Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤศจิกายน 2549
เลห์แมนฯไล่เก็บอสังหาฯไทยทุ่มพันล.ซื้อตึกเมืองไทยภัทร             
 


   
search resources

Real Estate




กลุ่มเลห์แมน บราเดอร์สฯ เดินหน้าช้อนซื้อทรัพย์สินในไทยแบบต่อเนื่อง ดิวใหม่ล่าสุดทุ่มเงิน1,000 ล้านบาทเศษ ซื้อตึกเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ จากพอร์ตธนาคารกสิกรไทย จ้องคุมอำนาจเบ็ดเสร็จในนิติบุคคลอาคารชุด ผ่านการถือหุ้นเสียงข้างมาก ด้านผู้เชี่ยวชาญระบุผู้เช่าอยู่เดิมอาจมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามนโยบายของเจ้าของใหม่

แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน"ว่า ในระยะที่ผ่านมา การเคลื่อนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จากต่างประเทศ ได้เคลื่อนทัพเข้ามาลงทุนและหรือเข้ามาซื้อโครงการที่อยู่อาศัยในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ,จีน ,ฮ่องกง และอังกฤษ เป็นต้น ที่เข้ามาบุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ผ่านรูปแบบการลงทุนโดยตรง และการเข้าร่วมทุนกับบริษัทพัฒนาอสังหาฯขนาดใหญ่ของไทย ในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งมีหลากหลายประเภท เช่น โครงการคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง(ซีบีดี)กทม. โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ และยิ่งเป็นตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อพักผ่อนแล้ว จังหวัดภูเก็ต ,กระบี่ ,พังงาน,พัทยา และหัวหิน มีกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาจัดตั้งบริษัท เพื่อพัฒนาโครงการจัดสรรระดับหรู ราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทไล่ไปถึง 100 กว่าล้านบาทก็มีเห็นอยู่ในท้องตลาด

“ประเทศไทย”จึงเป็นแหล่งลงทุนแห่งใหม่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีศักยภาพทั้งด้านทำเลที่ตั้ง การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการลงทุนในไทยได้ไม่ใช่น้อย" แหล่งข่าวกล่าวและชี้ว่า

การเข้ามากว้านซื้อโครงการจัดสรรของกลุ่ม เลห์แมน บราเดอร์ส ซึ่งเป็นกองทุนยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริการ กำลังรุกคืบและเพิ่มพอร์ตของสินทรัพย์ในไทย ผ่านเครื่องมือทางการเงินของกลุ่มที่มีอยู่ แต่ละบริษัทที่เข้าไปลงทุน ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทอสังหาฯที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลำดับตั้งแต่บริษัท แกรนด์ แอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาช) ของนายพงษ์พันธ์ สัมภาวคุปต์ โดยเป็นขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ Giant Mauritius Holdings บริษัทในเครือของกลุ่มเลห์แมน บราเดอร์สฯ ทำให้บริษัทแกรนด์ฯได้รับเงิน 1,212 ล้านบาท กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วน 49% ขณะที่โครงการของบริษัทจะเป็นโรงแรมและคอนโดมิเนียม ,บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) ทางเลห์แมนฯได้เข้ามาลงทุนในหุ้นของบริษัท , บริษัทแนเชอร์รัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) ทางบริษัทเลห์แมนฯ ได้เข้ามาหุ้นในบริษัทในเครือซึ่งมีโครงการที่อยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น โรงแรมโนเวทเทล บีช รีสอร์ท พันวา ภูเก็ต , การเจรจาซื้อที่ดินและสิทธิการเช่าที่ดินจากบริษัทแนเชอรัลฯบนเกาะสมุย เป็นต้น ก่อนหน้านี้ กลุ่มเลห์แมนฯเป็นหนึ่งในกลุ่มต่างชาติ ที่ได้ประมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากองค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.)มาในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เลยมา

แหล่งข่าวกล่าวว่า ล่าสุดทางกลุ่มเลห์แมนฯ ได้ตัดสินใจซื้อทรัพย์สินรอการขาย(เอ็นพีเอ)จากธนาคารกสิกรไทย โดยเป็นตึกเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ บนถนนรัชดาภิเษกและอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินห้วยขวาง มี 2 ตึกคู่กัน ในราคาที่คาดว่าจะซื้อประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ เนื่องจากตามนโยบายของธนาคารแล้ว ไม่ต้องการที่จะถือทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อปฏิบัติตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และลดความเสี่ยงในอนาคตในการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอีก โดยทั้งสองตึกเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ เป็นอาคารสูง และมีพื้นที่ให้ขายเกือบแสนตารางเมตร เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่อยู่ในทำเลที่ดี การคมนาคมสะดวก ประกอบกับเป็นที่ตั้งของบริษัทเอกชนจำนวนมาก และมีตึกคอนโดมิเนียมอยู่ข้างเคียง รวมแล้วทั้งหมดอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่

