Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤศจิกายน 2549
ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยไตรมาส3ลดผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์ขายถูก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Loan




แบงก์ชาติเผยช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยทุกประเภทลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะราคาบ้านเดี่ยวราคาต่ำสุดในรอบ 4 ปี สอดคล้องกับตัวเลขยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินในระบบเพิ่มขึ้นเกือบ 4 หมื่นล้าน เหตุผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับกลยุทธ์ขายราคาถูกลง จูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเร็วขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอและการแข่งขันที่รุนแรง

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ฝ่ายวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธปท.ได้รายงานดัชนีราคาที่อยู่อาศัยล่าสุดในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยทุกประเภทลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยเฉพาะดัชนีราคาบ้านเดี่ยวขยายตัวลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 0.9% และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่เป็นขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3.9% ถือว่าราคาบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุดครั้งแรกในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ปลายปี 2545 เป็นต้นมา

ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์ขยายตัวอยู่ที่ 2.5% ซึ่งก็ยังชะลอลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่เป็นขยายตัวเป็นถึง 6.6% ขณะที่ดัชนีราคาที่ดินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ 4.7% จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 5.6% ทำให้ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินอยู่ที่ 2.5% จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 4.9% นอกจากนี้ในส่วนของดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินชะลอตัวอยู่ที่ 3.8% เทียบกับไตรมาสก่อนอยู่ที่ 6%

ทั้งนี้สาเหตุหลักๆ ที่ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยทุกประเภทปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเกิดจากการปรับตัวของผู้ประกอบการในช่วงที่ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคลดลง ขณะที่สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจนี้รุนแรงขึ้น จึงจำเป็นให้ผู้ประกอบการต้องมีการควบคุมต้นทุนการประกอบธุรกิจมากขึ้น เพื่อให้ราคาที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับที่ถูกลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น

ขณะที่เมื่อพิจารณายอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้อยู่ที่ 1.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.7 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.90% โดยแบ่งยอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 6.76 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.21 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.39% จากไตรมาสก่อน

นอกจากนี้ยังเป็นยอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อีก 965 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 245 ล้านบาท หรือลดลงถึง 20.25% ถือเป็นสถาบันการเงินประเภทเดียวในระบบเศรษฐกิจที่มียอดคงค้างลดลงอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาสนี้ ขณะเดียวกันบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ก็มียอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 51 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 60.71% จากยอดคงค้างที่มีอยู่ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 135 ล้านบาท

ขณะเดียวกันในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมียอดคงค้างการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยธนาคารออมสินมียอดคงค้างอยู่ที่ 1.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.50 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.27% และธนาคารอาคารสงเคราะห์มียอดคงค้างอยู่ที่ 5.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.35 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 2.68%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี(เอ็มแอลอาร์) ยังคงอยู่ในระดับ 7.50-8.00% ถือว่ายังคงสูงอยู่ แต่ด้วยกลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์แต่ละค่ายต่างลดต้นทุนในการดำเนินงานและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถกำหนดราคาที่อยู่อาศัยลดลงกว่าคู่แข่ง ขณะเดียวกันเป็นการกระตุ้นยอดขายที่อยู่อาศัยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเร็วขึ้นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินยังขยายตัวได้ดีอยู่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us