|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลท.ระบุภาวะการซื้อหุ้นที่ซบเซาไม่ได้เกิดจากการเข้าไปตรวจสอบหุ้นเก็งกำไรชี้ที่ผ่านมาดำเนินการอย่างระมัดระวัง พร้อมย้ำการดำเนินการยังเป็นปกติเหมือนเดิม และใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่มีสองมาตรฐาน ด้าน"ธีระชัย" เผยสุ่มเลือกบจ.ตรวจงบการเงินรายไตรมาส หากพบความปกติเรียกชี้แจงทันที ระบุถ้าพบความผิดพร้อมดำเนินการเด็ดขาด
นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่านักลงทุนรายใหญ่ได้ชะลอการซื้อขายหุ้น เพราะไม่พอใจกับการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้เข้าไปตรวจสอบหุ้นเก็งกำไรหลายบริษัทจนทำให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ลดลงนั้นว่าเชื่อว่าการที่การตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขายแต่อย่างใดซึ่งมองว่าการที่มูลค่าการซื้อขายลดลงเพราะนักลงทุนชะลอการซื้อขายมาจากปัจจัยโดยรอบที่ไม่มีความชัดเจนมากกว่า
ทั้งนี้การดำเนินการตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ก็ยังดำเนินการตรวจสอบตามปกติและดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาวะการซื้อขายโดยรวมซึ่งจะเห็นได้ว่าการเข้าไปตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ก็จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลแต่อย่างใด ซึ่งการทำงานของตลาดหลักทรัพย์จะมีมาตรฐานเดียว ไม่มีสองมาตรฐานแต่อย่างใด และไม่ได้มุ่งจับผิดนักลงทุนรายใด รวมถึงมาตรการการสั่งห้ามซื้อขายในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement) และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Trading)ในหุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวผิดปกติ ก็ยังเหมือนเดิม
"การตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์จะดูจากพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนจะไม่ได้ดูว่านักลงทุนนั้นเป็นใครมีอาชีพอะไรเป็นนักการเมืองหรือไม่ ซึ่งมองว่านักการเมืองก็เป็นนักลงทุนทั่วไปโดยการทำงานของตลาดถ้าตรวจพบว่ามีพฤติกรรมการซื้อขายที่ผิดปกติเข้าข่ายที่กำหนดไว้ จึงจะเข้าไปดูว่านักลงทุนรายนั้นเป็นใครซึ่งก็จะมีการขอข้อมูลจากโบรกเกอร์ต่อไปด้วย"นายสุภกิจกล่าว
ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกล่าวต่อว่า เรื่องที่มีการตรวจสอบในปีนี้และได้นำส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) พิจารณาต่อไปนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยโครงสร้างความผิดที่พบส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องเดิม ๆ คือการสร้างราคาหุ้น และการใช้ข้อมูลภายใน(อินไซด์)เพื่อเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า การตรวจสอบงบการเงินของสำนักงานก.ล.ต.จะมีการสุ่มเลือกบริษัทจดทะเบียนในแต่ละไตรมาสซึ่งถ้าตรวจสอบพบว่ามีงบการเงินของบริษัทใดที่มีประเด็นที่น่าสงสัยก็จะให้บริษัทได้ทำการชี้แจงมายังสำนักงานหลังจากนั้นก็จะดูว่าชี้แจงนั้นมีความชัดเจนและมีเหตุผลที่เหมาะสมหรือไม่ซึ่งถ้ามีความชัดเจนก็ไม่มีปัญหาอะไรแต่ถ้าคำชี้แจงไม่ชัดเจนสำนักงานก.ล.ต.ก็จะเข้าไปตรวจสอบในเชิงลึกต่อไปซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีกระทำที่เข้าข่ายผิดกฏหมายก็จะมีการปรึกษาอัยการที่สำนักงานเชิญมาเป็นที่ปรึกษาว่าจะดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายได้หรือไม่ถ้าได้ก็จะกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอต่อไป
ทั้งนี้จากการสุ่มตรวจของสำนักงานก.ล.ต.จะพบว่ามีงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่น่าสงสัยไม่มากนัก คาดว่าคงจะไม่ถึง 10 บริษัท ซึ่งแนวทางป้องกันนั้นสำนักงานก.ล.ต.ได้ร่วมกับสภาวิชาชีพบัญชีเพื่อสนับสนุนมาตรฐานการบัญชีเพื่อให้เป็นสากลรวมถึงการตีความมาตรฐานบัญชีให้มีความชัดเจนรวมถึงการลงโทษผู้สอบบัญชีที่กระทำผิดอย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าผู้สอบบัญชีอาจจะได้รับข้อมูลต่างๆ ที่ไม่ครบถ้วนก็ได้
ส่วนกรณีของบริษัทเพาเวอร์-พี จำกัด(มหาชน)หรือ POWER ที่สำนักงานก.ล.ต.ได้กล่าวโทษ 3 ผู้บริหารและผู้สนับสนุนอีก 1 คนต่อดีเอสไอนั้นเนื่องจากได้ไปตรวจสอบพบว่างบการเงินมีข้อน่าสงสัยจึงได้ให้มีผู้สอบบัญชีพิเศษให้ไปตรวจสอบ ซึ่งก็พบว่าผิดปกติดังกล่าวซึ่งขณะนี้ก็ขึ้นอยู่กับดีเอสไอว่าจะดำเนินการต่อไป
|
|
 |
|
|