Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
สุชาดา ยุวบูรณ์ ภารกิจในโรงแรมเล็กท่ามกลางทุ่งกว้าง             
 


   
search resources

โรงแรมโรสการ์เด้นท์ (2511), บจก.
สุชาดา ยุวบูรณ์
Real Estate




ท่ามกลางธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยังซบเซา อนาคตของสวนสามพรานหรือโรงแรมโรสการ์เด้นท์ทุกวันนี้ ขึ้นอยู่กับฝีมือการบริหารของสุชาดา ยุวบูรณ์ ธิดาคนโตของชำนาญและคุณหญิงวลี

ในช่วงปี 2532 ธุรกิจที่ดินในเมืองไทยบูมสุดขีด นายทุนต่างชาติจ้องจะซื้อโครงการนี้ตาเป็นมัน เพราะเป็นโรงแรมเล็กในสวนกว้างริมแม่น้ำนครชัยศรีที่สวยงามเงียบสงบ และเป็นที่ดินแปลงใหญ่ที่สามารถเอามารังสรรค์เป็นโครงการต่างๆ ได้มากมาย

โชคดีที่ครอบครัวยุวบูรณ์ ไม่เห็นแก่เงินก้อนโตในช่วงนั้น แต่ยืนยันที่จะพัฒนากันเองโดยรักษารูปแบบโรงแรมของครอบครัวในพื้นที่สวนที่ปราศจากมลพิษ

แต่กว่าจะถึงวันนี้ โครงการสวนสามพรานผ่านอุปสรรคต่างๆ มานานัปการ จุดเริ่มต้นของ "โรสการ์เด้นท์" เกิดขึ้นเมื่อคุณหญิงวลี ได้มีความคิดที่จะปลูกดอกกุหลาบขายในพื้นที่ดินแปลงนี้ ซึ่งชำนาญได้ไปซื้อไว้ประมาณ 60 ไร่ริมแม่น้ำนครชัยศรีด้วยความตั้งใจว่าเอาไว้สร้างบ้านพักผ่อนหลังเกษียณราชการ ในตอนแรกไร่กุหลาบใช้ที่ดินประมาณ 10 ไร่ เนื่องจากเป็นที่ดินสวนเก่าประกอบกับการดูแลอย่างใกล้ชิด กุหลาบในสวนนี้จึงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในแง่ของความสวยงาม เมื่อปี 2508 สวนสามพรานจึงได้เปิดให้แขกภายนอกเข้าชมบริเวณสวน รวมทั้งมีบริการห้องพักและร้านอาหาร

ต่อจากนั้นก็เลยทยอยซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเกือบ 170 ไร่ คุณสุชาดาเล่าว่าแปลงสุดท้ายเพิ่งซื้อมาเมื่อ 4 ปีนี้เอง ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นจากไร่ละไม่ถึงหมื่นบาทเป็นไร่ละล้าน

จากการทำไร่กุหลาบ มีร้านอาหารเพียง 1 ร้าน ที่พักเพียงไม่กี่ห้อง คุณหญิงวลีได้ซื้อบ้านไม้สักทรงไทยประมาณ 8 หลังมาประกอบและตกแต่งภายในให้มีความสะดวกสบายแบบโรงแรม เมื่อเรื่องของธุรกิจเข้ามา ความจำเป็นที่ต้องมีรายได้ประจำเข้ามาจุนเจือก็เกิดขึ้น

สุชาดา ต้องลาออกจากการเป็นพนักงานสำรองที่นั่งและขายบัตรโดยสารบริษัทสายการบิน KLM เข้ามาช่วยงานของครอบครัวในช่วงนี้

โครงการหมู่บ้านไทยเรียนแบบศูนย์วัฒนธรรมจากฮาวายเลยเกิดขึ้นเมื่อปี 2513 โดยได้มีการนำชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงมาฝึกสอนศิลปวัฒนธรรมและนาฏศิลป์ไทย โดยจ้างครูจากกรมศิลป์มาทำการฝึกสอน โดยมีที่นั่งชมการแสดง 250 ที่นั่ง สุชาดาหวังไว้เป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะดึงลูกค้ากรุ๊ปทัวร์จากต่างชาติเข้ามามากขึ้น

แต่ผลปรากฏว่าในช่วงแรกของการเปิดการแสดงในหมู่บ้านไทยนั้นไม่มีกรุ๊ปทัวร์กลุ่มไหนให้ความสนใจเลย

"กลัวคนมีสตางค์ เขาทำเล่นๆ" นั่นคือความคิดจากบรรดาเจ้าของบริษัททัวร์ต่างๆ และไม่มีใครกล้าพาแขกฝรั่งเข้ามาชม เพราะกลัวจะเป็นที่ไม่พอใจ

"ในช่วง 6 เดือนแรก เรามีแขกแค่ 20-30 คนต่อวันที่เข้ามาชมการแสดง วันไหนมีถึง 70 คนนี่จะดีใจมาก" สุชาดาเล่าย้อนหลังให้ฟัง เธอเริ่มลุยหาตลาดเองในช่วงแรก โดยอาศัยพวกแท็กซี่ป้ายดำและพวกไกด์ให้ช่วยแนะนำแขกฝรั่ง รวมทั้งบรรดาพวกเมียเช่าของทหารอเมริกัน เรียกว่าพยายามทุกวิถีทาง

