Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
ประภาส อดิสยเทพกุล โอกาสและการรวมพลังของทีไอพี             
 

 
Charts & Figures

โครงสร้างกลุ่มธุรกิจบริษัท อินเตอร์อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด


   
search resources

อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์
ประภาส อดิสยเทพกุล
Investment
ดาราเหนือ, บมจ.




"ที่ผ่านมายอมรับว่าเราลุยไปข้างหน้าอย่างเดียว ยังไม่มีเวลามองย้อนกลับไป แต่ผมมีความเชื่อมั่นว่า ปีนี้จะเป็นปีที่เราเริ่มมีผลผลิตกลับคืนมาจากเงินที่เราลงไป" เป็นประโยคที่ประภาส อดิสยเทพกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัดหรือทีไอพี กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

การที่นักธุรกิจวัย 42 ปีผู้นี้เชื่อมั่นว่าปี 2539 จากสิ่งที่เขาเก็บเกี่ยวเข้ามาไว้ในอุ้งมือจะเริ่มมีผลผลิตกลับสู่กระเป๋า เพราะแนวคิดในเรื่องการแสวงหาโอกาสและนำมาผสมผสาน (SYNERGY) ให้เกิดความแข็งแกร่งขึ้นกับองค์กร เนื่องจากวันนี้เขามีแบ็กอัพที่สมบูรณ์พร้อมทั้งฐานการผลิต การจัดจำหน่าย และการเงิน

เมื่อปลายปีที่ผ่านมาประภาสเริ่มปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่ม ภายใต้โครงสร้างใหม่ซึ่งเริ่มถูกนำมาใช้ในปีนี้ ทีไอพีได้ถูกกำหนดบทบาทใหม่ให้เป็นโฮลดิ้ง คอมปะนี ทำหน้าที่ในฐานะบริษัทด้านการตลาดเพียงอย่างเดียว

และเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา เขาได้จัดตั้งบริษัทใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 แห่งคือบริษัท ดาราเหนือ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เป้าหมายเพื่อดำเนินธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายสินค้าของทุกกลุ่มธุรกิจในเครือโดยมีทีไอพีและดาราเหนือเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการต้นปี 2539

ดาราเหนือ อินเตอร์เนชั่นแนล แม้จะเป็นบริษัทที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทีมงานขายของบริษัทแห่งนี้ก็คือฝ่ายขายของทั้งดาราเหนือและทีไอพีที่แยกออกมาและนำมาซินเนอยี่กันนั่นเอง

"ผมคิดว่าเป็นการซินเนอยี่ที่จะช่วยลดความซับซ้อน ลดต้นทุนแต่เพิ่มประสิทธิภาพ และโดยวิธีนี้จะทำให้ดาราเหนือ อินเตอร์เนชั่นแนลกลายเป็นบริษัทจัดจำหน่ายที่แข็งแรงที่สุดแห่งหนึ่ง" ประภาสกล่าวซึ่งตรงกับเป้าหมายโดยรวมที่เขาต้องการจะเติบโตในธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้เงื่อนไขคือ ดำเนินงานแบบครบวงจร คือ มีฐานด้านการผลิต การตลาด และการกระจายสินค้า

การผนึกฝ่ายขายของดาราเหนือเข้ากับทีไอพีในครั้งนี้ นับเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวคือทำให้จำนวนสาขาในการกระจายสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 30 แห่งจากเดิมทีไอพีมีสาขาทั่วประเทศเพียง 12 แห่ง

อีกทั้งยังเป็นวิธีแก้ปัญหาในส่วนของการรวบเอาฝ่ายขายของดาราเหนือเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด และคงบทบาทดาราเหนือไว้เพียงบริษัทที่ทำหน้าที่ผลิตสินค้าเท่านั้น

หากมองย้อนกลับไปเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาทีไอพีจัดเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทจัดจำหน่ายที่ค่อนข้างโลว์โปรไฟล์ และต้องตกอยู่ในวังวนเดียวกันกับบริษัทจัดจำหน่ายอื่นๆ คือสินค้าหลุดมือบ่อยครั้ง มียอดขายเพียงไม่กี่ร้อยล้านบาท

แต่ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ประภาส อดิสยเทพกุลกลับสร้างความฮือฮาให้กับคนในวงการคอนซูเมอร์ ด้วยการลุกขึ้นสวมบทนักร่วมทุนและนักเทคโอเวอร์ที่ลุยไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่การร่วมทุนกับอ.ส.ค.จัดตั้งบริษัท นมไทย-เดนมาร์ค จำกัด เพื่อจัดจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค (นมตราวัวแดง) การเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายบัดไวเซอร์ เบียร์ชื่อดังจากอเมริกา การเทคโอเวอร์บริษัทดาราเหนือ จำกัด (มหาชน) เจ้าของน้ำดื่มโพลาริส การตั้งบริษัท นมพัฒนา จำกัดเพื่อเป็นฐานการผลิตนมวัวแดง นมโรงเรียนและนมยี่ห้อพอลส์ จากออสเตรเลียซึ่งทีไอพีเพิ่งได้สิทธิ์ในฐานะผู้จัดจำหน่ายในไทย คาดว่าจะวางตลาดได้ในช่วงกลางปีนี้ รวมถึงการเข้าไปมีส่วนในธุรกิจดิวตี้ฟรี ที่มีชื่อประภาสปรากฏอยู่ในรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมเสนอตัว

