที่จะตัดสินใจมาร่วมงานกับเป๊ปซี่โค ฟูดส์ประเทศไทย จรรย์จารี เคยร่วมงานกับบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลหรือพีแอนด์จีเป็นระยะเวลาถึง 5 ปีโดยมีตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกคือ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ดูแลสินค้าอาทิ ออยล์ ออฟ อูลาน สบู่เซฟการ์ด และผ้าอ้อมแพมเพอร์ส

หลังจากนั้นจึงย้ายไปทำงานที่บริษัท แสนศิริ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ได้เกือบ 2 ปี จึงตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดที่เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทยหลังจากได้รับการทาบทามจากอภิรักษ์ซึ่งรู้จักกันมาก่อนหน้านี้ให้เข้ามาร่วมทีม โดยให้เหตุผลว่าสแน็กเป็นตลาดที่แอคทีฟ ท้าทาย และยืดหยุ่นกว่าสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัวมาก

"การชิงความเป็น 1 ของเราในปีนี้ เราจะไม่ไปแย่งแชร์จากคู่แข่งแต่จะเป็นการขยายตลาด ดังนั้นนโยบายที่กำหนดให้เราเดินคือ "ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภค" เป็นหลัก" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดเผยถึงกลยุทธ์การชิงความเป็น 1

โดยมีความเชื่อว่าตลาดสแน็กยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะมันฝรั่งทอดกรอบซึ่งที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตถึงปีละเกือบ 80% และจากการสำรวจพบว่าอัตราการบริโภคมันฝรั่งทอดกรอบของคนไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือ 0.5 กิโลกรัม/คน/ปีเท่านั้น ในขณะที่อเมริกามีอัตราการบริโภคถึง 9 กิโลกรัม/คน/ปี

สำหรับกลยุทธ์ที่นำมาใช้นอกเหนือจากการนำเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มาร์เตติ้งเข้ามาใช้แล้ว จะเห็นได้ว่าในส่วนของแพกเกจจิ้งก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนโดยเน้นบอกถึงคุณค่าด้านโภชนาการที่จะได้รับจากการบริโภค

การพยายามเปิดสินค้ารสชาติใหม่ๆ ภายใต้ชื่อเลย์และชีโตส ก็จะเป็นกลยุทธ์สำคัญในปีนี้ โดยเชื่อว่าเลย์รสซาวครีมและหัวหอมจะมีมาร์เกตแชร์ในตลาดถึง 10% ขณะที่จากเดิมเลย์มีส่วนแบ่งตลาดอยู่แล้ว ประมาณ 16% ชิพปี้ชิพอีก 10% ส่วนตลาดข้าวโพดทอดกรอบซึ่งชีโตสมีส่วนแบ่งประมาณ 4% ปีนี้คาดว่าจะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 8% ด้วยเป้าหมายยอดขายประมาณ 700-800 ล้านบาทซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงเท่าตัว

"การที่เราจะก้าวขึ้นมาเป็นที่ 1 ในจำนวนคู่แข่งในตลาดที่มีอยู่ถึงกว่า 100 แบรนด์นั้น สิ่งที่ดีที่สุดเราคงจะต้องผลักดันตัวเอง แข่งกับตัวเองเสียก่อนจึงจะไปแข่งกับคู่แข่งในตลาด" สมศักดิ์ ชลธิชานันท์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบเลย์กล่าว

ปัจจุบันหากจะเปรียบแล้ว จรรย์จารีก็คือมือขวาที่เข้ามาสานนโยบายของอภิรักษ์ให้บรรลุสู่เป้าหมาย เธอกล่าวว่าเป็นงานที่ท้าทายแต่มั่นใจ เพราะเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของบริษัทที่มีการเตรียมพร้อมทั้งด้านการผลิต ระบบการกระจายสินค้า หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์ตลอดจนตัวสินค้าที่จะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องในปีนี้

การรุกอย่างจริงจังของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทยนับเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวหรือสแน็กเมืองไทย ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าตลาดโดยรวมถึง 5,500 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 25-30% ได้เป็นอย่างดี

และที่สำคัญที่สุด การตัดสินใจเข้ามาของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนลสู่ตลาดสแน็กเมืองไทย ในฐานะยักษ์ใหญ่ในธุรกิจสแน็ก น่าจะสร้างความสั่นคลอนให้กับคู่แข่งในตลาดได้เช่นกัน โดยเฉพาะตลาดแสน็กประเภทมันฝรั่งทอดกรอบและประเภทข้าวโพดทอดกรอบ มีมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ และขนมข้าวโพดทอดกรอบปรุงรสชีโตสเป็นหัวหอก

หลังจากเป๊ปซี่โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เข้ามาชิมลางด้วยการร่วมทุนกับบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ตั้งบริษัท สยามสแน็ก จำกัด เพื่อผลิตข้าวโพดทอดกรอบชีโตสและมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ ออกจำหน่ายมาร่วม 10 ปี แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดนัก

การชิงความเป็น 1 ในตลาดมันฝรั่งทอดกรอบ จึงกลายเป็นตัววัดความสำเร็จของการเข้ามาของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย ขณะเดียวกันยังเป็นการพิสูจน์ฝีมือของนักบริหารสาวผู้นี้ว่าจะผ่านการทดสอบฝีมือในธุรกิจสินค้าบริโภคหรือไม่ หลังจากผ่านพ้นสนามสินค้าอุปโภคมาแล้วจากค่ายข้ามชาติอย่างพีแอนด์จี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us