Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤศจิกายน 2549
AIS พลิ้วรุก ดีแทค-ทรูฯ ชูแปรสัญญาสัมปทาน             
 


   
www resources

AIS Homepage

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
สมประสงค์ บุญยะชัย
Mobile Phone




เอไอเอสเสนอ 3 แนวทางแก้ความเหลื่อมล้ำสัญญาสัมปทาน อัดกลับดีแทค ทรูมูฟ พูดความจริงครึ่งเดียว เปิดแผลดีแทคร้อง กทช.จัดการเรื่องความถี่ที่มีถึง 50 เมกะเฮิรตซ์ พร้อมเรียกร้องไต่สวนสาธารณะผลประโยชน์ตกหล่นในช่วงเซ็งลี้ความถี่ “สมประสงค์” เตรียมดำเนินการด้าน กม. ฐานทำให้เอไอเอสเสียหาย ด้านไอซีทีจะทำให้ปัญหาจบภายใน 1 ปี

นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำของสัญญาสัมปทานจนนำมาสู่ข้อพิพาทและการกล่าวหาจากทรูมูฟและดีแทคว่า แนวทางแก้ปัญหาสามารถทำได้ 3

แนวทางคือ 1.การให้ทุกโอเปอเรเตอร์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเรกกูเรเตอร์เดียวคือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หมายถึงต้องมีการแปรสัญญาสัมปทานเปลี่ยนเป็นใบอนุญาต แต่ต้องพิจารณาในทุกองค์ประกอบหากจะเกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนแบ่งรายได้ การจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นธรรม

ต้องมองภาพใหญ่ทั้งหมดไม่ใช่มองเฉพาะส่วน 2.ยุบรวมบริษัท ทีโอที และ กสท โทรคมนาคมเข้ากัน เท่ากับทำให้คู่สัญญาของเอกชนเป็นนิติบุคคลเดียว ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น 3.โอนสัญญาสัมปทานของดีแทคและทรูมูฟที่อยู่ภายใต้กสท เข้ามาอยู่ภายใต้ทีโอที และทำสัญญาในลักษณะเดียวกับที่เอไอเอสทำกับทีโอทีก็จะทำให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียมกัน

ขณะเดียวกันเอไอเอสจะทำเรื่องขอความเป็นธรรมไปยังกทช.กรณีที่ดีแทคได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ครั้งแรกมากถึง 75 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมากจนทำให้สามารถแบ่งให้บริษัท WCS และบริษัท สามารถ รายละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งภายหลังคือทรูมูฟ และดีพีซี (ปัจจุบันเป็นของเอไอเอส) เนื่องจากดีแทคถือเป็นโอเปอเรเตอร์รายเดียวที่ได้ความถี่มากขนาดนี้

เนื่องจากความถี่เป็นทรัพยากรของชาติควรได้รับการบริหารและจัดการที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวมเนื่องจากทรูมูฟที่ได้รับความถี่เพียง 12.5 เมกะเฮิรตซ์ยังสามารถให้บริการได้ หากมีการนำความถี่ดีแทค 50 เมกะเฮิรตซ์มาจัดสรรใหม่จะทำให้มีโอเปอเรเตอร์ใหม่เพิ่มอีก 3 ราย

“ความถี่ดีแทค 50 เมกะเฮิรตซ์ ควรเรียกกลับคืนมาหรือไม่ เพื่อจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาจใช้วิธีเฉลี่ยตามฐานลูกค้า ซึ่งเอไอเอสจะขอความเป็นธรรมกทช.ในเรื่องนี้”

นอกจากนี้ เอไอเอสยังเรียกร้องให้เกิดการไต่สวนสาธารณะ กรณีการโอนสิทธิและความถี่จากดีแทคไปให้เอกชนอีก 2 รายดังกล่าว ว่ามีการเรียกร้องค่าโอนสิทธิเพิ่มเติมจากผู้รับสิทธิหรือไม่ และถ้าหากมีการเรียกร้องรายได้จากค่าโอนสิทธิดังกล่าวมีการแบ่งให้กสทหรือไม่ ซึ่งในส่วนของดีพีซีนั้น อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการถึงประเด็นดังกล่าวทำให้เอไอเอสไม่สามารถให้รายละเอียดได้ เพราะเกรงกระทบกับกระบวนการอนุญาโตฯ