มาในวันนี้มีที่นั่งเพื่อให้ชมการแสดงเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ที่นั่งมีแขกฝรั่งที่เข้าไปชมการแสดงในหมู่บ้านไทยโดยเฉลี่ยต่อวันประมาณ 1,500 คน

"ตอนนั้นเราทำงานแบบคนบ้านเดียวกัน เมื่อรายได้มีน้อยก็ต้องช่วยเหลือกัน แม่บ้านอาจจะต้องออกมาช่วยแจกผ้าเย็นเมื่อมีแขก บ๋อยก็อาจจะต้องไปช่วยเล่นอังกะลุงในหมู่บ้านไทย"

เมื่อกิจการเริ่มดีขึ้นก็ได้มีการสร้างโรงแรมและบังกะโลอีกประมาณ 100 ห้องเมื่อปี 2515

ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่หวังว่าได้เข้ามาช่วยเสริมกิจการโรงแรมก็คือสนามกอล์ฟสามพรานในที่ดิน 470 ไร่ ซึ่งสมัยนั้นมีเพียงสนามกอล์ฟนวธานีที่เปิดตัวพร้อมๆ กัน

สุชาดาคาดการณ์ผิด สนามกอล์ฟสามพรานต้องบอกขายด้วยราคา 110 ล้านบาท แต่ก็ไม่มีใครซื้อ

สาเหตุเป็นเพราะการเล่นกอล์ฟยังไม่เป็นที่นิยม ฉุดรายได้ที่มีไม่มากอยู่แล้วของบริษัทให้ขาดทุนจมลึกลงไปอีก เมื่อยังขายไม่ได้ก็จำเป็นต้องขายที่ดินแปลงอื่นๆ มาค้ำจุนกิจการไว้ แต่โชคดีประมาณ ปี 2530 กิจการสนามกอล์ฟก็เริ่มบูมขึ้นจนปัจจุบันก็เป็นรายได้หลักที่สำคัญตัวหนึ่ง

อุปสรรค์ต่างๆ ในสวนสามพรานยังไม่หมดไป มรสุมลูกแรกเกิดขึ้นในช่วงปี 2533 ซึ่งเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียซึ่งส่งผลให้แขกต่างประเทศที่เข้ามาใช้บริการลดลงกว่าครึ่งจากที่เคยมีวันละประมาณ 1,000 คนเหลือเพียงแค่ 300 คนเท่านั้น จนเวลาผ่านไปกว่าครึ่งปีแขกก็ไม่เคยเกิน 500 คน

มรสุมลูกที่ 2 ก็คือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี 2535 ซึ่งทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโรงแรมที่สร้างเสร็จแล้วพร้อมกันเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ปัญหารถติดก็เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้บรรดาแขกทัวร์ที่มีคุณภาพและมีกำลังซื้อลดลง การออกมาเที่ยวสวนสามพรานเพื่อกินข้าวและดูการแสดงมันยากขึ้น

สุชาดากลับตัดสินใจสร้างโรงแรม โครงการใหม่ในปีนี้ด้วยความมั่นใจว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวต้องกลับมาบูมใหม่แน่นอน และที่สำคัญเวลานี้คนไทยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะของครอบครัวมากขึ้น ตลาดครอบครัวคนไทยคือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของโครงการ

เมื่อเดือนมีนาคม 2538 อาคารโรงแรมริมแม่น้ำนครชัยศรีแห่งใหม่ได้เปิดบริการแขกเป็นครั้งแรก มีห้องพักระดับ DELUXE เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 83 ห้อง ห้องอาหารทั้งหมด 9 แห่ง ห้องประชุมสัมมนาพร้อมอุปกรณ์การประชุมอันทันสมัยจำนวน 8 ห้องและสนามจัดเลี้ยงสำหรับคณะตั้งแต่ 50-1,300 คน

นับเป็นเวลาเกือบ 35 ปีที่สวนสามพรานยังอยู่คู่เมืองไทย การบริหารโครงการแบบครอบครัวเล็กๆ กลับเป็นผลดีในการดำเนินธุรกิจ สุชาดายืนยันว่า ไม่มีการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯแน่นอน

"ถ้าเราจะเข้าสู่ระบบสากล เราต้องเข้าเชน ต้องขยายงานครั้งใหญ่ แต่เราไม่เลือกวิธีนี้ เราตั้งใจจะไม่ขยายงานอีก 10 ปี นอกจากกิจกรรมเสริมต่างๆ จนกว่าคนที่จะมาดูแลรุ่นต่อๆ ไปจะมีความคิดเป็นของตัวของเขาที่จะรับผิดชอบกันไป"

ความคิดของคนรุ่นลูกรุ่นหลานนั้น สุชาดากล่าวว่าห้ามไม่ได้ถ้าเขาจะรักษาสมบัติชิ้นนี้ของบรรพบุรุษไว้ไม่ได้ แต่อย่างน้อยตนก็สบายใจว่าได้รักษาสมบัติของครอบครัวไว้ได้ในรุ่นนี้แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us