Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
สยามสตีล กรุ๊ป ที่นี่คำว่า "ครบวงจร"ไม่มีความหมาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ-สยามสตีลกรุ๊ป

   
search resources

สยามสตีล กรุ๊ป (Siam Steel Group)
ทวีศักดิ์ ครุจิตร
Metal and Steel




ในเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ 2539 นี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คงได้รับหุ้นของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมเหล็กเข้าจดทะเบียนเพิ่มอีกหนึ่งบริษัท และแม้ว่าในช่วงการกระจายหุ้นไปยังรายย่อย จะไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเท่าที่ควรก็ตาม แต่กิจกรรมขององค์กรและเครือข่ายแห่งนี้ก็ยังน่าสนใจไม่น้อย

"ตอนเปิดจองนั้นก็มีคนซื้อหมด แต่ทางรายย่อยก็ดูฝืดนิดหน่อยเนื่องจากตลาดไม่ดี และที่คาดว่าจะเข้าเทรดในช่วงมกราคมนั้น เราไม่สามารถจะไปดูได้ว่าตลาดจะดีหรือไม่ แต่เราหวังว่าจะดีขึ้น"

คำกล่าวของ ทวีศักดิ์ ครุจิตร กรรมการผู้จัดการบริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด(มหาชน) บริษัทซึ่งอยู่ในเครือสยามสตีล กรุ๊ป

อุตสาหกรรมเหล็กสำหรับเมืองไทย ยังนับว่ามีอนาคตอีกไกล โดยเฉพาะการแปรรูปจากเหล็กแผ่น ซึ่งถือว่าธุรกิจนี้มีผลตอบแทนและส่วนต่างระหว่างวัตถุดิบกับผลิตภัณฑ์ที่ได้สูงมาก

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 ที่ผ่านมา โรงงานแห่งที่สามของบริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จึงมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ด้วยกำลังการผลิต 222,000 ตันต่อปี เมื่อรวมกำลังการผลิตของโรงงานเดิมทั้งสองแห่งทำให้กำลังการผลิตชิ้นส่วนเหล็กของบริษัทเพิ่มเป็น 622,000 ตันต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ของเมืองไทยทีเดียว

แต่การขยายงานของบริษัทในเครือข่ายสยามสตีลกรุ๊ป ครั้งนี้ ก็ยังคงเป็นการขยายงานในแนวธุรกิจเดิม สายผลิตภัณฑ์เดิม ไม่อาจข้ามขั้นตอนไปยังสายธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้

ในประเด็นของบริษัทศูนย์บริการเหล็กสยาม ชัดเจนมาก

ทวีศักดิ์กล่าวว่า เดิมทีนั้น ศูนย์บริการเหล็กสยาม ก็คือหน่วยงานหนึ่งของบริษัท ศรีเจริญอุตสาหกรรม (1979) จำกัด (มหาชน)

"เดิมทีเป็นหน่วยบริการหนึ่งของศรีเจริญ แต่มันใหญ่ขึ้น ของเดิมเราให้บริการกับลูกค้าโตโยต้า จากความต้องการที่มีมาก เห็นว่าแนวโน้มธุรกิจดังกล่าวมีการเติบโตได้ โดยเฉพาะการเตรียมวัตถุดิบและพาร์ทต่างๆ นับวันก็จะสูงขึ้นจึงได้ตั้งเป็นบริษัทศูนย์บริการเหล็กสยามเมื่อสิบปีที่แล้ว"

บริษัทในเครือสยามสตีล กรุ๊ป มากมายหลายสิบบริษัท ก็มีโครงสร้างลักษณะเช่นเดียวกันนี้

โครงสร้างของบริษัทในเครือสยามสตีล กรุ๊ปส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลการผลิตในจุดๆ หนึ่ง การขยายตัวในด้านสายผลิตภัณฑ์หรือขั้นการผลิต ของบริษัทหนึ่งอาจจะไปทับคาบเกี่ยวกับอีกบริษัทหนึ่งในเครือหรือไม่นั้น ทวีศักดิ์กล่าวปฏิเสธ

"คงไม่ในจุดนั้น เพราะบริษัทที่เราร่วมทุนอยู่ค่อนข้างชัดเจนในผลิตภัณฑ์และลงไปทางลึกมาก เช่นเฟอร์นิเจอร์ โดยเราแจ้งกับผู้ร่วมทุนมาตั้งแต่ต้น โดยเราจะใช้ศรีเจริญเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน ซึ่งขณะนี้ก็ยังเป็นไปในรูปแบบนั้น"