การเปิดตัวคณะกรรมการบริษัทของบริษัท ดาราเหนือ จำกัด (มหาชน) ชุดใหม่เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ประกอบไปด้วย พล ร.อ.วิเชษฐ การุณยวนิช พล อ.อ.สุเทพ เทพรักษ์ พลเอกยุทธนา คำดี อนันต์ อนันตกูล และประภาส อดิสยเทพกุล

สายสัมพันธ์ที่โยงใยคนจากกองทัพจนถึงขั้นตัดสินใจเข้ามาร่วมงานในฐานะบอร์ดของดาราเหนือ นับเป็นปุจฉาที่หลายคนพยายามค้นหาคำตอบ

"เป็นความนับถือ และประทับใจเป็นส่วนตัวจึงเชิญพวกพี่ๆ มาร่วมงาน ผมทำธุรกิจอย่างจริงจัง ไม่ใช่มีทหารมาแบ็กอัพ ผมยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในทีไอพี 100%

เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ประภาสทุ่มเงินถึง 3,700 ล้านบาท เพื่อรุกสู่ธุรกิจการเงินด้วยการเข้าประมูลเพื่อฟื้นฟูบริษัท เงินทุนเอราวัณ ทรัสต์ จำกัด ในนามบริษัท ดาราเหนือ จำกัด(มหาชน)

เบื้องลึกของการตัดสินใจเข้าประมูลเพื่อฟื้นฟูเอราวัณทรัสต์ ประภาสเชื่อมั่นว่านอกเหนือจากใช้เป็นฐานซัปพอร์ตด้านการเงินแล้ว เขาเชื่อว่าการเงินเป็นหัวใจของธุรกิจทั้งปวง โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐมีนโยบายที่จะเปิดเสรีด้านการเงินด้วยแล้ว ทำไมเขาจะยอมพลาดโอกาสที่จะเก็บหัวใจไว้ก่อนแล้วค่อยๆ เรียนรู้ จากมืออาชีพที่ทาบทามไว้เรียบร้อยแล้ว

ประภาสกล่าวว่า หากจะนับเม็ดเงินที่ใช้ไปในการร่วมทุนซื้อกิจการที่ผ่านมา รวมแล้วเป็นเงินเกือบถึง 8,000 ล้านบาทซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อยสำหรับธุรกิจจัดจำหน่ายของทีไอพี

"ผมไม่ใช่นักเทคโอเวอร์ ผมเป็นนักการตลาดที่มองหาโอกาสทุกสิ่งที่เราลงทุนต้องออกดอกออกผล ถ้ามีบริษัทไหนจะขายและเห็นว่าสามารถซินเนอยี่กับธุรกิจของทีไอพี ผมจะซื้อนโยบายของเราจะไม่เริ่มต้นจากศูนย์อีกต่อไป เพราะทีไอพีเริ่มจากศูนย์มันเหนื่อยมาก เรื่องแหล่งเงินเราก็มีบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงิน หาแหล่งเงินมาให้และทีไอพีเองก็มีเงินไม่น้อย

คำกล่าวข้างต้นดูจะเป็นสัจธรรม เพราะหลังจากเขาได้โพลาริส และนมตราวัวแดงเข้ามาทำให้ยอดขายของทีไอพีเพิ่มขึ้นเกือบ 3,000 ล้านบาทในทันที

อย่างไรก็ตามการเลือกเดินบนเส้นทางลัดของนักธุรกิจผู้นี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เห็นได้จากนมตราวัวแดง โพลาริส และบัดไวเซอร์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสินค้าระดับแนวหน้านั้น

แต่หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้ว กลับเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักการตลาดที่มีประสบการณ์และคร่ำหวอดในวงการธุรกิจจัดจำหน่ายมานานนับ 20 ปีอย่างประภาสซึ่งมีสไตล์การทำงานแบบ "ONE MAN SHOW"

เพราะคู่แข่งในแต่ละสนามต่างมีความแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดนมพร้อมดื่มที่จะต้องปะมือกับโฟรโมสต์ ที่ปัจจุบันคว้าตำแหน่งผู้นำตลาดไปครองหลังจากนมวัวแดงประสบปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ หรือแม้แต่น้ำดื่มและเบียร์ ซึ่งโพลาริสและบัดไวเซอร์จะต้องต่อสู้กับค่ายที่มีความพร้อมอย่างบุญรอดบริวเวอรี่

ปีนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญของประภาส อดิสยเทพกุล และจะเป็นยกแรกของการเริ่มต้นพิสูจน์ฝีมือในเวทีที่มีคู่แข่งรายใหญ่ ว่าเขาจะสามารถนำ "โอกาส" ที่ฉวยไว้มาผลักดันให้ทีไอพีประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มตามเป้าหมายที่หวังได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us