Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
แกรี่ เรเชล - บุคคลแถวหน้าของซอฟท์แบงก์             
 

   
related stories

มาซาโยชิ ซัน - เขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ
นักต่อรองฝีปากเก่ง 'โยชิทากะ คิทาโอะ'

   
search resources

Softbank Corp.
แกรี่ เรเชล
Venture Capital




ไม่แปลก ที่แกรี่ เรเชล มักมีงานล้นมืออยู่เสมอ เพราะเขาต้องดูแลธุรกิจเวนเจอร์-แคปิตัลในสหรัฐฯ ให้กับมาซาโยชิ ซัน ซึ่งเป็นธุรกิจ ที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดในบรรดาธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกของซอฟท์แบงก์เลยทีเดียว หน้าที่ของกรรมการบริหารอาวุโสของ "ซอฟท์แบงก์ เวนเจอร์ แคปิตัล" คนนี้สำคัญเป็นทวีคูณต่อบริษัทฯ เพราะนอกจากเรเชลจะต้องเฟ้นหากิจการที่มีอนาคตไกล ซึ่งซอฟท์แบงก์ควรเข้าไปลงทุนแล้ว เขายังต้องทำหน้าที่เป็นกองรบแนวหน้าให้กับบริษัทเหล่านั้น เพื่อให้ซอฟท์แบงก์มีความมั่นคงจากการลงทุนในระยะยาว

ซันดึงตัวเรเชลมาจากบริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ "ซิสโก ซิสเต็มส์" หลังจาก ที่เรเชลจบ MBA จากฮาร์วาร์ด เพื่อให้เขามาช่วยก่อตั้งเครือข่ายเวนเจอร์ของซอฟท์แบงก์เมื่อปี 1995 เรเชลเริ่มต้นแบบไม่ติดเบรค ด้วยการทุ่มทุนไปกับ 55 บริษัทภายในช่วงเวลา 9 เดือนหลังเริ่มงาน หลังจากนั้น กองทุนเวนเจอร์ในสหรัฐฯ ทุกแห่ง ที่เปิดตัวก่อนปี 1999 ต่างได้กำไรกลับมาเกิน 100% ต่อปีทั้งสิ้น ทว่าภาวะตลาดหุ้น ที่ซบเซาได้ฉุดให้ตัวเลข ที่ว่าดิ่งลงในปีต่อ ๆ มา

เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา "ซอฟท์แบงก์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ วีไอ" กองทุนล่าสุดของเรเชล สามารถระดมเงินได้ถึง 1,500 ล้านเหรียญ คิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าของซอฟท์แบงก์เลยทีเดียว และเมื่อปลายเดือนกันยายน ที่ผ่านมา 1 ใน 4 ของเงินดังกล่าวถูกนำไปลงทุนอย่างอื่นต่อ คิดแล้ว กลุ่มหลักทรัพย์ภายใต้การบริหารของเรเชล ประกอบด้วยธุรกิจต่าง ๆ เกือบ 200 แห่ง คิดเป็นเงินลงทุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

"เรา 10 คนต้องต่อรอง ทุ่มเถียง และฟาดฟันกัน เพื่อกำหนดกลยุทธ์ ที่ควรจะเป็น จากนั้น ผมก็จะทำหน้าที่สานต่อเกี่ยวกับการลงทุนในสหรัฐฯ" เรเชลเล่า

ซอฟท์แบงก์ลงทุนใน Yahoo! เว็บ ที่เป็นประตูของอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น หลังจากนั้น มูลค่าหุ้นของบริษัทก็พุ่งสูงลิ่ว จนถึงวันนี้ ก็ยังมีสัดส่วนเกินครึ่งของมูลค่าตลาดของซอฟท์แบงก์ นี่เป็นฝีมือของเรเชล แต่เขาก็เคยตัดสินใจพลาด เช่น ทำให้บริษัทขาดทุนถึง 30 ล้านเหรียญจากการลงทุนในหลายบริษัท ด้วยความพยายาม ที่จะสร้างชุมชนออนไลน์ขึ้น

เรเชลไม่ยอมรับคำวิจารณ์ ที่ว่า แนวทางการลงทุนสายฟ้าแลบของเขานั้น ทำให้ไม่ค่อยได้คิดพิจารณาถี่ถ้วน และไม่ได้ช่วยฟูมฟักธุรกิจ ที่เข้าซื้ออย่างจริงจัง เขาเถียงว่า "แนวทางของผมไม่ใช่แบบเสือปืนไวแน่นอน ผมว่าเป็นการเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ผมไม่ใช่คนประเภทเสือปืนไว ถ้าคุณดูพื้นเพของผม คุณจะรู้ว่าผมจบเอกทางชีววิทยา ผมเป็นพวกคิดมาก เป็นนักวางแผน" ในความคิดของเรเชล จอห์น แชมเบอร์ แห่งซิสโกเป็นนักจัดการที่ดีที่สุด, แลรี่ เอลลิซั่น แห่งออเรเคิล เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ที่ยอดที่สุด ส่วนซอฟท์แบงก์ "เป็นธุรกิจ ที่มีความทะเยอทะยานสูงที่สุด"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us