"ราคาที่เลห์แมนฯซื้อจากธนาคารถือว่าคุ้มครองกับมูลค่าของตลาดในปัจจุบัน ที่โอกาสจะสร้างตึกขนาดใหญ่และมีพื้นที่ขายจำนวนมาก ซึ่งในสภาพปัจจุบันหากจะก่อสร้างตึกลักษณ์ดังกล่าว มีพื้นที่ให้เช่าแสนตารางเมตร คาดว่าต้องใช้เงินลงทุนทั้งเรื่องของที่ดิน ค่าก่อสร้างอาจไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี สไตล์การลงทุนของบริษัทต่างชาติแล้ว ต้องการมีสิทธิ์ในการบริหารเต็มที่ เพื่อควบคุมการบริหาร นั้นหมายความว่า การถือหุ้นอาจจะต้องเกินกว่า 49% "แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ประเด็นที่ต้องการติดตามกันต่อไปคือ การเปลี่ยนแปลงการบริหารภายในอาคารจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยนิติบุคคลอาคารชุดต้องปรับให้เหมาะสมกับความเป็นเจ้าของใหม่ จากขณะนี้เป็นอำนาจของธนาคารในฐานะเจ้าของทรัพย์ฯ ซึ่งมีกระแสข่าวมาว่า ทางเจ้าของใหม่เตรียมที่จะปรับทีมงานในนิติบุคคลใหม่ เพื่อให้ง่ายและคล่องตัวในการดูแลตึก อีกทั้ง ในหลักของการบริหารอาคาร จะต้องมีการจัดเก็บเงินจากผู้เช่า เพื่อตั้งเป็นกองทุนนิติบุคคลอาคารชุด คาดว่าเงินดังกล่าวน่าจะมีวงเงินที่มากกว่า 40-50 ล้านบาท ทำให้โอกาสที่กลุ่มเลห์แมนฯจะนำเงินดังกล่าวไปปรับปรุงให้อาคารมีความสวยงาม และปรับพื้นที่ภายในบางส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างรายได้ที่สูงขึ้นกว่าเดิมอีก เช่น ศูนย์อาหารในอาคาร ที่น่าจะทำเป็นพื้นที่ขายได้

" การซื้อขายย่อมมีการเปลี่ยนมือ เช่นเดียวกันหากทั้งสองตึกมีมูลค่าเพิ่มอีก ทางกลุ่มเลห์แมนฯอาจจะขายให้แก่ผู้ลงทุนรายอื่น เพื่อหวังส่วนต่างของกำไรที่มากกว่า " แหล่งข่าวกล่าว

ผู้สื่อข่าวได้มีการสอบถามไปยังผู้บริหารธนาคารกสิกรไทยฯ โดยได้รับคำตอบว่า "เรื่องดังกล่าวยังไม่สามารถที่จะบอกรายละเอียดได้ เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างลูกค้ากับธนาคาร " อนึ่ง ณ สิ้นสุดเดือนก.ย.ธนาคารมีเอ็นพีเอประมาณ 11,832 ล้านบาท

ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงนิติบุคคลอาคารชุดและนิติบุคคลบ้านจัดสรร กล่าวว่า โดยหลักแล้ว หากจะมีการแก้ไขหรือลงทุนอะไรในตึก ทางนิติบุคคลอาคารชุดจะดำเนินการได้ ต้องมีการลงคะแนนเสียงจากสมาชิก แต่หากกลุ่มเลห์แมนฯมีเสียงข้างมากเกินกว่า 49% เช่น เป็น 51% ผ่านการถือหุ้นของบุคคลใกล้ชิด ก็ดำเนินการได้ และเป็นการคุมเสียงข้างมาก สามารถชี้ชะตาหรือโหวตคะแนนเสียงเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของเจ้าของใหม่

"อย่าลืมว่า เรื่องประเด็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตึกสูงทั้งหมด หากผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุดไม่โปร่งใส่ ค่าใช้จ่ายต่างๆอาจจะมีตัวเลขที่คลาดเคลื่อน หรืออาจจะปรับราคาขายได้ ซึ่งข้อเสียก็คือ หากเจ้าของรายใหม่มีคะแนนเสียงมาก ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจะเพิ่มเป็นเงาตามตัวเช่นกัน "ผู้เชี่ยวชาญกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us