“แต่ละสัญญาเกิดต่างกรรมต่างวาระ ต่างคู่สัญญา ต่างเวลาและต่างเงื่อนไข ซึ่งข้อมูลจากดีแทคและทรูมูฟ ถือว่าเป็นการกล่าวหาเอไอเอสทำให้เกิดความเสื่อมเสียและเป็นการวาดภาพทำให้ดูเหมือนองค์กรที่มีอำนาจมาเอื้อประโยชน์เอไอเอสและไม่เอื้อประโยชน์ให้ดีแทค ผมขอยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลไม่ครบถ้วน อะไรที่เป็นประโยชน์ของตนก็เก็บไว้ อะไรที่ต้องการประโยชน์ก็เรียกร้องออกมา”

เอไอเอสได้โต้แย้งข้อกล่าวหาทั้ง 4 ประเด็นเริ่มจาก1.สัญญาสัมปทานที่แตกต่างกันเนื่องจากสัญญาของเอไอเอสกับทีโอทีนั้น (27 มี.ค.33) ทีโอทีต้องรับผิดชอบในเรื่องโครงข่าย เลขหมายและความถี่ในขณะที่เอไอเอสรับภาระเรื่องส่วนแบ่งรายได้ ในขณะที่สัญญาสัมปทานดีแทคกับกสทนั้น ตั้งแต่เซ็นสัญญา (14 พ.ย.33) ดีแทคก็รู้ว่ากสทไม่มีโครงข่ายในประเทศ ทำให้เมื่อให้บริการมาระยะหนึ่ง ดีแทคจึงเสนอไปยังทีโอทีว่าต้องการเชื่อมโยงใช้โครงข่ายทีโอที จึงทำให้เกิดข้อตกลงเรื่องการเชื่อมโครงข่ายหรือแอ็คเซ็สชาร์จเมื่อวันที่ 22 ก.พ.37

“ตอนไปเซ็นสัญญา ใครบังคับหรือไม่ และมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนหรือไม่ เชื่อว่าสัญญาทั้งหมดเป็นไปด้วยความเต็มใจของดีแทค เชื่อว่าไม่มีใครบังคับขู่เข็ญให้ทำสัญญา ส่วนเรื่องการใช้โครงข่ายก็เป็นเรื่องของดีแทค ทีโอทีและกสท เอไอเอสไม่ได้รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องแต่อย่างใดเหมือนไปเช่าบ้าน ก็ต้องจ่ายค่าเช่า”

2.เรื่องส่วนแบ่งรายได้พรีเพดก็เป็นดีแทคเองที่เริ่มเป็นคนแรกที่ยื่นเรื่องไปทีโอที เพื่อขอปรับจากแอ็คเซ็สชาร์จเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนเป็น 18% โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นสินค้าใหม่หากคิดค่าใช้จ่ายเหมือนกับโพสต์เพดจะเป็นการขัดกับการดำเนินธุรกิจซึ่งทีโอทีก็เห็นกับประโยชน์ผู้ใช้บริการในอนาคตก็เห็นชอบ กับดีแทคและมีการทำข้อตกลงเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 44 ในขณะที่เอไอเอสจึงได้ยื่นเรื่องไปบ้าง ซึ่งทีโอทีก็อนุมัติบนหลักการเดียวกับที่อนุมัติดีแทค โดยเอไอเอสต้องเสียส่วนแบ่งรายได้ 20% และมีการแก้ไขสัญญาเมื่อ 15 พ.ค. 44

