|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
TFI สละสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ อ้างยังขาดสภาพคล่องทางการเงิน ขณะที่บริษัทยังอยู่ระหว่างหาเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของธุรกิจในวัฎจักรขาขึ้น คาดจะเริ่มได้ในปี 50 พร้อมแจ้งผลงานไตรมาส 3 ปีนี้ขาดทุนลดลง เนื่องจากยอดขายเพิ่มและปรับปรุงนโนบายการลงบัญชีของบริษัทย่อยและร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ส่งผลดีต่องบการเงิน
นายวัลลภ คุณานุกรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) ( TFI ) แจ้งว่าตามที่ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ บริษัท ไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) (TCI) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 800.58 ล้านหุ้น เป็นเงิน 8,005.79 ล้านบาท เป็น 876.62 ล้านหุ้น เป็นเงิน 8,766.18 ล้านบาท โดยเพิ่มทุน 76.04 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวม 760.39 ล้านบาท โดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในการจองหุ้นสามัญตามสัดส่วน 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นเพิ่มทุนในราคาเสนอขายหุ้นละ 10 บาท รวม 760.39 ล้านบาท
โดยมีวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ลดภาระดอกเบี้ยและทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนดีขึ้น วันที่จองหุ้น ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 ถึง วันที่ 10พฤศจิกายน 2549 ซึ่ง TFI ได้สิทธิในการจองหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 15.19 ล้านหุ้น รวมเป็นเงิน 151.90 ล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทยังคงขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน (tight of liquidity ) ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และอยู่ในขั้นตอนการหา Working Capital เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องอยู่อีกประมาณ 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเพื่อเตรียมเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอกับความต้องการของธุรกิจในวัฏจักรขาขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในต้นปี 2550 เป็นต้นไป
ดังนั้น คณะกรรมการตรวจสอบจึงเสนอคณะกรรมการบริษัทและมติเป็นเอกฉันท์ให้สละสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ตามเหตุผลที่แจ้งให้ทราบข้างต้นแล้วย์แห่งประเทศไทย
พร้อมกันนี้ TFI ยังแจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่า บริษัท มีผลขาดทุน 21.81 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 50.58 ล้านบาท เนื่องจากยอดขายเฉพาะสินค้าฟิล์มชนิดต่าง ๆ ของบริษัทฯ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งภาวการณ์ถดถอยของอุตสาหกรรมฟิล์มบรรจุภัณฑ์ในตลาดโลกยังคงมีอยู่ทำให้ยังมีอุปทานส่วนเกินในอุตสาหกรรม บี.โอ.พี.พี. ฟิล์ม แต่ก็ลดลงจากไตรมาสที่แล้วส่งผลให้ราคาขาย บี.โอ.พี.พี. ฟิล์มอยู่ในระดับราคาที่สูงขึ้นถึง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาเม็ดพลาสติก พี. พี. ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักมีราคาสูงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคา บี.โอ.พี.พี. ฟิล์มที่สูงขึ้นไม่ส่งผลบวกต่อผลประกอบการมากนัก ขณะที่ ปัจจุบันอุปสงค์ (DEMAND) และอุปทาน (SUPPLY) ของ บี.โอ.พี.พี. ฟิล์มเริ่มใกล้สมดุลขึ้นใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 ทำให้บริษัทฯ เริ่มสามารถปรับราคาขาย บี.โอ.พี.พี.ฟิล์ม และฟิล์มชนิดอื่นๆ ได้ตามการปรับราคาของเม็ดพลาสติก และมีแนวโน้มว่าวัฎจักรขาขึ้นของ บี.โอ.พี.พี.ฟิล์ม จะเริ่มในต้นปี 2550 จึงเชื่อว่าสถานการณ์ของอุตสาหกรรมผลิตฟิล์มจะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ขณะเดียวกัน บริษัท ไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) (TCI) เริ่มมีกำไรตั้งแต่ไตรมาส ที่ 2 ของปี 2549 นี้แล้ว และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ซึ่งจะส่งผลให้ TCI มีกำไรจากผลต่างของราคาหัวแร่ทองแดงที่เก็บไว้ (สินค้าคงคลัง) จำนวน 58,500 ตัน เทียบกับราคา หัวแร่ทองแดง ณ ราคาปัจจุบัน ซึ่งบริษัทฯ ก็จะได้รับกำไรตามวิธีการรับรู้กำไรขาดทุนตามสัดส่วน การลงทุนใน TCI เฉพาะในงบการเงินรวมเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงย้อนหลังงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และสำหรับงวดสามเดือนและสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30กันยายน 2548 จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจากวิธีส่วนได้เสียไปเป็นวิธีราคาทุนและปรับด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน ตามประกาศสภาวิชาชีพ ฉบับที่ 26/2549 เรื่อง การปฏิบัติตามวิธีการบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 เรื่องงบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยลงวันที่ 11 ตุลาคม 2549 โดยการกลับบัญชีส่วนแบ่งขาดทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่เคยรับรู้ไว้ใน งบการเงินตั้งแต่วันที่บริษัทฯเริ่มรับรู้ส่วนได้เสียตั้งแต่ปี47-48 ส่งผลให้ผลขาดทุนสะสมของบริษัทลดลงเป็นลำดับ
|
|
|
|
|