แต่แม้ว่าสยามสตีล กรุ๊ป จะมองว่าการแตกบริษัทออกไป พร้อมกับโครงสร้างงานที่เป็นอยู่จะถือเป็นทิศทางที่มองว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว แต่ยอมรับว่าขณะนี้เครือข่ายของสยามสตีล กรุ๊ป มีมากจนต้องพยายามจับกลุ่มเพื่อให้งานบริหารดำเนินการได้ง่าย

"สำหรับโครงสร้างของกลุ่มบริษัท เราพยายามที่จะจัดแบ่งสายธุรกิจให้มีความชัดเจนที่สุดเพื่อให้เข้าใจง่ายและไม่ซ้ำซ้อน ซึ่งที่มีห้ากลุ่มนั้นก็ค่อนข้างจะครอบคลุม แต่ก็มีสินค้าที่อยู่ด้านกว้างเพิ่มเข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่ได้มีการพูดว่าจะมีการยุบบริษัทเพิ่มรวมกัน หรือเพิ่มกลุ่มแต่อย่างไร"

ปัจจุบันสยามสตีล กรุ๊ป ได้แบ่งธุรกิจในเครือข่ายออกเป็นกลุ่มเฟอร์นิเจอร์, กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป, กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง, กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มบริการ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สยามสตีล กรุ๊ป พยายามที่จะเข้าไปลงทุนด้านอุตสาหกรรมเหล็กต้นทางมากขึ้น แต่ปัจจุบันเมื่อกฎเกณฑ์ภาครัฐเปิดโอกาสให้ กลับเงียบนั้น ทวีศักดิ์เลี่ยงตอบว่า เรื่องนี้คนที่จะตอบได้ดีที่สุด คือ วันชัย คุณานันทกุล ซึ่งเคยมีความสนใจจะทำโครงการนี้ แต่พอมีหลายรายสนใจและเริ่มโครงการ จึงยังเงียบอยู่

"จุดนี้ไม่แน่ใจว่าจะสนใจอีกหรือไม่ และเนื่องจากธุรกิจนี้ลงทุนและหวังผลระยะยาว ต้องดูว่าคุ้มค่าและให้ผลตอบแทนได้หรือไม่ การขยายไปสู่ขั้นต้นนั้น เราไม่ได้พูดถึงว่าจะไม่ขยาย อันไหนที่จะทำผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ เราก็คงจะเข้าไปดูความเป็นไปได้ แต่ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าเราก็ยังคงไม่มองโครงการพื้นฐาน" ทวีศักดิ์กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ขณะนี้เรียกได้ว่าบริษัทเป็นผู้นำเข้าที่แปรรูปเหล็กติดอันดับ 1 ใน 10 มีกำลังการผลิตหลายแสนตันต่อปี ส่วนการเป็นผู้ผลิตแบบครบวงจรนั้นยังไม่สามารถตอบได้ ซึ่งการที่จะกล่าวว่าบริษัทเป็นแค่คนกลางก็คงไม่ได้ เพราะตอนนี้บริษัทอยู่ในฐานะร่วมทุนกับนิปปอน สตีล แห่งประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งป้อนวัตถุดิบให้ ส่วนนี้ทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในเรื่องแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และตอนนี้ถ้าบริษัทจะเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล็กพื้นฐาน ก็คงไม่สามารถทำวัตถุดิบได้หมดตามที่ลูกค้าต้องการ ก็คงจะต้องเป็นผู้นำเข้าอยู่ดี

"เราเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปจากเหล็กแผ่น ความจริงตอนนี้เราป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิตสินค้า ผู้ประกอบการให้เราทำพาร์ทเราก็ทำได้ ตามความต้องการที่ลูกค้าต้องการ การรักษาตำแหน่งตรงนี้ไว้น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้"

จากกลุ่มบริษัทที่ถูกจับตาเมื่อดำริจะเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล็กพื้นฐาน เพื่อให้องค์กรครอบคลุมธุรกิจอย่างเบ็ดเสร็จ

มาวันนี้ ดูเหมือนว่าคำว่าครบวงจรสำหรับสยามสตีล กรุ๊ป ดูจะไม่จำเป็นเสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us