Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 พฤศจิกายน 2549
ทิปโก้ เพิ่มสปีด แตกไลน์สินค้าครบเซกเมนต์หนีคู่แช่งรุมชิงตลาดน้ำผลไม้ 100%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ทิปโก้

   
search resources

ทิปโก้ เอฟแอนด์บี, บจก.
Soft Drink




"ทิปโก้ฟูดส์" ต่อยอดธุรกิจน้ำผลไม้ เซกเมนต์พรีเมียม 100 % ที่ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง และมีการเติบโตสูงสุด เปิดแนวรุกใหม่ในตลาดน้ำผลไม้อีโคโนมี พร้อมใช้จุดแข็งความนิยมบรรจุภัณฑ์ขวดเพ็ทของผู้บริโภคเป็นตัวเดินเกมเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่ปีหน้า วางแผนกินรวบตลาดน้ำผลไม้รวมมูลค่า 4,668 ล้านบาท

ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา "ทิปโก้" เจ้าตลาดน้ำผลไม้ 100% ครองส่วนแบ่งตลาด 47% จากตลาดรวมมูลค่า 2,161 ล้านบาท เจอศึกหนักรอบทิศจากค่ายน้ำผลไม้ทั้งไทยและเทศ ผู้เล่นหน้าเก่าและหน้าใหม่ ที่ขยายขาธุรกิจใหม่ลงมาจับตลาดน้ำผลไม้ เพราะเห็นโอกาสตลาดจากพฤติกรรมการใส่สุขภาพของผู้บริโภค

นับตั้งแต่มาลี ยูนิฟ และ"เบอร์ลี่"ของซานมิเกล ที่เปิดตัวน้ำผลไม้นำเข้าจากประเทศออสเตเรีย รวมทั้งดัชมิลล์ค่ายนมพร้อมดื่ม สยายปีกลงมาจับตลาดน้ำผลไม้พรีเมียม และหวังปั้นแบรนด์ "วาเลนเซีย" ให้แจ้งเกิดในวงการ ด้วยแพ็กเก็จจิ้งในรูปแบบขวดเพ็ทซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และการวางตำแหน่งราคาใกล้เคียงกับน้ำผลไม้ 40% พร้อมช่องทางจำหน่ายที่มีเครือข่ายครอบคลุมตลาดของร้านสะดวกซื้อ 7-11 เป็นจุดแข็งในการทำตลาด

ขณะที่ความเคลื่อนไหว"ทิปโก้"นั้น ขนขบวนน้ำผลไม้รสชาติใหม่ๆออกมาทำตลาดครบครันทั้งน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ทิปโก้สควีซ น้ำมะม่วงผสมน้ำผลไม้รวม น้ำเบอร์รี่เชอรี่ น้ำพรุนผลไม้องุ่นแดง น้ำมะเขือเทศ เน้นกลุ่มลูกค้าที่ชอบดื่มน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพและคนในกรุงเทพ และการออกผลิตภัณฑ์น้ำส้มใหม่ โดยเปิดตัวน้ำส้มโชกุน และน้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ซึ่งส่งผลให้ทิปโก้เป็นแบรนด์ที่มีน้ำส้มถึง 7 สายพันธุ์

ปรากฏการ์ณน้ำผลไม้100 % ฟีเวอร์ครั้งนี้ ไม่ได้สร้างแรงสะเทือนต่อบัลลังค์ของน้ำผลไม้ "ทิปโก้" ในทันที แต่ในอนาคตเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ เนื่องจากแนวโน้มการแข่งขันตลาดน้ำผลไม้นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น " 2 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดน้ำผลไม้ทำให้ตลาดมีการเติบโตสูง ประการแรกคือ การทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมการตลาดของผู้เล่นในตลาด ซึ่งปีนี้เติบโตถึง 15%

ประการต่อมาคือ อัตราการดื่มน้ำผลไม้ของคนไทยมีเพียง 2-3 ลิตรต่อคนต่อปีเท่านั้น"

บัญชา สุรัตนชัยกุล ผู้อำนวยการปฏิบัติการ ธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำผลไม้ตราทิปโก้ กล่าวอีกว่า

"ทิปโก้" แก้เกมคู่แข่งรุมกินเค้กในตลาดน้ำผลไม้พรีเมียม 100 % โดยใช้กลยุทธ์ Product Extension แตกกิ่งก้านสาขาเปิดตัวสินค้าใหม่ๆเข้าไปเก็บเกี่ยวมาร์เก็ตแชร์ในตลาดน้ำผลไม้ให้ครบเซกเมนต์ จากเดิมครองความเป็นผู้นำในตลาดน้ำผลไม้พรีเมียม 100% และน้ำผลไม้ ภายใต้แบรนด์ "เต้เต้" เน้นจับกลุ่มลูกค้าวัยเด็ก ในตลาดต่างจังหวัดเป็นหลัก ร้านสควีซ 40 สาขา

ขณะเดียวกันในไตรมาสสี่ยังออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดเครื่องดื่มธัญญาหาร โดยส่งเนเจอร์ อัพ รสชาติใหม่ น้ำนมข้าวผสมลูกเดือยและฮาเซิลนัทลงตลาด ซึ่งปัจจุบันครองส่วนแบ่ง 50% จากมูลค่าตลาดเครื่องดื่มธัญญาหาร 250 ล้านบาท