การแก้ข้อตกลงกับทีโอที ทำให้ดีแทคได้รับประโยชน์จากสิทธิดังกล่าวเป็นเงินถึง 7,762 ล้านบาทจนถึงขณะนี้ และถ้าคำนวณตามฐานลูกค้าปัจจุบันที่มีอยู่ ดีแทคจะได้รับสิทธิประโยชน์จนสิ้นสุดอายุสัมปทานถึง 2 แสนล้านบาท ส่วนทรูมูฟได้สิทธิประโยชน์แล้ว 21,311 ล้านบาทและมากถึง 1 แสนล้านบาทจนสิ้นสุดอายุสัมปทาน

3.เรื่องอำนาจกดดันคู่แข่ง เอไอเอสขอปฏิเสธเนื่องจากนโยบายและแนวคิดเอไอเอสมุ่งจะแข่งขันด้านคุณภาพการให้บริการ คุณภาพเครือข่าย ไม่ได้มุ่งเน้นการตัดราคาคู่แข่ง ทั้งๆ ที่คู่แข่งเป็นคนเริ่มการตัดราคาก่อน แต่เอไอเอสเพียงแต่คิดราคาเท่าคู่แข่งเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด และ4.เรื่องการคงเลขหมายโทรศัพท์ เอไอเอสสนับสนุนเรื่องนี้มาตลอด เนื่องจากเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค และเอไอเอสเตรียมความพร้อมมาตลอด

ถ้ากทช.ออกกฎเกณฑ์บังคับใช้เมื่อไหร่ เอไอเอสก็พร้อมปฏิบัติตาม การที่คู่แข่งออกมาพูดให้ประชาชนเข้าใจผิดพลาดถือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างร้ายกาจที่สุด

“เอไอเอสกำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการด้านกฎหมายอย่างไรกับการแถลงข่าวของดีแทคและทรูมูฟ”

**ดีแทคไม่เคยขายคลื่นความถี่ให้ใคร

นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทคกล่าวว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539 ไทยต้องการให้มีการแข่งขันการให้บริการโทรคมนาคม ดีแทคจึงคืนคลื่นความถี่ 1800 จำนวน 25 เมกะเฮิร์ทซ์ให้กับ กสท. ในขณะที่เอไอเอสไม่เคยคืนคลื่นความถี่ในระบบ 900 ให้กับรัฐ หลังจากได้รับคลื่นความถี่คืนจากดีแทค กสท. ได้นำคลื่นนั้นไปให้สัมปทานต่อกับโอเปอเรเตอร์รายใหม่ 2 ราย ได้แก่ ดับบลิวซีเอส และดีพีซี ต่อมาดีพีซี ขอทำสัญญากับดีแทคเพื่อขอใช้เครือข่ายทั่วประเทศในการให้บริการ โดยดีพีซีจะจ่ายค่าใช้เครือข่ายทั้งในรูปแบบอัตราประจำและตามการใช้งานจริงเป็นการตอบแทน

หลังจากเอไอเอสซื้อดีพีซีไป เอไอเอสได้หยุดจ่ายค่าใช้เครือข่ายของดีแทคโดยที่ไม่ได้มีการยกเลิกสัญญา ซึ่งขณะนี้ข้อพิพาทนี้ได้ถูกนำขึ้นสู่การพิจารณาของคณะนุญาโตตุลาการ จากรายงานสถานภาพการเงินของเอไอเอสฉบับล่าสุด เอไอเอสระบุว่ายังคงติดหนี้ดีแทคอยู่ 4,739 ล้านบาท

**ไอซีทีคาดใช้เวลา 1 ปีจบปัญหา

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.เทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารดีแทค และกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นว่า ปัญหาดังกล่าวกระทรวงไอซีที จะหาแนวทางให้เกิดความชัดเจนด้านความเหลื่อมล้ำด้านต้นทุนให้บริการ มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งส่วนของ ทีโอที กสท ประกอบการ รวมถึงประชาชนที่จะได้รับประโยชน์ คาดว่าจะเร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ยังอยู่ในตำแหน่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us