Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 พฤศจิกายน 2549
RATCH โอ่ปีนี้กำไรพุ่ง ทุบสถิติเดิม 6.48 พันล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง, บมจ.
Electricity




ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯฟุ้งปีนี้ทำสถิติฟันกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์มากกว่าปี47หรือกว่า 6.48 พันล้านบาท เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายซ่อมใหญ่ในปลายปี และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รับรู้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้น เผยปีหน้ามีแผนหยุดซ่อมบำรุงใหญ่ในช่วงครึ่งปีหลัง ฉุดกำไรลดลง "ณรงค์"มั่นใจชนะประมูลไอพีพีรอบใหม่ เหตุฐานะการเงินแกร่ง เชื่อไม่ต้องออกหุ้นกู้เพิ่มภายใน 3ปีข้างหน้าแม้ว่าจะชนะประมูลโรงไฟฟ้าก็ตาม

นายณรงค์ สีตสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(RATCH) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯคาดว่าจะมีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าปี 2547 ซึ่งถือเป็นปีที่มีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรสุทธิ 6,487 ล้านบาท เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายหลักในการซ่อมบำรุงใหญ่ช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ บริษัทได้ทำการปรับโครงสร้างเงินกู้ (รีไฟแนนซ์)หนี้เดิมทำให้ประหยัดดอกเบี้ยจ่ายปีนี้ถึง 800 ล้านบาทและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนกว่า 300 ล้านบาทของบริษัทไตร เอนเนอจี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน รวมทั้งนำเงินสดในมือที่มีอยู่ 8 พันล้านบาท ไปลงทุนในตราสารการเงิน ทำให้ได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นเท่าตัว

โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2549 ของบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,481 ล้านบาท เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดหากเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิมเหมือนไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

สำหรับผลการดำเนินงานประจำงวด 9 เดือนแรก ของปี 2549 บริษัทฯ มีรายได้รวม 39,181 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% และมีกำไรสุทธิรวม 5,188 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 5,486 ล้านบาท เนื่องจากตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวที่บริษัทฯ ทำไว้กับ กฟผ. ได้กำหนดอัตราค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าราชบุรีในปีนี้ต่ำกว่าปีที่แล้ว จึงส่งผลให้รายได้ค่าความพร้อมจ่ายในปีนี้ลดลงจากปีก่อน

ขณะที่ต้นทุนขายในรอบ 9 เดือนปีนี้สูงขึ้น 18% เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุดที่ 1 เพื่อทำการหยุดซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ ( Major Overhaul) และรับรู้ค่าซ่อมอุปกรณ์ตามสัญญาจัดหาและซ่อมอะไหล่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีด้วย

นายณรงค์ กล่าวต่อยอมรับว่า ปีหน้าบริษัทฯมีแผนจะหยุดซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ 4 เครื่องทั้งโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมราชบุรีชุดที่ 2 และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีเครื่องที่ 1 และเครื่องที่ 2 ซึ่งต้องหยุดโรงไฟฟ้ายูนิตละ 55 วันในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 โดยบริษัทฯจะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาสูงมากผิดปกติเมื่อเทียบกับ 4-5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรสุทธิในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2550 ลดลงเล็กน้อย

ส่วนแผนการลงทุนในปีหน้า บริษัทฯ มีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอกชน (ไอพีพี) งวดใหม่ในปี 2550 โดยจะเน้นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เพราะถ่านหินมีความไม่แน่นอน ซึ่งตนมั่นใจว่าจะชนะการประมูลได้ เนื่องจากมีความพร้อมหลายด้าน อาทิ ด้านแหล่งทุนจากฐานะการเงินที่มั่นคง มีกำไรสะสมจากการดำเนินงานที่สูงถึง 1.77 หมื่นล้านบาท และมีเงินทุนหมุนเวียน 9.49 พันล้านบาท ดังนั้นอีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทฯ ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนหรือออกหุ้นกู้ แม้ว่าบริษัทฯ จะชนะการประมูลโรงไฟฟ้าที่ทางการเปิดโอกาสให้ยื่นประมูล 4-5 โรงหรือประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ก็ตาม

นอกจากนี้ บริษัทฯมีพื้นความพร้อมสถานที่รองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพีขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ทำให้มั่นใจว่าต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสามารถแข่งขันได้เพราะมีระบบสาธารณูปโภคพร้อมแล้ว การตัดสินใจเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพีดังกล่าว เพื่อรักษาสถานะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่มีกำลังผลิตมากที่สุดในประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีส่วนแบ่งตลาด 15%ของกำลังการผลิตไฟทั่วประเทศ 2.6 หมื่นเมกะวัตต์

นายณรงค์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม 3 ที่สปป.ลาว ขนาดกำลังการผลิต 460 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯ ได้ถือหุ้นในสัดส่วน 25% ใช้เงินลงทุน 2,200 ล้านบาท คาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเริ่มป้อนไฟเข้าระบบกฟผ.ได้ในปี 2556   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us