ล่าสุด เปิดตัวน้ำผลไม้แบรนด์ "จูปิเตอร์" ลงสู่ตลาดน้ำผลไม้อีโคโนมี ซึ่งมีความเข้มข้นต่ำ 25% บรรจุภัณฑ์เป็นสามเหลี่ยม เน้นจับกลุ่มเป้าหมายเด็กในกรุงเทพฯและปริมณฑลอายุระหว่าง 5-15 ปี

เหตุผลที่ตลาดน้ำผลไม้อีโคโนมี่ ต่ำกว่า 25% คือตลาดเป้าหมายอันดับต่อไป ที่"ทิปโก้"หวังจะเข้าไปสร้างฐานลูกค้าใหม่ เนื่องเป็นตลาดมีอัตราการเติบโตสูงรองจากน้ำผลไม้พรีเมียม 100%

อีกทั้งเป็นตลาดที่มีช่องว่าง เพราะผู้เล่นในตลาดหลักๆคือคือ ดีโด้ ดีดี โกลเด้นท์แพน และ กรีนเมท ยังไม่มีแบรนด์ไหนออกมาทำตลาดอย่างจริงจัง โดยน้ำผลไม้ "จูปิเตอร์" จะเน้นกระตุ้นการจดจำของบริโภคผ่านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ด้วยจุดขายที่ปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งจะเป็นการลดจุดด้อยของน้ำผลไม้ราคาประหยัด ที่ผู้บริโภคห่วงใยสุขภาพไม่มั่นใจในการดื่ม

การแตกไลน์เข้าไปเล่นในตลาดน้ำผลไม้ให้ครบทุกเซกเมนต์นั้น ยังเป็นการปิดจุดอ่อนของ "ทิปโก้" ซึ่งยังเป็นรองค่ายคู่แข่งทั้งยูนิฟ และมาลี เนื่องจากมีความหลากหลายของน้ำผลไม้ที่ลงมาทำตลาดคลอบคลุมเซกเมนต์มากกว่า และยังสามารถสร้างความต่อเนื่องในการรับรู้แบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคทุกระดับอายุ สอดคล้องกับพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ของคนไทยที่แบ่งตามอายุ และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค

โดยตลาดน้ำผลไม้ 100% มี Benifit ตอบสนองพฤติกรรมคนไทยใส่ใจสุขภาพ น้ำผลไม้ 40% มีจุดขายด้านความสดชื่น ส่วนตลาดน้ำผลไม้ต่ำกว่า 25% ซึ่งมีราคาไม่สูงมากนัก เป็นตลาดที่ตอบสนองกลุ่มผู้ดื่มหน้าใหม่ที่เริ่มทดลองดื่ม

นอกจากนั้น บรรจุภัณฑ์ขวดเพ็ทยังช่วยสร้างโอกาสในการดื่มและสร้างเซกเมนต์เพิ่มขึ้นอีกด้วย และแม้ว่าพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ในบ้านมีสัดส่วน 60% นอกบ้าน 40% แต่ที่ผ่านมาด้วยจุดแข็งของบรรจุภัณฑ์ขวดเพ็ทที่พกพาสะดวก สบาย รวมทั้งกระแสสุขภาพซึ่งทำให้ผู้บริโภคคาดหวังคุณค่าของเครื่องดื่มนอกบ้านมากกว่าความสดชื่น ยังเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยผลักดันให้การสัดส่วนการดื่มผลไม้นอกบ้านมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

"ในปีหน้าจะทยอยออกสินค้าใหม่ในบรรจุภัณฑ์ขวดเพ็ทเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบการตลาด 1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจากปีนี้ใช้งบ 500 ล้านบาท เพื่อเตรียมเปิดตัวเครื่องดื่มน้ำผลไม้กว่า 10% เพราะเป็นตลาดที่น่าสนใจ และมีค่ายยักษ์ใหญ่อย่างทรอปิคานาและสแปลชเป็นผู้ผลักดันตลาด

รวมทั้งวางแผนออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพซึ่งเป็นแคธิกอรี่ใหม่ และออกน้ำแร่ออรานวัตกรรมใหม่ต่อเนื่อง หลังจากรีแบรนด์ดิ้งรูปแบบบรรจุภัณฑ์และฉลากให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ตั้งเป้าภายใน 3 ปี ขึ้นเป็นผู้นำตลาดแทนด้วยส่วนแบ่งตลาด 50% จากปัจจุบันออรามีส่วนแบ่งเกือบ 30% มิเนเร่ 50% จากมูลค่าตลาดน้ำแร่ 500 ล้านบาท

สำหรับแผนการทำตลาดในช่วงไตรมาสที่สี่ใช้งบการตลาด 150 ล้านบาท แบ่งเป็นงบ น้ำแร่ออรา 50 ล้านบาท และน้ำผลไม้100% ประมาณ 80-90 ล้านบาทโดยปีนี้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมายคือ 1.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นน้ำผลไม้ 90% และน้ำแร่ออรา 10% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามีรายได้ 1.1 พันล้านบาท และสิ้นปี 2550 "ทิปโก้"จะมียอดขายเพิ่มเท่าตัว หรือประมาณ 3 พันล้านบาท"บัญชากล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us